NT จัดระเบียบสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดิน ชี้! ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ

NT

เอ็นที (NT) จัดระเบียบสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดิน 2566พร้อมพัฒนาเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider ตั้งเป้า วางท่อร้อยสายใต้ดิน 4,450 กิโลเมตร ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ชี้! ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน ควรให้ความสำคัญต่อการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน

highlight

  • เอ็นที เปิดแผนโครงการท่อร้อยสายใต้ดินปี 2566 ร่วมมือกับ กฟน. กฟภ. องค์กรภาครัฐ และเอกชน
    จัดระเบียบสายสื่อสารลงใต้ดิน มุ่งต่อยอดโอกาสในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานพร้อมพัฒนาบทบาทเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รองรับการให้บริการ Broadband และ Data Service สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เพื่อให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน

NT จัดระเบียบสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดิน ชี้! ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญอย่ามองแค่ผลประโยชน์ส่วนตน

NT
มรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที

มรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที เปิดเผยว่า ด้วยศักยภาพความพร้อมของท่อร้อยสายใต้ดินของ เอ็นที ที่มีอยู่แล้ว 4,450 กิโลเมตร แบ่งเป็นท่อร้อยสายในพื้นที่นครหลวง 3,600 กิโลเมตร และภูมิภาค 850 กิโลเมตร

จึงทำให้ เอ็นที เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดินร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย โดย เอ็นที ให้บริการให้เช่าใช้ท่อร้อยสายใต้ดินกับหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการโทรคมนาคม แทนการพาดสายสื่อสัญญาณต่าง ๆ ผ่านเสาไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ.

พร้อมกับ เอ็นที มีแนวทางพัฒนาบทบาทเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider รองรับการให้บริการ Broadband และ Data Service สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เพื่อให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน

NT

เป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และมีการใช้ทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแผนการดำเนินงานนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินในปี 2566 จะสอดคล้องกับแผนงานของ กสทช., กฟน., กฟภ., กทม., เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดระเบียบสายสื่อสารเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมือง

ให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงาม เพิ่มศักยภาพ และความปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสารจากอุบัติเหตุ ซึ่งประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้

แผนงานโครงการปรับเปลี่ยนสายไฟฟ้า และสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อรองรับการเป็นมหานครอาเซียน จำนวน 39 เส้นทาง ระยะทาง ประมาณ 127 กม. โดยมีแผนที่จะดำเนินการในปี 2566

เช่น ถนนอังรีดูนังต์, ถนนหลังสวน, ถนนวิทยุ, ถนนพระราม 4, ถนนจรัญสนิทวงศ์, ถนนลาดพร้าว, ถนนพหลโยธิน, ถนนรามคำแหง และถนนศรีนครินทร์ เป็นต้น

แผนงานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ตามนโยบายสำนักงาน กสทช. โดยมีแผนในปี 2566 เช่น ถนนมหาราช, ถนนอโศกล ถนนรัชดาภิเษก และถนนอิสรภาพ เป็นต้น

แผนงานโครงการร่วมกับ กทม. เส้นทางปรับปรุงทางเท้า 13 เส้นทาง เช่น ถนนเยาวราช,
ถนนสุทธิสาร (อินทามระ) และถนนพระราม 4 เป็นต้น

แผนงานโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เช่น นครราชสีมา, เชียงใหม่, เชียงราย, ระนอง, หนองคาย, ชลบุรี, ภูเก็ต, พัทยา และหาดใหญ่ เป็นต้น

แผนงานโครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ส่วนต่อขยาย

แผนงานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินบริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ กับ เอ็นที ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจโดยมีสนามบินอู่ตะเภา และชุมชนถนนสุขุมวิท ได้ดำเนินการไปแล้ว 2 เส้นทาง ยังเหลืออีก 7 เส้นทาง

จัดระบบสายสื่อสารเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการสื่อสาร และโทรคมนาคม และดการลงทุนซ้ำซ้อน

NT

โดยตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา เอ็นที มีการจัดระเบียบสายสื่อสารไปแล้วหลายเส้นทาง โดยเฉพาะมีการจัดระเบียบสายสื่อสารแบบการใช้โครงข่ายปลายทางร่วมกัน (Single Last Mile) เพื่อลดจำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า

โดยผู้ประกอบการโทรคมนาคมลงทุนในส่วนของโครงข่ายโทรคมนาคมหลัก (Core) และ เอ็นที เป็นผู้ลงทุนในส่วนของโครงข่ายโทรคมนาคมปลายทาง (Last Mile) เข้าสู่บ้านเพื่อให้บริการลูกค้าทั้งแบบแขวนอากาศ และแบบอยู่ใต้ดิน

โดยมีการสร้างจุดเชื่อมต่อจากโครงข่ายหลัก (Core) เข้าสู่บ้านเรือน หรืออาคารของผู้ใช้บริการเป็นการรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการ และลดการลงทุนซ้ำซ้อนของผู้ให้บริการ ตอบโจทย์ความมั่นคง และมีเสถียรภาพทางการสื่อสาร และโทรคมนาคม สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกัน (Infrastructure Sharing)

ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการในรูปแบบ Single Last Mile แขวนบนอากาศบริเวณพื้นที่ ถนนนาคนิวาส กรุงเทพมหานคร และ Single Last Mile แบบลงท่อร้อยสายใต้ดิน บริเวณพื้นที่ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร, ถนนพัทยาเหนือ จังหวัดชลบรี, ถนนอุดรดุษฎีและถนนโพธิ์ศรี เทศบาลเมืองอุดรธานี และมีแผนการดำเนินการในอีกหลายพื้นที่ เช่น ถนนเยาวราช

การดำเนินงานในการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินที่ผ่านมา เป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และลดต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยมีการใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกันทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

NT

ช่วยให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความมั่นคง และมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพการดำเนินงานในการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินที่ผ่านมาเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของ เอ็นที ร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และลดต้นทุนของผู้ประกอบการ

โดยมีการใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกันทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ไม่มีสายสัญญาณร่วงหล่นสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ลดความไม่เป็นระเบียบของ
สายสื่อสาร ช่วยปรับสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมืองให้มีสภาพเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม

การแก้ปัญหาสารสื่อสารที่รกรุงรังด้วยการทำ Infrastructure Sharing คือสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำตํญ

NT

ที่ผ่านมาทีความพยายามเป็นเวลาหลายปี ในการนำสายสื่อสารที่รกรุงรัง ทั้งสายสื่อสารเก่า หรือสายไฟฟ้าลงใต้ดิน อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างที่ทราบว่าการจัดระเบียบในวันนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายได้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ไม่เอื้อำนวยในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น การเกิดสายสื่อสารขึ้นใหม่ ๆ ตามสภาพการแข่งขันที่รุนแรง

หรือการที่พื้นที่บางส่วนไม่อนุญาตให้มีการรื้อถอน หรือขุดเจาะพื้นผิวจราจร เนื่องจากส่งผลต่อการจราจรของรถยนต์ เนื่องจากเส้นทาง หรือมีภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และแม้มีความต้องการจะเข้าไปจัดระเบียบสานสื่อสายเดิมที่อยู่บนเสาไฟฟ้า ก็ไม่สามารถทำได้

เนื่องจากมีกฎที่ทาง กสทช. ระบุว่าห้ามไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสายสื่อสายหากทำการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเอกชน ก็อาจเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องได้ เนื่องจากมีโอกาสทำให้เกิดความเสียหาย และกระทบต่อการให้บริการได้ ดังนั้นจึ่งมีเสนอการแก้ปัญหาคือ การไฟฟ้าต้องมีโครงการล้มเสาไฟฟ้า

แต่ปัญหา คือ ใช้งบประมาณมหาศาล รวมถึงต้องใช้เวลาในการขุดสร้างท่อ และไม่สามารถเข้าได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งปัญหาในจุดนี้ เอ็นที ให้นำเสนอวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการใช้ท่อสายสื่อเก่า หรือ ไมโครดักท์ ของ TOT และ CAT เดิม ได้ทำการรื้อถอนสายทองแดงเดิมออกไปจนหมดแล้วมาใช้เส้นทางในการวางสายสื่อสารแบบใต้ดิน

แทน ซึ่งในแต่ล่ะพืนที่ของเมืองใหญ่ของจังหวัดต่าง ๆ มีท่อนี้อยู่กว่า 12 ท่อ และแต่ท่อ ไมโครดักท์ ก็มีเส้นฝ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงขนาดของสายสื่อสาร และสายไฟฟ้าที่เป็นส่วนสายไฟฟ้าแรงดันขนาดกลาง และต่ำ ที่เข้าสู่ครัวเรือน ก็เพียงพอที่จะนำลงไปไว้ในท่อสายสื่อเก่า ไมโครดักท์ ของ เอ็นที

 

NT

ได้เพียงพอต่อความการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน แต่เนื่องจากยังมีเสาไฟฟ้าให้ใช้ทำให้ทั้งสายสื่อสาร และสายสายไฟฟ้าแรงดันขนาดกลาง และต่ำ ยังคงเป็นทางเลือกที่สะดวก แน่นอนว่า เอ็นที ยังคงทำงานร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในส่วนโครงการล้มเสาไฟฟ้า

เนื่องจาก เอ็นที พิจารณาแล้วว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเร่งขับเคลื่อนการนำสายสื่อสาร และสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ และแรงดันกลางที่รกรุงรังทำให้มีทัศนียภาพที่ไม่สวยงาน ยังอาจก่อทำให้เกิดอันตรายต่อผู้คน ทั้งอุบัติเหตุจากสายสื่อสารที่ชำรุดกีดขวางเส้นทางจราจรทำให้ประชาชนได้รับความบาดเจ็บ จนไปถึงการเกิดเหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ 

NT

 

แม้จะดูเหมือนเป็นการกึ่งบังคับให้ใช้ท่อสายสื่อ ไมโครดักท์ ของ เอ็นที สำหรับให้ร้อยสายสื่อสาร และสายไฟฟ้าลงดิน แต่หากมองในระยะยาว ก็จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้การวางสายสื่อสาร และสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ และแรงดันกลาง เดิมที่เกิดขึ้นได้

อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อนในระยะยาวได้อีกด้วย เนื่องการบำรุงรักษาก็จะสามารถทำได้อย่างดายมากกว่า มันจึงไม่เรื่องของการที่ฝ่ายรัฐ หรือเอกชน จะมีสิทธิ์ในการให้บริการ หรือสร้างรายได้ การให้ผลประโยชน์ส่วนตน แต่คือการยกระดับระบบระเบียบของทัศนียภาพของประเทศ และลดปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ลงอีกด้วย

NT

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

ITDay

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.