คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด เดินหน้าพัฒนา “ต้นแบบสถานีสุขภาพดิจิทัล” (Digital Health Station) พร้อมเร่งสร้างนวัตกรรม การบริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ เข้าถึง อย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ…
highlight
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท ทัชเทคโนโลยี จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) “เพื่อพัฒนาต้นแบบสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) และสร้างนวัตกรรม การบริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มการเข้าถึง การบริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ”
คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับ Touch Technologies เดินหน้าพัฒนา “Digital Health Station” พร้อมยกระดับการรักษาอย่างเท่าเทียม
ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruptive Technology)
เพื่อส่งเสริมการ พยากรณ์ ป้องกัน และการรักษาโรคแบบรายบุคคล Personalize Medicine และเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ด้วยการออกแบบ และพัฒนาต้นแบบสถานีสุขภาพดิจิทัล เพื่อทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ด้วยตนเองทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อมั่น และได้รับการยอมรับจากแพทย์ และผู้ป่วยตามแนวคิด “Healthcare Everywhere“ โดยเน้นประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนเป็นศูนย์กลาง
เพิ่มประสิทธิภาพ และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชนอย่างเท่าเทียม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม Digital Healthcare Transformation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชน ได้อย่างเท่าเทียม และเพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืน
และบรรลุวัตถุประสงค์อย่างต่อเนื่องคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด (Touch Technologies) ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ เพื่อนำ Disruptive Technology เช่น Internet of Medicare Things (IoMT) เข้าสู่ Healthcare Platform เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
และความถูกต้องแม่นยำในการเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนร่วมกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์เชิงลึกด้านสุขภาพส่วนบุคคล ผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อส่งเสริมการ พยากรณ์ ป้องกัน และการรักษาโรคแบบรายบุคคล Personalize Medicine และเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ด้วยการออกแบบ
และพัฒนาต้นแบบสถานีสุขภาพดิจิทัล เพื่อทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการ การแพทย์ทางไกล ได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับมาตรฐานระบบการให้บริการสาธารณสุข ส่งผลให้ประชาชนทุกระดับ มีสุขภาวะที่ดี โดยเริ่มต้นมุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วย NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจาก วิธีการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และพบว่ามีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs คิดเป็น ¾ ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มจะสูงขึ้น เรื่อย ๆ ในอนาคต
พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมด้านการแพทย์อย่างยั่งยืน
ชัชฎา อภิชาสุทธากุล Touch Group CEO & Founder บริษัท ทัชเทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า การร่วมมือของบริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในครั้งนี้ เราจะร่วมกันพัฒนานวัตกรรมในการป้องกัน เฝ้าระวังกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และลดความเสี่ยง ในการเสียชีวิตของประชาชน
โดยได้กำหนดแผนความสำคัญระดับต้น ๆ เป็นการพัฒนานวัตกรรมการตรวจเลือดโดยไม่ต้องเจาะเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีจำนวนกว่า 14 ล้านคนทั่วประเทศ และ จำเป็นต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลเป็นประจำทุกวัน ทำให้ประชาชนได้ตรวจระดับน้ำตาลของตนเองง่าย ๆ ไม่ต้องเจ็บปวดจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว
ตรวจได้บ่อยเท่าที่ต้องการ รู้ทันโรคสามารถดูแลตัวเองได้ ลดภาระสถานพยาบาลของรัฐฯ และ พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยในการแนะนำผลของการตรวจวัดต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย ๆ และแนะนำวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคกลุ่ม NCDs และ ลดความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก
รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุขทางไกล ด้วยการพัฒนาต้นแบบสถานีสุขภาพดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนไทยทั้งในเมืองและส่วนภูมิภาคของประเทศ เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำ
อาทิเช่น บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) บริการส่งยาถึงบ้าน การดูแลผู้ป่วยตามบ้าน หรือชุมชน (Home Care) เป็นต้น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย
ที่จะช่วยกันสนับสนุนการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมด้านการแพทย์ของไทยอย่างยั่งยืน อันก่อให้เกิดผลดีต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง การบริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งผลดีต่อการมี สุขภาวะ ที่ดีของคนไทยต่อไป
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th