แคสเปอร์สกี้ เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์เรือธงใหม่ “Kaspersky Next” ที่ผสมผสาน การปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์ (EDR) และเครื่องมือการมองเห็น (XDR) ได้ด้วยกันได้อย่างลงตัว…
highlight
- แคสเปอร์สกี้ เปิดตัว กลุ่มผลิตภัณฑ์เรือธงใหม่ “แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” (Kaspersky Next) ที่ผสมผสานการปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์ที่แข็งแกร่ง เข้ากับความโปร่งใส และความรวดเร็วของ EDR (Endpoint Detection and Response) ควบคู่ไปกับการมองเห็น และเครื่องมืออันทรงพลังของ XDR (Extended Detection and Response) ลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และทรัพยากรที่มี ให้ลูกค้าสามารถเลือกเพิ่มระดับความปลอดภัยที่เหมาะกับความต้องการทางธุรกิจได้ถึง 3 ระดับ
Kaspersky เปิดตัว “Kaspersky Next” สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีการพัฒนาภูมิทัศน์อย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทต่างๆ จะต้องมีโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม และไว้วางใจได้ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ตามรายงาน XDR และ SOC Modernization ของ Enterprise Strategy Group
พบว่า ธุรกิจต่าง ๆ ยังคงค้นหาเครื่องมือรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่สามารถตรวจจับ และตรวจสอบภัยคุกคามขั้นสูงได้ทันเวลา แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) จึงได้พัฒนาโซลูชันเพื่อตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งหมดของธุรกิจ และช่วยให้องค์กรธุรกิจสร้างกรอบการทำงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เชื่อถือได้
เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า วันนี้เราเปิดตัวโซลูชัน XDR ที่ล้ำสมัย และผลิตภัณฑ์โฉมใหม่สำหรับองค์กร ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของเราในการทำงานอย่างแข็งขันในฐานะผู้จำหน่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับองค์กร
ด้วยการเปิดตัว “แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” เพื่อช่วยลดความซับซ้อนของ EDR และ XDR สำหรับธุรกิจ และองค์กรในประเทศไทยทุกขนาด ภารกิจของเราคือการให้บริการการป้องกันระดับแนวหน้าให้กับลูกค้าทุกท่าน ซึ่งขับเคลื่อนโดยความเชี่ยวชาญที่ไม่มีใครเทียบได้
ไม่ว่าองค์กรนั้นจะเป็นมือใหม่เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือมีทีม SOC เป็นของตนเอง เป้าหมายสูงสุดของเราคือการช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถสร้างระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เฉพาะองค์กร
ไทยกำลังเผชิญการโจมตีทางไซเบอร์
องค์กรธุรกิจในประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติการโจมตีทางไซเบอร์ ในปี 2566 โซลูชัน B2B ของ แคสเปอร์สกี้บล็อกความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิงทางการเงินได้จำนวน 25,227 รายการ และยังมีจำนวนเหตุการณ์ภัยคุกคามมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คือ ภัยคุกคามออฟไลน์ จำนวน 4,700,000 รายการ และการโจมตี RDP จำนวน 10,205,819 รายการนอกจากนี้ แรนซัมแวร์เป็นภัยคุกคามที่เป็นปรากฏเป็นข่าวใหญ่บ่อยครั้ง โดยประเทศไทยมีเหตุการณ์โจมตีด้วยแรนซัมแวร์สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคถึง 109,315 รายการ
เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ประเทศไทยกลายเป็นเป้าหมายหลักสำหรับผู้ก่อภัยคุกคาม ซึ่งมีการใช้กลยุทธ์หลากหลายเพื่อสร้างการโจมตีองค์กรธุรกิจอย่างช่ำชอง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลปรากฏเป็นข่าวหลายครั้ง แพลตฟอร์มบริการเชิงพาณิชย์ และภาครัฐถูกโจมตี
ตัวอย่างข้อมูลที่รั่วไหลจะถูกโพสต์ในตลาดมืด ตามด้วยการขู่กรรโชกขั้น 2 และขั้น 3 เพื่อเรียกค่าไถ่ ภัยคุกคามที่พบได้ทั่วไปในประเทศยังรวมถึงการหลอกลวงแบบฟิชชิง (Phishing) และสมิชชิง (Smishing) เพื่อให้ดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์บนอุปกรณ์ส่วนตัว และอุปกรณ์ขององค์กร
“ดังนั้น การผสมผสานระหว่างโซลูชัน EDR และ XDR ที่สามารถครอบคลุมข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งหมดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจองค์กรจะต้องใช้ เราเชื่อว่า แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์ จะสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้ทีม SOC รับมือกับความท้าทายที่ซับซ้อน ด้วยการตรวจจับ และการตอบสนองต่อยอดที่ไม่เหมือนใคร เพื่อพัฒนาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยต่อไป” เบญจมาศ กล่าว
“แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กลุ่มใหม่ที่มีการป้องกันเอ็นด์พ้อยต์ที่แข็งแกร่งซึ่งขับเคลื่อนด้วยความสามารถของ AI และก้าวไปไกลกว่า EPP แบบดั้งเดิม (Endpoint Protection Platform) โดยนำ EDR และ XDR มารวมกัน เพื่อลูกค้าองค์กรทุกขนาดและทุกประเภทอุตสาหกรรม
ในฐานะโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพที่สุด EDR และ XDR ช่วยให้บริษัทต่างๆ ต้านทานการโจมตีที่แพร่หลาย ที่คอยหลบเลี่ยงการตรวจจับ และซับซ้อนมากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้มองเห็น ควบคุม ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และตามล่าภัยคุกคามในเชิงรุก
“แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” ไม่จำกัดการปรับใช้งาน อีกทั้งยังสามารถติดตั้งทั้งบนคลาวด์ และการติดตั้งใช้งานเองภายในองค์กร (cloud and on-premise) สามารถจัดการผ่านคอนโซลที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อดำเนินงานหลักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็ว หรือผ่านคอนโซลระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์
ที่มีการควบคุมที่ละเอียดยิ่งขึ้น และการตรวจสอบขั้นสูง โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ช่วยให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถสร้างฟังก์ชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญ เพื่อให้มีการป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามหลากหลายประเภทที่ธุรกิจเผชิญมากที่สุด
เช่น แรนซัมแวร์ (ransomware), มัลแวร์ (Malware), การละเมิดข้อมูล (Data Breach) และยังช่วยหลีกเลี่ยงการเจาะโครงสร้างพื้นฐานผ่าน Business Email Compromise การโจมตีซัพพลายเชน การหาผลประโยชน์จากจุดอ่อน และช่องโหว่อื่น ๆ
ด้าน เหล่ง เล้ง โช (Lai Leng Chow) Head of Enterprise Southeast Asia กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันความปลอดภัยทางไซเบอร์กำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากภัยคุกคามมีความซับซ้อนมากขึ้น และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อทำธุรกิจของบริษัทฯ จะส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ
ต้องเผชิญความเสี่ยงสูงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่ง “แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” มีคุณสมบัติที่ทำงานได้อัตโนมัติหลายประการ เช่น การตรวจสอบ และการบล็อกบนคลาวด์ การจัดการช่องโหว่ และแพตช์ การสแกน IoC และ Playbooks ที่สนับสนุนการตรวจจับ
และการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพสำหรับภัยคุกคามที่ใหม่ และซับซ้อน อีกทั้งยังช่วยลดภาระของทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างมาก โดยการลดจำนวนงานที่ต้องทำเป็นประจำลงได้
ด้าน พุฒิพงศ์ พงศ์ลักษมาณา ผู้จัดการฝ่ายพรีเซลส์ ของ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ในง่ขงการทำงานของ “แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” คือการผสานรวมเอาความสามารถของ EDR และ XDR เข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยเป็นการการผสานรวมกับเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ เพื่อใช้ตรวจจับ และวิเคราะ พร้อมกับบันทึกข้อมูลผู้ใช้
ข้อมูลปลายทาง และข้อมูลประเภทอื่น ๆ จะช่วยให้นักวิเคราะห์ความปลอดภัยขององค์กรมีมุมมองในการป้องกันได้แบบ 360 องศา ของโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยทั้งหมด พร้อมกับความสามารถในการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบแบบย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาของการโจมตีในแบบเชิงรุก
เนื่องจากมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) ที่จะคอยวิเคราะห์ข้อมูลจากทุกแหล่งทั่วทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อหาความผิดปกติ และภัยคุกคามที่ไม่รู้จัก และแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่าน แดชบอร์ด ซึ่งช่วยให้นักวิเคราะห์ภัยคุกคามขององค์กรสามารถลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่เข้ามาโจมตี
และจัดการกระบวนการแจ้งเตือนที่เคยเกิดขึ้นแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถมุ่งความสนใจไปที่การโจมตีที่ซับซ้อนในรูปแบบใหม่ ๆ พร้อมกับวางแผนการตอบโต้การโจมตี แทนที่จะไล่ตามการแจ้งเตือนแต่ละรายการนับร้อยหรือหลายพันรายการที่เกิดในแต่ละวันได้
“แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์ “EDR Foundations” การปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์ที่ทรงพลัง สามารถระบุและต่อต้านภัยคุกคามก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อกระบวนการทางธุรกิจ การควบคุมความปลอดภัยที่ยืดหยุ่น และตรงไปตรงมา และรูปแบบสถานการณ์ไอทีแบบบิ้วต์อินช่วยให้ดำเนินการโดยที่ทีมไม่ต้องลงมือจัดการเองได้
และช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ปรับแต่งนโยบายความปลอดภัยให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กรได้ ซึ่งโซลูชันนี้แนะนำสำหรับบริษัทที่มีแผนกไอทีดำเนินการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์ “EDR Optimum” ปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์ด้วยฟังก์ชัน EDR ระบบควบคุมขั้นสูง การจัดการแพตช์ และความปลอดภัยของคลาวด์ นอกจากนี้ยังมีการมองเห็นภัยคุกคาม การตรวจสอบ และตอบสนองต่อภัยคุกคาม
เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถหลบเลี่ยงการโจมตีได้อย่างรวดเร็ว และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ซึ่งโซลูชันนี้แนะนำสำหรับบริษัทที่มีทีมรักษาความปลอดภัยข้อมูลขนาดเล็ก
แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์ “XDR Expert” รวบรวม วิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขององค์กร การมองเห็นแบบเรียลไทม์ ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่พัฒนาขึ้น และมีการตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูงและการตอบสนองอัตโนมัติ เป็นโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง
และยังสามารถรวมเข้ากับผู้จำหน่ายรายอื่นได้อีกด้วย ซึ่งเป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับบริษัทที่มีทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสบการณ์ หรือมีศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย (Security Operations Center – SOC)
“แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศกลุ่มผลิตภัณฑ์ B2B ของแคสเปอร์สกี้ และได้รับการออกแบบให้เข้ากันได้โดยตรงกับโซลูชันและบริการอื่น ๆ ของ แคสเปอร์สกี้ หากองค์กรต้องการการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมมากขึ้น
และสามารถปรับย้าย “แคสเปอร์สกี้ เน็กซ์” จากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งได้อย่างง่ายดาย โดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ณ ปัจจุบัน
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th