สมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO AIS ควง ผู้ว่าฯ ฉะเชิงเทรา ลงพื้นที่บางคล้า ส่งต่อความห่วงใย และให้กำลังใจ อสม. ที่ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงโควิด-19 ระบาด รอบ 2….
highlight
เอไอเอส นำโดย สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายระพี ผ่องบุพกิจ เยี่ยมชมฐานปฏิบัติการเพื่อสุขภาพคนไทย ส่งมอบกำลังใจและเทคโนโลยีดิจิทัลให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นักรบเสื้อเทา ยุคดิจิทัล ในการเป็นด่านหน้าเฝ้าระวัง และติดตามกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 อย่างใกล้ชิด มอบความอุ่นใจให้ประชาชน
AIS ควง ผู้ว่า ฯ ฉะเชิงเทรา ลงพื้นที่ ให้กำลังใจ อสม .
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ในฐานะผู้นำเครือข่ายและบริการ ดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ ที่ได้ประกาศเดินหน้านำนวัตกรรม ดิจิทัล พร้อมด้วยขีดความสามารถของเครือ ข่าย 5 G เข้าเสริมประสิทธิภาพงานด้านสาธ ารณสุขไทย
เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ภายใต้โครงการ “เอไอเอส 5G สู้ภัยโควิด –19 ” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม และมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติงานข องบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้า น (อสม.) สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า
ได้อ ย่างไม่สะดุด ทั้งการติดตั้งเครือข่าย 5 G ในโรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษาผู้ ป่วย COVID –19 ทั่วประเทศ, ตั้งศูนย์ AIS Robotic Lab by AIS NEXT เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมการแพท ย์, การพัฒนาหุ่นยนต์บริการทางการแพ ทย์ 5G ROBOT FOR CARE
เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์ รวมถึงการติดปีกดิจิทัลให้กับ อสม. นักรบเสื้อเทา นำเทคโนโลยี ซิมแพ็กเกจพิเศษ และประกันโควิด-19 เสริมประสิทธิภาพ และสร้างความอุ่นใจในการปฏิบัติงาน เพราะแม้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19 จะมีทิศทางที่ดีขึ้นในแดนบวก
แต่ทว่ามาตรการคลายล็อกดาวน์ อาจเป็นตัวจุดชนวนการแพร่ระบาดใ นระลอกที่ 2 ได้ ดังนั้นการเตรียมพร้อมด้านบุคลา กรทั้งทีมแพทย์ พยาบาล และอุปกรณ์ให้พร้อมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมีทีมด่านหน้า ทำงานเชิงรุกในพื้นที่ อย่าง อสม. เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดจึงเ ป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส
โดยในวงการสาธารณสุขไทยกลุ่มคน ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุม จำกัดกรอบการแพร่ระบาดของโควิด- 19 นอกจากทีมแพทย์และพยาบาล ยังมีอาสาสมัครสาธารณประจำหมู่บ้ าน (อสม.) ที่เป็นเสมือนด่านหน้าคอยเฝ้าระ วัง ติดตาม ดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงติดโควิด -19
วันนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ เอไอเอส ได้ลงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุ ขภาพตำบลเสม็ดใต้ เพื่อให้กำลังใจและเยี่ยมชมการป ฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุ ขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ที่อยู่เบื้องหลังและมีส่วนสำ คัญในการขับเคลื่อนสาธารณสุขไทย
อสม. เสม็ดใต้ นับได้ว่าเป็น อสม. อีกหนึ่งกลุ่ม ที่ทุ่มเททั้งแรงกาย และแรงใจ ออกปฏิบัติงานเชิงรุกเพื่อทำให้ สุขภาพของคนในชุมชนเสม็ดใต้ที่มี อยู่กว่า 1 พันครัวเรือน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปลอดภัยจากการโควิด-19 ด้วยความตั้งใจในการปฏิบัติงานอ ย่างแรงกล้า
ประกอบกับเทคโนโลยีดิจิทัล แอปพลิเคชัน อสม. ออนไลน์ ทำให้ อสม. และ รพ.สต. เสม็ดใต้ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างใกล้ ชิด ไร้รอยต่อ และรวดเร็วทันต่อสถานการณ์การเป ลี่ยนแปลงในรอบวัน
ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส เราได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับ อสม. ทุกพื้นที่ เพื่อจะทำให้การทำงานอาสาสมัครมี ความสะดวก สบาย รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์เสมอ จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชัน อสม. ออนไลน์ ขึ้น ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากรู ปแบบกระดาษมาเป็นออนไลน์ 100%
ทั้งการสนทนา การส่งรายงานประจำเดือน ก็สามารถทำผ่านแอปฯ ได้ทันที รวมถึงในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ เราก็มีอัปเดตฟีเจอร์เพิ่มขึ้นม า อาทิ รายงานลูกน้ำยุงลาย และ คัดกรอง และติดตาม COVID –19
นอกจากนี้เรายังได้อำนวยความสะด วกในการปฏิบัติงานของ อสม. ด้วยมอบซิมพิเศษ “ซิมฮีโร่ ” และประกันภัยโควิด-19 เพื่อให้พี่ ๆ อสม. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างอุ่นใจ มากยิ่งขึ้น
ด้าน ฉวีวรรณ พุ่มพวง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้า น (อสม.) เสม็ดใต้ กล่าวว่า แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน เป็นพันธกิจหลักที่ อสม. ทุกคนยึดถือและปฏิบัติตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้ปฏิ บัติงานเชิงรุก
ด้วยการลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ตรวจสารพิษ เช็กแหล่งน้ำขังแต่ละครัวเรือน เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคไข้เลื อดออก ซึ่งได้รับความร่วมมือที่ดียิ่ง จากชาวบ้านในชุมชน โดย ล่าสุดกรณีการแพร่ระบาดของโควิด -19 ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ อสม. เสม็ดใต้ เป็นอย่างมาก
เนื่องด้วยสภาพพื้นที่ประกอบกับ จำนวนครัวเรือนในชุมชนที่มีมากก ว่า 1 พันครัวเรือน แต่ด้วยการวางแผนที่รัดกุม รวมไปถึงการทำงานเชิงรุกที่มุ่ง เน้นตรวจสอบประชาชนที่เดินทางเข้ าพื้นที่แบบ 100 % โดยยึดหลักจะต้องผ่านการตรวจสุข ภาพ และแสดงใบรับรองแพทย์
พร้อมทั้งมีการติดตามบ้านเรือนที่ ต้อนรับประชาชนต่างถิ่นอย่างใกล้ ชิด ทำให้ที่ผ่านมามียอดติดเชื้อสะส มเพียง 21 ราย ถือเป็นผลงานของชาวฉะเชิงเทราทุ กคนที่ร่วมแรงร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19 กันอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และมาตรการเปิดเมืองที่ทยอยดำเนิ นการ
อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อกา รระบาดรอบ 2 ดังนั้นพวกเราจึงขอยืนยันว่า จะเป็นเครือข่ายเชิงรุกที่แข็งแ รง เพื่อให้พื้นที่นี้ปลอดการระบาด จากโควิด-19 ได้แบบ 100% อย่างแท้จริงตลอดไป
อสม. คือกองกำลังสำคัญในการป้องกัน โควิด-19 ของฉะเชิงเทรา
ระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
ระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวเสริมว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโร คติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทราที่ดู แล และเฝ้าระวังโรคโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง กองกำลังสำคัญที่ทำให้จังหวัดฉะ เชิงเทราสามารถควบคุม และยับยั้งไม่ให้วิกฤตการณ์ครั้ งนี้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง
ก็คือเหล่า อสม . ที่ประจำอยู่แต่ละหมู่บ้าน ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามา รถ ในการตรวจตรา เฝ้าระวัง ให้คำแนะนำผู้ที่มาจากต่างประเท ศหรือต่างถิ่น พร้อมทั้งกับทำรายงานสรุปทั้งหม ดเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้ทางจังหวัดสามารถติดตามควา มเคลื่อนไหวของสถานการณ์ในระดั บชุมชนได้อย่างใกล้ชิด
พร้อมออกมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยในสถานการณ์ปกติ อสม. ก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสุ ขภาวะอนามัยของคนในชุมชน คอยปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดูแลให้คำปรึกษา รวมไปถึงทำหน้าเป็นตัวกลางระหว่ างชาวบ้านและหน่วยงานของภาครัฐ
การที่ เอไอเอส ได้เข้ามาสนับสนุน การปฏิบัติงานของ อสม. ผ่านการพัฒนาแอปพลิเคชัน อสม . ออนไลน์ ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และช่ว ยยกระดับงานสาธารณสุขเป็นอย่างม าก เพราะการที่เรามีบุคลากรที่ขยัน ขันแข็ง ประกอบเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำ สมัย จะช่วยทำให้การปฏิบัติราบรื่นมา กยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณ บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล อสม. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการเฝ้าระวั ง ดูแล ฟื้นฟูรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างดีเยี่ยม และขอบคุณ เอไอเอส ที่สนับสนุนนวัตกรรมด้านสาธารณสุ ขที่ทำให้การทำงานสะดวก สบายมากยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ เอไอเอส ยังได้สนับสนุนห้องผู้ป่วยความดั นลบ (Negative Pressure Room) เป็นอุปกรณ์เสริมพิเศษ ที่ติดตั้งในห้องพักผู้ป่วยแยกโ รคที่มีการติดเชื้อแบบ Airborne เช่น โควิด-19 วัณโรค ซาร์ส อีโบล่า ไข้หวัดใหญ่ และหัดเยอรมัน
เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพ ทย์ และพยาบาล โรงพยาบาลพุทธโสธรให้สามารถปฏิบั ติงานได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th