เอ็นไอเอ (NIA)-ม.แม่โจ้ เร่งปั้นสตาร์ทอัพไบโอเทค หนุนดีพเทคปูทาง “ซิลิคอนวัลเลย์นวัตกรรมเกษตร” พร้อมเปิดเวทีปั้นนศ.- ผปก. นำไอเดียสร้างมูลค่าให้ธุรกิจดีพเทคเกษตร…
highlight
- สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้
งภาครัฐ และเอกชน เปิดโครงการ AgBioTech Incubation 2023 ขึ้นเป็นปีแรก เพื่อพัฒนาสตาร์ทอัพด้ านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีชีวภาพในระยะเริ่มต้น ด้วยการพัฒนาทักษะ และความรู้ สำหรับก้าวเป็นสตาร์ทอัพรายใหม่ ให้กับนักศึกษา นักวิจัยภาครัฐ ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัย หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้ องการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเป็ นสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มจำนวนสตาร์ทอั พเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึ กให้มีจำนวนมากขึ้น โดยเป็นการปลุกปั้นตั้งแต่ ระยะไอเดียให้เข้าใจโจทย์ปั ญหาด้านการเกษตร และมีโอกาสนำแนวทางแก้ ไขไปทดสอบความต้ องการของภาคเกษตรที่แท้จริง จนไปสู่การขยายธุรกิจในระยะต่ อไปได้อย่างรวดเร็วแบบก้ าวกระโดด
NIA–ม.แม่โจ้ เร่งปั้นสตาร์ทอัพไบโอเทค ปูทางสู่ “ซิลิคอนวัลเลย์นวัตกรรมเกษตร“

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ (NIA) กล่าวว่า สตาร์ทอัพด้านการเกษตรเป็นกำลังสำคัญที่จะเชื่อมโยงและร่วมสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับภาคเกษตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรที่มีความซับซ้อนและมีความหลากหลายได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและยกระดับภาคเกษตรได้อย่างยั่งยืน
เมื่อปี 2563 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดทำ “สมุดปกขาวการขับเคลื่อนพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของประเทศไทย“ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศ
ทั้งนี้ จากผลสำรวจพบว่ามีจำนวนสตาร์ทอัพด้านเกษตรเพียง 53 บริษัท แต่ปัจจุบันเริ่มมีสตาร์ทอัพรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่ามีอยู่เกือบ 70 บริษัท แต่มีสตาร์ทอัพด้านเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกไม่ถึง 15 บริษัท ดังนั้น จึงมีความต้องการเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพเกษตรด้านเทคโนโลยีเชิงลึกให้มากขึ้น
ซึ่งเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเป็นสาขาหนึ่งที่ประเทศไทยมีโอกาสและปัจจัยสนับสนุนสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเหมาะแก่การเจริญเติบโต และการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาพันธุ์
ประกอบกับมีนักวิจัยที่มีความรู้ ความสามารถ และหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่คอยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพจำนวนมาก อีกทั้งรายงานผลการศึกษาของ Hello Tomorrow พบว่า เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสาขาเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีการเติบโต และดึงดูดนักลงทุนได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น
และในปี ค.ศ. 2021 ข้อมูลจาก AgFunder พบว่า มูลค่าการระดมทุนของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพทั่วโลกมีมูลค่า 85.80 พันล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในด้านเกษตร แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการได้รับการลงทุนของไทย
พบว่า สตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ มีมูลค่าเพียง 90 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.10 ของการลงทุนระดับโลกเท่านั้น ทำให้ยังมีโอกาสการเติบโตได้อีกมาก
“จากโอกาส และความท้าทายดังกล่าว เอ็นไอเอ จึงได้ริเริ่ม “โครงการ AgBioTech Incubation 2023“ โดยจะพัฒนานักศึกษา นักวิจัย ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเป็นสตาร์ทอัพที่มีทักษะ และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่พร้อมก้าวสู่การเป็นสตาร์ทอัพ
และสามารถพัฒนาต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมสำหรับแก้โจทย์ปัญหาภาคการเกษตรของประเทศ โดยอาศัยกระบวนการบ่มเพาะแบบเข้มข้นผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวมถึงการจัดสรรพื้นที่การเรียนรู้และทำงานจริงร่วมกับเครือข่าย และนักลงทุน
เพื่อสร้างให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมในการสนับสนุน และผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นความหวังของภาคการเกษตรไทย และเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมการเกษตรคลื่นลูกใหม่ของประเทศให้เติบโตไปด้วยกัน”
พัฒนา และยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่

รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า หนึ่งในนโยบายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือการส่งเสริมระบบนิเวศด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการทั้งรูปแบบเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงทิศทางของโลกในปัจจุบันและอนาคต
โดยมีผลการทำงานที่สำคัญคือ การสร้างให้เกิด “ย่านนวัตกรรมเกษตร และอาหารแม่โจ้“ ที่ได้รับความร่วมมือจาก เอ็นไอเอ ในการผลักดันร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเทศบาลท้องถิ่น ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อการพัฒนา และยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่
“โครงการ AgBioTech Incubation 2023 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมดำเนินงานกับ เอ็นไอเอ และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตร และอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสหากรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์
เพื่อบ่มเพาะให้เกิดสตาร์อทัพด้านการเกษตรรายใหม่ที่มีความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างการเชื่อมโยงให้เกิดระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนับสนุนการสร้าง “ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้“ ให้กลายเป็น “ซิลิคอนวัลเลย์ด้านนวัตกรรมการเกษตรของไทย“
ที่มีความพร้อมทั้งด้านงานวิจัย พื้นที่ทดสอบ รวมถึงความร่วมมือกับหน่วยงานชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพของไทยที่สามารถขยายสู่ระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลกต่อไป”
สำหรับนักศึกษา นักวิจัยภาครัฐ ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัย หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยากเรียนรู้ เพื่อเป็น AgBioTech Startups โครงการ AgBioTech Incubation 2023 พร้อมเป็นเวทีแรก และเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับเส้นทางการเติบโตไปด้วยกัน
ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2566 ทาง http://agbiotech.nia.or.th/
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th