เอบีม คอนซัลติ้ง (ABeam Consulting) เผย 3 กระแสเปลี่ยนโลกหลังยุคโควิด-19 ชี้โอกาสปรับองค์กรยุค “New Normal” พร้อมแนะ 13 ตัวช่วยลดความเสี่ยงธุรกิจ…
highlight
- เอบีมแนะตัวช่วยเสริมความแกร่งให้ธุรกิจทั้งภายใน และภายนอก โดยตัวช่วยสำคัญในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่ “Cost Optimization”, “SAP Acceleration” “Remote Working Security Assessment” “RPAaaS” และ “AI Debt Collection”
- เผย 3 กระแสหลักที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ในยุคโลกหลังโควิด-19 คือการเปลี่ยนแปลงคุณค่าองค์กร ความเร่งด่วนในการเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitization) และการทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยสร้างสิ่งใหม่ และการเตรียมพร้อม ที่ไม่เพียงแต่เพื่อรับมือกับ “ความปกติใหม่” เท่านั้น แต่ยังเพื่อต่อกรกับภาวะที่ธุรกิจต้องหยุดชะงักจากเหตุการณ์ที่อาจคาดไม่ถึงในอนาคตด้วย
“ABeam Consulting“ ชี้โอกาสปรับองค์กรยุค “New Normal“
อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบทั้งด้านสังคม
และเศรษฐกิจ ในด้านสังคม โรคระบาดดังกล่าวได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์ การทำงาน การสื่อสารกับผู้อื่น รวมทั้งการเดินทางและการท่องเที่ยวของผู้คน ขณะเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การเติบโตเศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลให้ตัวเลขคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้นภาคธุรกิจที่กำลังเริ่มเปิดให้บริการอีกครั้งต้องเผชิญกับความท้าทายว่าจะกลับมาดำเนินธุรกิจ ในขณะที่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างไร
“องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีการทำงานแบบใหม่ ด้วยการย้อนดูภาพรวม และหาความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ”
สภาพเศรษฐกิจย่อมมีผลต่อภาคธุรกิจ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในรูปแบบใด ธุรกิจจะต้องเตรียมพร้อมดำเนินธุรกิจฝ่าความไม่แน่นอนต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องปรับโครงการสร้างการดำเนินงานเพื่อตอบสนองอย่างต่อเนื่องต่อสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ซึ่งสามารถทำให้ธุรกิจเกิดภาวะชะงักงัน
นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจยังจะต้องบรรเทาความรุนแรงของความท้าทายเฉพาะหน้าด้วยการจัดการให้มีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ปลอดภัย และมั่นคง เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในยามที่ไวรัสยังคงแพร่ระบาดอยู่ ที่สำคัญที่สุดคือองค์กรธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีการทำงานแบบใหม่ในระยะยาว
และต้องมีการปรับธุรกิจครั้งใหญ่เพื่อสร้างอนาคตที่ดีขึ้น ถือเป็นช่วงเวลาที่องค์กรธุรกิจต้องกลับไปย้อนดูองค์กรทั้งหมดในภาพรวม และคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อมุ่งเน้นความสามารถในการฟื้นตัว และเตรียมความพร้อมรับมือกับภาวะอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้ให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักอีกครั้ง
ทั้งธุรกิจและองค์กรได้เข้ามาสู่ยุค “ความปกติใหม่“ ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคหลากหลายประการ สำหรับวงการสินค้าสำหรับผู้บริโภค พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากคนเริ่มหันไปจับจ่ายใช้สอยบนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการซื้อของที่ร้านค้า รวมถึงความต้องการอาหารและผลิตภัณฑ์ดูแลบ้านที่เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ด้านห่วงโซ่อุปทานต้องพบกับภาวะชะงักงันเพราะความต้องการส่งของตรงไปยังผู้บริโภคสูงขึ้น ทั้งยังมีข้อกังวลด้านสุขภาพของแรงงานและข้อจำกัดด้านการขนส่งอีกด้วย สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ผู้บริโภคหันมานิยมประสบการณ์แบบเฉพาะตัวมากขึ้น
ในขณะที่ตัวแทนจำหน่ายและผู้จัดหาสินค้ากำลังประสบปัญหาในแง่ความมั่นคงทางธุรกิจและการเงิน ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรธุรกิจเริ่มมีวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เช่น การทำงานระยะไกล รวมถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล และการคำนึงถึงความมีสุขภาพกายควบคู่กับสุขภาพใจที่ดี
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคดังกล่าวนำไปสู่โอกาสขององค์กรธุรกิจในการทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่เพื่อประสิทธิภาพและการสร้างคุณค่าทั้งภายในและภายนอกองค์กร เอบีมได้จัดทำรายการ 13 ตัวช่วยให้ธุรกิจมองหาส่วนที่เป็นโอกาสในการทรานส์ฟอร์ม ดังนี้
ตัวช่วยเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ
- Quick Cost Optimization : เน้นดูแลรายงานทางการเงินแบบระยะสั้นเพื่อจัดทำโครงสร้างต้นทุนที่จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดในช่วงธุรกิจฝืดตัว
- SAP Acceleration : ครอบคลุม SAP Resilience (Remote Implementation), SAP Signature Management, SAP i-RPA และ SAP SuccessFactors (Quick Implementation) เพื่อกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ เน้นความคล่องตัวและความรวดเร็วในการดำเนินงาน
- Remote Working Security Assessment : ลดความเสี่ยงด้านภัยคุกคามให้อยู่ในระดับต่ำสุด สร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ รองรับการทำงานระยะไกล
- RPAssA หรือ RPA as a Service : ปรับกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นระบบอัตโนมัติโดยใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ ลดการทำงานแบบซ้ำ ๆ โดยคน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานแบบโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดในทันที
- AI Debt Collection : ปรับปรุงประสิทธิภาพการติดตามรับชำระหนี้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่ออกแบบสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มและตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจปัจจุบัน
ตัวช่วยด้านการสร้างมูลค่า
- SAP IBP Starter Pack : เพิ่มความสามารถทางการผลิตด้วยการตอบสนองต่ออุปสงค์ และอุปทานอย่างสมดุล เพื่อเป้าหมายทางผลกำไรท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- Virtual Showroom Customer Experience : ส่งมอบประสบการณ์ใหม่ ในการให้บริการแนวใหม่แบบผสมผสานเทคโนโลยี Extended Reality โดยไม่มีเงื่อนไขทางกายภาพ
- Product Portfolio Analysis : วิเคราะห์ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์จากข้อมูลภายใน และข้อมูลภายนอกเพื่อกำหนดนิยามใหม่ให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วยวัตถุประสงค์ในการยกระดับแบรนด์และเสริมสร้างผลกำไร
- Work Style Transformation : ดำรงไว้ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการทำงานระยะไกล ซึ่งสามารถทำงานจากที่ไหน และเมื่อใดก็ได้
- Elastic Business Redesign : พัฒนา ปรับระดับและประคองธุรกิจท่ามกลางความไม่แน่นอน และปูทางให้มีการปรับตัวทางธุรกิจครั้งใหญ่ในระยะยาวมากขึ้น
- New Customer Journey : โมเดลการขาย และการตลาดแบบใหม่ที่เฉพาะตัวมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
- DX Maturity Assessment : ประเมินความพร้อมด้านการปรับองค์กรเข้าสู่เส้นทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ตลอดจนส่งมอบแนวทางในการจัดอันดับความสำคัญของงาน และการเตรียมความพร้อม
- Agile System Development Assessment : พัฒนาระบบงานที่ยืดหยุ่น และมีความคล่องตัวสูงให้สอดคล้องกับการปรับวัฒนธรรม องค์กร แนวทาง กระบวนการทำงาน และเทคโนโลยี
สำหรับ 3 กระแสหลักที่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคหลังโควิด-19 คือการเปลี่ยนแปลงคุณค่าองค์กร แม้ว่าลัทธิบริโภคนิยมจะดำเนินต่อไปในอนาคต แต่จะมีการมุ่งเน้นเรื่องคุณค่าทางสังคมเพื่อตอบสนองชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ ด้วย กระแสที่สอง คือความเร่งด่วนในการเข้าสู่ระบบดิจิทัล
เนื่องจาก โควิด-19 สะท้อนให้เห็นโลกแห่งอนาคต ดิจิทัลจะเป็นศูนย์กลางของการมีปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด การเข้าสู่ระบบดิจิทัลจะเป็นเรื่องเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น กระแสที่สาม คือการปรับองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่เป็นการรวมผลของการเร่งดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน กับการปรับกระบวนทัศน์เพื่อดำเนินงานในรูปแบบ “ความปกติใหม่“ เป็นตัวกำหนดมาตรฐานใหม่ที่จะนำมาใช้ประเมินบริษัทต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ องค์กรธุรกิจจะต้องออกแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ และสร้างคุณค่ารองรับความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก การสร้างสิ่งใหม่ และเตรียมความพร้อมเหล่านี้ ต้องมีขึ้นไม่ใช่สำหรับรับมือกับ “ความปกติใหม่“ เท่านั้น แต่ยังใช้สำหรับจัดการกับการที่ธุรกิจหยุดชะงักจากเหตุที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th