จับกระแส!! AI เปลี่ยนโฉมการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Low-Code ในปี 2567 เพื่อส่งมอบประสบการณ์ส่วนบุคคล (personalized) โดยเฉพาะ…
จับกระแส!! AI เปลี่ยนโฉมการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Low–Code ในปี 2567
ความโดดเด่นของ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่มีต่อเทคโนโลยีระดับองค์กรจะยังคงร้อนแรงต่อเนื่องในปี 2567 โดยจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ และ ปัญญาประดิษฐ์ จะยังคงความสำคัญในลำดับต้น ๆ
ที่แทบทุกธุรกิจต่างมองหาโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วย ปัญญาประดิษฐ์ เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ซับซ้อน และมีความก้าวล้ำ รวมถึงแอปพลิเคชั่นอัจฉริยะที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูล และนำการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ และเชิงกำหนดมาใช้ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ส่วนบุคคล (Personalized) โดยเฉพาะ
ลีโอนาร์ด ตัน ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคสิงคโปร์ และภูมิภาคจีนแผ่นดินใหญ่ ของ OutSystems กล่าวว่า เพื่อดึงดูดความสนใจที่เกี่ยวข้องกับโอกาสของการนำ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ แพลตฟอร์ม Low–code จำนวนมากจึงพยายามสร้างแบรนด์ให้ตลาดรับรู้ว่าเขาคือเครื่องมือในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ขับเคลื่อน
ด้วย ปัญญาประดิษฐ์ ด้วยการบูรณาการเข้ากับระบบที่มีอยู่นี้ เราคาดว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย ปัญญาประดิษฐ์ ในระยะต่อไป จะช่วยยกระดับงานของนักพัฒนามากขึ้น โดยที่พวกเขาจะส่งต่องานที่เป็นลักษณะรูทีน และงานที่ทำซ้ำ ๆ ให้กับตัวช่วยที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์
ซึ่งจะช่วยลดภาระของงานกิจวัตรทั่วไป เพื่อให้นักพัฒนาสามารถใช้เวลากับการเขียนโค้ดที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญระดับสูง โดยผู้ช่วย ปัญญาประดิษฐ์ ของเขาสามารถจัดการกับงานคัดลอกโค้ด การทดสอบด้วยตนเอง การสร้างและอัปเดตองค์ประกอบและเค้าโครง UI สำหรับหน้าจอที่หลากหลาย และการกำหนดค่าการสร้างสคริปต์
ส่วนเครื่องมือแบบ Low–code จะก้าวไปในทิศทางที่ส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างแอปพลิเคชั่น ปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่ต้นจนจบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มที่เขียนด้วย Low–code ประสิทธิภาพสูง ควรดึงตัวเชื่อมต่อโมเดลภาษาขนาดใหญ่ เพื่อให้นักพัฒนา และองค์กรสามารถฝังความสามารถของ ChatGPT ลงในแอปพลิเคชั่นที่พวกเขาสร้างขึ้น ให้คำแนะนำส่วนบุคคลสำหรับผู้ใช้ และเพิ่มประสิทธิภาพผู้ช่วยเสมือน เป็นต้น
การบริหารจัดการข้อมูลจะกลายเป็นเรื่องที่องค์กรต่าง ๆ ต้องจัดให้อยู่ในความสำคัญลำดับแรกและลงทุนในเรื่องนี้ เป้าหมายของการนำ ปัญญาประดิษฐ์ ไปใช้ และการสร้างแอปพลิเคชั่นอัจฉริยะ จะต้องใช้ข้อมูลปริมาณมาก เพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึก และช่วยในการตัดสินใจ ธุรกิจต้องตรวจสอบข้อมูลปัจจุบันของตน
เพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมสำหรับงาน ปัญญาประดิษฐ์ และปลูกฝังความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เช่น การรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การติดฉลากข้อมูล การรักษาความปลอดภัยข้อมูล และการกำกับดูแลข้อมูล
เรายังคงเห็นแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันในประเด็นของ ผู้มีทักษะในการสร้าง และพัฒนาด้านเทคโนโลยี (Tech Talent) โดยที่ ปัญญาประดิษฐ์ กำลังเข้ามาแทรกแซงวิธีการใช้เวลาในที่ทำงาน ในขณะที่ 40% ของชั่วโมงทำงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโมเดลภาษาขนาดใหญ่
โครงสร้างการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะบรรเทาความตึงเครียดที่เกิดจากการขาดแคลน ผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะในภาคส่วนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้การพัฒนาซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ มีความสามารถในการสร้างโค้ด การทดสอบ และกระบวนการปรับใช้อัตโนมัติ ดังนั้นแทนที่จะใช้เวลากับงานที่ซ้ำซากจำเจ
นักพัฒนาสามารถใช้พลังและความสามารถของตนในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยแอปพลิเคชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ นอกจากนี้ ด้วยความสามารถในการป้อนข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ เพื่ออธิบายแอปพลิเคชั่นที่ต้องการสร้าง จะช่วยดึงกลุ่มผู้มีความสามารถหลากหลายด้านให้มีโอกาสเข้าร่วมในการพัฒนาแอปได้มากขึ้น
ระบบ ปัญญาประดิษฐ์ จะส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์งานที่กว้างขึ้นด้วย เทคโนโลยีดังกล่าวคาดว่าจะเข้ามาแทนที่งาน 85 ล้านตำแหน่ง แต่จะสร้างตำแหน่งงานใหม่ถึง 97 ล้านตำแหน่งภายในปี 2568 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิเคราะห์คาดว่า จำนวนผู้เชี่ยวชาญด้าน ปัญญาประดิษฐ์ และ การเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ (Machine Learning) จะเพิ่มขึ้น 40%
โดยภายในปี 2570 งานใหม่จะรวมถึงวิศวกรรมพรอมพ์ (ความเชี่ยวชาญในการสื่อสารกับ เอไอ) การเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้าน ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับงานออกแบบ พัฒนา และปรับแต่งข้อความพรอมพ์ (Generative AI) สำหรับแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีเครื่องมือประมวลผลภาษาธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
โดยสรุป อิทธิพลที่ยั่งยืนของ ปัญญาประดิษฐ์ ในด้านเทคโนโลยีระดับองค์กร จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาซอฟต์แวร์ตลอดปี 2567 เนื่องจากแพลตฟอร์มแบบ Low–code มุ่งไปสู่การบูรณาการระบบ ปัญญาประดิษฐ์ โดยองค์กรต่าง ๆ จะสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่ซับซ้อนมากขึ้น และควบคุมทักษะของนักพัฒนาที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th