GDCC คลาวด์ภาครัฐเพื่อคนไทย โชว์วิสัยทัศน์ก้าวไกลรองรับ The Next Normal

สดช. ร่วมกับ DES โชว์วิสัยทัศน์ โครงการ GDCC พร้อมระดมยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการดิจิทัล CAT, AWS, Microsoft, Huawei ดันคลาวด์ภาครัฐเพื่อคนไทยรองรับ The Next Normal…

highlight

  • สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(DES) จัดเสวนา Innovation Live Forum ครั้งที่ 1 หัวข้อ “The Next Normal ให้คนไทยก้าวทัน เพื่อคนไทยทุกคนโชว์วิสัยทัศน์โครงการ GDCC สร้างศักยภาพประเทศไทยด้วย Big Data ชี้สร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประชาชนและภาครัฐ พร้อมระดมยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการดิจิทัล CAT, AWS, Microsoft, Huawei  ร่วมอัปเดตเทรนด์ระบบคลาวด์ภาครัฐ Government Cloud จากทั่วโลก 

GDCC คลาวด์ภาครัฐ เพื่อคนไทย โชว์วิสัยทัศน์ก้าวไกลรองรับ The Next Normal

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (DES) กล่าวว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีมีบทบาทมากโดยเฉพาะจากเหตุการณ์โรคระบาด Covid19 ได้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างชัดเจน

ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เตรียมพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก้าวสู่สังคมดิจิทัล ทำให้มีความพร้อมโดยเฉพาะด้านคลาวด์ซึ่งกระทรวงฯ ได้ผลักดัน Cloud First Policy ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีและบริการคลาวด์เป็นอันดับแรก

โดยเตรียมพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) รองรับการจัดเก็บข้อมูลภาครัฐอยู่ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด สอดคล้องกระแสของโลกที่กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่การประมวลผลแบบ Cloud Computing อย่างเต็มรูปแบบ  เช่นเดียวกับประเทศชั้นนำต่างๆเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ ที่ได้มีการกำหนดนโยบาย Cloud First Policy ดังกล่าว

GDCC

ในอนาคตซึ่งเข้าสู่ยุค New Normal การผลักดันรัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยแต่ละประเทศต่างพยายามผลักดันรัฐบาลดิจิทัลเพื่อตอบสนองนโยบาย Social Distancing ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ โดยได้ก้าวเข้ามาสู่กลุ่มประเทศที่มี EDGI มากกว่า 0.75 จัดอยู่ในกลุ่มสูงมาก หรือ V1

เป็นครั้งแรกจากผลสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งสหประชาชาติ ปี 2020 โดยยังมีโอกาสที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และพัฒนา EGDI ของประเทศให้ดียิ่งขึ้นอีก โดยเฉพาะการจัดทำโครงการอย่างระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ซึ่งเป็นแผนงานส่วนหนึ่งตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อผลักดัน DIGITAL GOVERNMENT 

ด้าน วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ ได้เปิดให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐตั้งแต่ระดับ Cloud Infrastructure ด้วยมาตรฐานการคัดแยกข้อมูล (Data Classification) ที่ออกแบบรองรับการนำข้อมูลมาบูรณาการในอนาคต (Data Sharing)

ระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน รวมถึงระยะยาวที่จะสามารถต่อยอดการจัดการกับ Big Data พร้อมทั้งเปิด Open Data สำหรับข้อมูลบางส่วน เพื่อให้ ภาคเอกชน ประชาชน หรือ Startup รุ่นใหม่ ๆ ได้เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านี้เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศในรูปแบบแพลตฟอร์มใหม่ๆมากขึ้น

นอกจากนี้  การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ Cloud ทั่วโลกมีอัตราการเติบโตของ Government Cloud Service เติบโตเฉลี่ยที่ 13.4ต่อปี สดช.จึงเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในรูปแบบต่าง ๆ ของ คลาวด์ ที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่จะสามารถนำระบบ โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ ไปต่อยอดในอนาคต

GDCC

เพื่อบริการให้กับหน่วยงานภาครัฐโดยคำนึงถึงความต่อเนื่องของการใช้งาน ความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล ทั้งนี้มุ่งหวังพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ เป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยของประเทศ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนนวัตกรรม ยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทยให้เป็นเอกภาพและเห็นผลรูปธรรมอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ในปี 2563 โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ มีแผนดำเนินการด้าน Cloud Infrastructure ให้สามารถรองรับการบริการได้อย่างน้อย 8,000 VM มีมาตรฐานการคัดแยกข้อมูล (Data Classification) ป้องกันข้อมูลไม่ให้รั่วไหล ข้อมูลสำคัญต้องอยู่ภายในประเทศ (Data Localization) ต้องมีการคุ้มครองข้อมูล

และความปลอดภัยของข้อมูล (Security & Privacy) มีระบบนำร่องในทำ Data Sharing มีการเปิดเผยแชร์ใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (Pilot 15 Datasets) โดยในแต่ละปีจะมีจำนวน Dataset เพิ่มขึ้น ในปี 2564 จะผลักดันในการทำ Data Sharing เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยเฉพาะหน่วยงานหลักในปี 2565 เราจะต้องมีการพัฒนา Platform

GDCC

ด้าน พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ ออกแบบสอดคล้องกับโครงสร้างภาครัฐเพื่อรองรับความต้องการการใช้งานต่างระดับ ด้วยแนวคิด House Model ซึ่งให้ความสำคัญกับการบูรณาการตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐาน และจัดทำเป็นคลาวด์ 3 ระดับ

ได้แก่ คลาวด์ระดับกระทรวง (Ministry Cloud) คลาวด์ระดับกรม (Agency Cloud) คลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) โดยหน่วยงานที่มีระบบคลาวด์มาตรฐานใช้งานอยู่แล้ว สามารถใช้ระบบคลาวด์ปัจจุบันของหน่วยงานเองต่อไปได้ แต่หากหน่วยงานใดไม่ต้องการลงทุนระบบ ก็สามารถมาใช้งาน โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ ได้

นอกจากนี้หากหน่วยงานใดที่มีความจําเป็นต้องใช้คลาวด์แบบเร่งด่วน หรือเป็นระบบสํารอง DR Site ก็สามารถมาใช้งาน โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์กลางภาครัฐ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ Innovation Live Forum ยังเปิดเสวนาอัพเดตประเด็นที่น่าสนใจของวงการคลาวด์ภาครัฐ

GDCC

โดยผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ระดับโลก ฐิติมา รุ่งผาติ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ กลุ่มภาครัฐประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ไทยแลนด์ (AWS Worldwide Public Sector) ได้ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Government Cloud ของทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีการนำไปใช้ในหลายระดับและนำไปสู่ Digital Transformation ในแต่ละประเทศ

วสุพล ธารกกาญจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์คลาวด์ Microsoft Azure ไมโครซอฟท์ ไทยแลนด์ กล่าวถึงความสำคัญของระบบคลาวด์ภาครัฐกับสิ่งที่ประชาชนจะได้รับจากการเข้าถึงข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น และ สุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล CTO Huawei Technologies (Thailand) กล่าวถึงการนำเอา DATA ต่าง ๆ มาปรับใช้กับ New Normal ในภาครัฐ ซึ่งทั้งหมดได้สะท้อนถึงความสำคัญของคลาวด์ภาครัฐที่จะมีบทบาทยิ่งขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.