Meta จับมือ ททท. เปิดตัวแคมเปญ “Rediscover Thailand” ใช้ VR หนุนท่องเที่ยว

Meta

เมตา (Meta) จับมือ ททท. เปิดตัวแคมเปญ “Rediscover Thailand” ใช้ Virtual Reality หรือ VR สนับสนุนท่องเที่ยวไทย…

highlight

  • เมตา (Meta) จับมือ ททท. เปิดตัวแคมเปญ “Rediscover Thailand” นำเสนอประสบการณ์ AR สนับสนุนท่องเที่ยวไทยภายใต้ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC), Holowisp และครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์จาก Meta Spark AR

Meta จับมือ ททท. เปิดตัวแคมเปญ “Rediscover Thailand” ใช้ VR หนุนท่องเที่ยว

Meta
จากซ้าย: คุณภควัจน์ ก่อศรีพิทักษ์กุล ผู้ร่วมก่อตั้ง Holowisp, มร. ไมเคิล บัค หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย, คุณแพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta, คุณไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Meta, คุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, คุณนิธี สีแพร รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวด้านดิจิทัลวิจัยและพัฒนา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์, และ มิส ราอิมาห์ อับดุลราฮิม ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Meta

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา เมตา ประเทศไทย ประกาศเปิดตัวแคมเปญ Rediscover Thailandท่องเที่ยวไทย ประสบการณ์ใหม่ผ่าน ARนำเสนอประสบการณ์ท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ที่แสดงความโดดเด่นของจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย

ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ เมตา ภายใต้ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) Holowisp ผู้พัฒนาเทคโนโลยี AR ชั้นนำ

และครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์ผลงานชุมชน Meta Spark AR ในประเทศไทย เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19

จากการที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2565 (APEC) ที่กำลังจะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เมตา และพันธมิตรจึงได้ร่วมมือกันแสดงความโดดเด่นและความงดงามของวัฒนธรรม จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว

รวมถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ผ่านประสบการณ์ AR เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนธีมหลักของการจัดประชุมดังกล่าว ได้แก่ Open. Connect. Balance.” มุ่งฟื้นฟูความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ และเร่งการเติบโตอย่างยั่งยืนหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

โดยแคมเปญ Rediscover Thailand ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยกระดับการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศผ่านวิธีการที่สร้างสรรค์ อีกทั้งเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ เมตา ในการช่วยเหลือธุรกิจและชุมชนท้องถิ่นด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้พวกเขาเข้มแข็งและฟื้นฟูธุรกิจได้โดยเร็ว

นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ เมตา ในการช่วยให้ผู้คนสามารถกลับมาเชื่อมต่อกันอีกครั้ง พร้อมเปิดโลกสู่โอกาสในการค้าขาย และการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น

โดยข้อมูลจากเมตา พบว่า ในช่วง 90 วันที่ผ่านมา มีผู้คนจำนวนกว่า 10.3 ล้านคน ในประเทศไทยได้แชร์โพสต์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวกว่า 38 ล้านครั้ง ผ่าน Facebook และ Instagram 

Meta

จับมือพาทเนอร์หนุนการท่องเที่ยวสุดล้ำสมัย

ตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ จะมีการจัดแสดงผลงานเอฟเฟกต์ AR ที่ล้ำสมัยทั้งหมด 9 ผลงานที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยนักพัฒนาและครีเอเตอร์ AR ชาวไทยทั้งหมด 5 คน

ได้แก่ พรรษวุฒิ เคหสุขเจริญ, วนิศรา ชมภูรัตน์, โอภาศ แสงอื้อ, คีตะพล บุญประจักษ์ และซูฟีย์ ยามา โดยผลงานจากศิลปิน AR ชาวไทยผู้มากความสามารถทั้ง 5 คนจากชุมชน Meta Spark AR ได้สะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นเชิงวัฒนธรรมที่สนับสนุนความหลากหลายจากทั่วภูมิภาคในประเทศไทย

โดยบุคคลทั่วไปสามารถสัมผัสประสบการณ์เชิงวัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านร่มบ่อสร้างของภาคเหนือ ไปจนถึงรำมโนราห์ของภาคใต้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ออนไลน์ และอินเทอร์แอคทีฟที่เปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถดื่มด่ำไปกับสิ่งมหัศจรรย์เชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศ พร้อมสัมผัสเทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตในขณะเดียวกัน

แคมเปญนี้ยังได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่โดดเด่นด้านการใช้งานเทคโนโลยีของคนไทย รวมถึงศักยภาพด้านการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย โดยผลการศึกษาล่าสุดได้คาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2565 จะมีประชากรไทยกว่า 72% ที่ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล

และ 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวว่าพวกเขาเคยใช้งานเทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับเมตาเวิร์สอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีที่ผ่านมา เช่น AR, VR และ NFT ยิ่งไปกว่านั้น เมตา ยังพบว่า ณ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ประเทศไทยยังเป็น 1 ใน 10ระเทศทั่วโลก

ที่มีจำนวนครีเอเตอร์ Meta Spark AR ที่ยังคงสร้างสรรค์ผลงานอยู่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมากที่สุด โดยมี 58% ของครีเอเตอร์ชาวไทยดังกล่าวที่ระบุตัวตนว่าเป็นผู้หญิงอีกด้วย

สร้างสรรค์เทคโนโลยีโซเชียเพื่อปลดล็อคโอกาสให้กับอุตสาหกรรม

Meta

มร. ไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ เมตา กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นของ เมตา ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีโซเชียลในยุคต่อไป เราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความสำเร็จของการเปิดตัวโครงการRediscover Thailand ในวันนี้

ซึ่งเป็นการสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามเส้นทางสู่เมตาเวิร์สของเรา โดยผลงานที่เรา และพันธมิตรได้จัดแสดงผ่านแคมเปญนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้งานเทคโนโลยี AR/XR ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทั้งในด้านการทำงาน ความบันเทิง และเพื่อพัฒนาการดำเนินงานด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

อย่างที่เราได้เห็นการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผมคิดว่าเมตาเวิร์สจะช่วยปลดล็อคโอกาสอีกมากมายให้กับอุตสาหกรรมที่หลากหลายในปัจจุบัน

ด้าน ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การระบาดของเชื้อไวรัส COVID19 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว นวัตกรรมเทคโนโลยีก้าวเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะ การเดินทางแบบ Virtual

ซึ่งเปิดประสบการณ์ให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างไร้ข้อจำกัด และตอบโจทย์เทรนด์โลกได้ ความร่วมมือระหว่างททท.กับ เมตา ชี้ให้เห็นว่า ททท. ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าและยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผ่านการสร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosystem)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ High Value & Sustainable Tourism เพื่อกระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยวและมุ่งสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่า (Meaningful Travel)

ด้สัมผัสประสบการณ์สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี AR

Meta

ภควัจน์ ก่อศรีพิทักษ์กุล ผู้ร่วมก่อตั้ง Holowisp กล่าวว่า การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ขึ้นมาผ่านเทคโนโลยี AR เช่นนี้จะช่วยให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสบการณ์สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แม้ในขณะที่พวกเขาไม่ได้เดินทางไปยังสถานที่นั้นจริง ๆ

ซึ่งประสบการณ์นี้ไม่ได้ประกอบด้วยพื้นที่สถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนที่หลากหลาย วัฒนธรรม และประเพณีที่มีอยู่จริงอีกด้วย

ด้าน ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า ความสามารถในการนำความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในบริบทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางภาคสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย

CEA เล็งเห็นประโยชน์ของโครงการ Rediscover Thailand ที่สร้างสรรค์โดย เมตา จึงพร้อมมีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการ เพื่อขยายเวที และพื้นที่ให้แก่เหล่านักสร้างสรรค์ ในการนำเสนอผลงานต่าง ๆ และช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวไทยให้มีสีสัน และเข้าถึงได้ง่ายขึ้นจากเทคโนโลยี AR ที่มอบทั้งความสนุก และสร้างการมีส่วนร่วมได้ง่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์

Meta

นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของแคมเปญRediscover Thailand ยังประกอบด้วยการจัดเวิร์คช็อปเพื่อเสริมสร้างทักษะ Meta Spark Creator Connect โดย เมตา ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ AR จำนวน 75 คนจากทั่วโลก และทั่วภูมิภาค

ซึ่งรวมถึงประเทศไทย เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการเติบโตของชุมชน Meta Spark Global Creator และสร้างอีโคซิสเต็มที่นำไปสู่เทคโนโลยีแห่งอนาคตในประเทศไทย

ในขณะที่ประเทศไทยยังคงเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง แคมเปญเช่นนี้มีส่วนในการมุ่งผลักดันประเทศสู่ เมตาเวิร์ส (metaverse) เปิดโอกาสสู่การเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น ปลดล็อคศักยภาพครั้งสำคัญให้กับผู้คนและชุมชนต่าง ๆ รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมอีกมากมายในอนาคต

Meta

สำหรับผู้ที่สนใจสัมผัสประสบการณ์เอฟเฟกต์ AR ของโครงการ Rediscover Thailand ผ่านช่องทางออนไลน์บนโทรศัพท์ สามารถเยี่ยมชม Instagram ของ @TourismThailand และเลือกปุ่ม เอฟเฟกต์ และสำหรับการสัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง

สามารถเยี่ยมชมนิทรรศการ Augmented Reality ภายใต้โครงการ Rediscover Thailand ได้ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ เวลา 10.30-19.00 น. ตั้งแต่วันที่ 230 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพฯ ที่บริเวณ Front Lobby ชั้น 1

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอฟเฟกต์ AR ของโครงการ Rediscover Thailand ครีเอเตอร์ AR และเรื่องราวเบื้องหลังต่าง ๆ กรุณาเยี่ยมชม fb.me/rediscover-thailand

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th