ซิสโก้ (Cisco) เผย 5 แนวโน้มของเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจภายในปี 2563 โดยเทคโนโลยีจะยังคงโฟกัสอยู่ที่เรื่องของ AI/ML, AR/VR, Cyber security และการ UpSkills บุคลากรเป็นหลัก…
highlight
- ภายในปี 2566 จะมีอุปกรณ์ราว 49,000 ล้านเครื่อง เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และในทศวรรษหน้า จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่หลากหลาย ตั้งแต่ Virtual Reality และ Augmented Reality ไปจนถึงสตรีมมิ่ง 16K, AI, 5G, 10G, ควอนตัมคอมพิวติ้ง, ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและปรับเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น, ยานพาหนะไร้คนขับ และ IoT อัจฉริยะ
- พฤติกรรมการใช้บริการดิจิทัลที่เราไม่รู้ตัว “Digital Reflex” จะเป็นตัวกำหนดประสบการณ์ของผู้บริโภคแบรนด์นั้นในทันทีทันใด กล่าวคือถ้าหากแอพของแบรนด์หนึ่ง ๆ ให้ประสบการณ์ที่ไม่ดีพอ ผู้ใช้จะหันหลังให้กับแบรนด์นั้นในทันที ผู้บริโภคกว่า 49% จะหันไปหาแบรนด์คู่แข่ง หรือเตือนคนอื่น ๆ ไม่ให้ใช้บริการนั้น หรือแบรนด์นั้น ๆ ขณะที่กว่า 63% จะไม่เปิดโอกาสให้ธุรกิจเจ้าของแบรนด์ได้แก้ตัว หรือปรับปรุงการให้บริการ
- การค้นหาภัยคุกคามใหม่ (Threat Hunting) จะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น สำหรับแนวทางการรักษาความปลอดภัยอย่างรอบด้านขององค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยแบบครบวงจรไม่ว่าจะใช้งานอยู่ภายใน หรือภายนอกเครือข่าย โดยจะจำกัดสิทธิ์การใช้งานแก่ผู้ใช้ และจะอนุญาตเฉพาะ อุปกรณ์ และเวิร์กโหลดที่ผ่านการตรวจสอบ เฉพาะหลังจากที่มีการยืนยันความน่าเชื่อถือ และมีการป้องกันภัยคุกคามเป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
- จากผลสำรวจผู้บริหารฝ่ายไอที และผู้กำหนดกลยุทธ์เครือข่ายกว่า 2,000 คน ในรายงาน Cisco Global Networking Trends พบว่า มีเพียง 41% ที่มี SDN ในโดเมนเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งโดเมน และมีเพียง 4% เท่านั้นที่เชื่อว่าเครือข่ายของตนเองเป็นแบบ Intent-Based อย่างแท้จริง ขณะที่ 78% เชื่อว่าเครือข่ายของตนจะพัฒนาไปสู่เครือข่ายตามความต้องการของผู้ใช้ (intent-based) และเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยบริการ (service-driven) ภายใน 2 ปีข้างหน้า และ 35% เชื่อว่าเครือข่ายของตนจะเป็นแบบ Intent-Based อย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน
- บุคลากรไอทีขาดทักษะ ยังคงเป็นปัญหาท้าทายอันดับ 1 การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารส่วนงานไอที และธุรกิจ พบว่า 93% ประสบปัญหาช่องว่างด้านบุคลากรอย่างรุนแรงจนทำให้การปรับปรุงธุรกิจเกิดความล่าช้า โดย ตำแหน่งหน้าที่ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด วิทยาศาสตร์ข้อมูล และ AI ยังคงมีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีจากการสำรวจพบว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนธุรกิจมักจะจัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านธุรกิจให้แก่พนักงานฝ่ายไอที แทนที่จะว่าจ้างบุคลากรเพิ่มเติมหรือเอาต์ซอร์สงานให้บริษัทอื่น ทั้งนี้เพื่อรักษาองค์ความรู้ วัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กรเอาไว้
Cisco ชี้ 5 Trend แนวโน้ม สำคัญที่องค์กรยังต้องให้ความสำคัญ
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า ในตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นใช้งานสมาร์ทโฟนจนเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) ได้แทรกซึมเข้าสู่องค์กรธุรกิจ และการใช้งานภายในบ้าน
รวมถึงการใช้คลาวด์ แอพ และโซเชียลมีเดียที่พบเห็นได้ทั่วไปมากขึ้น ทำให้มีคำถามว่าภายในปีนี้เทรนด์ หรือแนวโน้ม ของเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไรภายในปี 2563 นี้ รวมไปถึงในอนาคตข้างหน้าล่ะจะเป็นอย่างไร? ล่าสุดทาง ซิสโก้ ได้ออกมาเผยถึงผลสำรวจที่เป็นข้อมูลคาดการณ์ ถึงแนวโน้ม
ที่องค์กรในปัจจุบันจะต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เช่น การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการเชื่อมต่อผ่านมือถือ การพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในด้านการใช้งาน AI/ML และการพัฒนาไปสู่สถาปัตยกรรมมัลติโดเมน จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า
เทรนด์ที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษสำหรับปี 2563 นี้? และอนาคต
กนกฤทธิ์ มิ่งบรรเจิดสุข ผู้จัดการด้านวิศวกรรมระบบของซิ
แต่ทั้งนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้วยเช่นกัน โดยแนวโน้ม ที่องค์กรต่าง ๆ ยังต้องให้ความสนใจ ได้แก่
การสร้างอินเทอร์เน็ตสำหรับอนาคต : ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ของศตวรรษที่ 21 ยังคงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ในปัจจุบันถึงจุดแตกหัก
และเราใกล้จะถึงขีดจำกัดของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่เราจะต้องพัฒนา “เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับอนาคต” (Internet for the Future) โดยภายในปี 2566 จะมีอุปกรณ์ราว 49,000 ล้านเครื่องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และในทศวรรษหน้า จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ตั้งแต่ Virtual Reality และ Augmented Reality ไปจนถึงสตรีมมิ่ง 16K, AI, 5G, 10G, ควอนตัมคอมพิวติ้ง, ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และปรับเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น, ยานพาหนะไร้คนขับ และ IoT อัจฉริยะ
นอกจากนี้ยังอาจมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เราคาดไม่ถึง ซึ่ง แอพพลิเคชั่นรุ่นใหม่เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความต้องการ และความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าที่โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่จะสามารถรองรับได้ ขณะที่เราก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่นี้
เราจำเป็นปรับเปลี่ยนแนวคิด และสร้างโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตขึ้นใหม่ โดยโครงสร้างพื้นฐานที่ว่านี้จะต้องเร็วกว่าเดิม ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งยังบริหารจัดการและรักษาความปลอดภัยได้อย่างง่ายดาย
เมื่อไม่นานมานี้ ซิสโก้ได้ประกาศแผนสำหรับการสร้างอินเทอร์เน็ตเพื่อรองรับนวัตกรรมดิจิทัลในทศวรรษหน้า โดยองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์ “อินเทอร์เน็ตสำหรับอนาคต“ (Internet for the Future) อยู่ที่การลงทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของซิลิคอน ออปติก และซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับแผนการในอนาคต
ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความภักดีต่อแอพพลิเคชั่น เทียบเท่าความภักดีต่อแบรนด์ : เมื่อพูดถึงธุรกิจในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้สูงมากที่คุณจะนึกถึงช่องทางดิจิทัลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับธุรกิจนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอพหรือเว็บไซต์ รวมไปถึงความสะดวกง่ายดาย และความพึงพอใจที่คุณได้รับผ่านช่องทางดังกล่าว
ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากรายงาน App Attention Index ของ AppDynamics ระบุว่า การใช้บริการดิจิทัลได้กลายเป็นพฤติกรรมของมนุษย์โดยที่เราไม่รู้ตัว โดยพฤติกรรมที่ว่านี้เรียกว่า “Digital Reflex“ ในอดีตผู้บริโภคมักต้องไตร่ตรอง และตัดสินใจที่จะใช้บริการดิจิทัลเพื่อทำงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่ปัจจุบัน ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 71% ยอมรับว่าบริการดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว นอกจากนี้ผลการศึกษาดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า ถ้าหากแอพของแบรนด์หนึ่ง ๆ ให้ประสบการณ์ที่ไม่ดีพอ ผู้ใช้จะหันหลังให้กับแบรนด์นั้นในทันที
ซึ่งในกรณีที่เกิดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ ผู้บริโภคกว่า 49% จะหันไปหาแบรนด์คู่แข่ง หรือเตือนคนอื่น ๆ ไม่ให้ใช้บริการนั้น หรือแบรนด์นั้น ๆ ขณะที่กว่า 63% จะไม่เปิดโอกาสให้ธุรกิจเจ้าของแบรนด์ได้แก้ตัว หรือปรับปรุงการให้บริการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายต่อแบรนด์อย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องใส่ใจต่อผู้บริโภคที่ไม่มีความอดทนที่มีมากขึ้น นอกเหนือไปจากประสบการณ์ดิจิทัลที่สะดวกรวดเร็วและดีเยี่ยม
ซึ่งเป็นสาเหตุให้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นในแบบเรียลไทม์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้สามารถระบุปัญหาที่แท้จริง และดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
การป้องกันภัยคุกคามด้วย Threat Hunting และ Zero Trust : อย่างทีทราบกันดีว่าทุกวันนี้ อาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่าภัยธรรมชาติถึง 3 เท่า ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นแบบตอบสนอง (Reactive) ซึ่งโดยมากแล้วจะดำเนินการแก้ไขเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วและส่งผลกระทบต่อระบบ โดยระบบรักษาความปลอดภัยที่ว่านี้ไม่เพียงพออีกต่อไป
ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ “Zero Trust” เพื่อก้าวให้ทันกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งแนวคิด Zero Trust แบบดั้งเดิม ที่กำหนดโดย Forrester อ้างอิงหลักการที่ว่าองค์กรต่าง ๆ ไม่ควรไว้วางใจอะไรเลยก็ตาม
ไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกเครือข่าย และจะให้สิทธิ์การใช้งานแก่ผู้ใช้ อุปกรณ์ และเวิร์กโหลดที่ผ่านการตรวจสอบ เฉพาะหลังจากที่มีการยืนยันความน่าเชื่อถือ และมีการป้องกันภัยคุกคามเป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น โดยทั้งหมดนี้จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้ แนวทางดังกล่าวอาจได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอีกในไม่ช้า
นอกจากนั้น การค้นหาภัยคุกคามใหม่ๆ หรือ Threat Hunting จะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นสำหรับแนวทางการรักษาความปลอดภัยอย่างรอบด้านขององค์กรต่าง ๆ ขณะที่แนวทางแบบเก่าตอบสนองต่อการแจ้งเตือนหลังจากที่ตรวจพบกิจกรรมที่อาจเป็นอันตราย แต่ Threat Hunting เป็นการตรวจหา
และวิเคราะห์ภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เป้าหมายของ Threat Hunting คือการค้นหามัลแวร์ และช่องโหว่ใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครรู้จัก แม้กระทั่งในกรณีที่ไม่มีการตรวจพบมัลแวร์ Threat Hunting ก็ยังสามารถระบุช่องโหว่ที่จำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายใหม่
ด้วยเหตุนี้ การค้นหาภัยคุกคามอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดจำนวนช่องทางการโจมตีโดยรวม โดยผู้เชี่ยวชาญที่ Cisco Talos ได้จัดทำหนังสืออี-บุ๊คที่มีชื่อว่า Hunting for Hidden Threats ซึ่งระบุถึงประโยชน์ของการทำ Threat Hunting รวมถึงองค์กรที่ควรจะเข้าร่วม และมีสิ่งใดบ้างที่ควรจะค้นหา ที่ไหน และเมื่อไร
นอกจากนั้น ยังเปรียบเทียบแนวทางนี้กับแนวทางการรักษาความปลอดภัยแบบอื่นๆ เช่น การตอบสนองต่อเหตุการณ์ การทดสอบการแทรกซึม หรือการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น
แนวโน้มเกี่ยวกับระบบเครือข่าย – การพัฒนาของระบบเครือข่ายตามความต้องการของผู้ใช้ : เครือข่ายมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นต่อธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และให้คุณประโยชน์ที่หลากหลายนอกเหนือจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ และสถานที่ตั้ง
โดยทุกวันนี้เครือข่ายมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ การปกป้องข้อมูล การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับทีมงานต่าง ๆ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แวดวงอุตสาหกรรมหันมาให้ความสนใจ
กับบทบาทของ “เครือข่ายที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์“ (Software-defined Network หรือ SDN) ซึ่งเป็นพัฒนาการขั้นถัดไปของเครือข่าย โดย SDN ให้ประโยชน์มากมาย เช่น การรวมศูนย์การจัดการ และการรักษาความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ที่ ซิสโก้ เราไม่ได้มองว่า SDN คือผลิตผลขั้นสุดท้าย หากแต่เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเพื่อมุ่งไปสู่ “ระบบเครือข่ายตามความต้องการของผู้ใช้“ (Intent-Based Networking หรือ IBN) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ AI และ Machine Learning
เพื่อคาดการณ์การดำเนินการ ตรวจหา และแก้ไขความผิดปกติโดยอัตโนมัติ หยุดยั้งภัยคุกคามด้านความปลอดภัย รวมถึงมีการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง SDN ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยรายงาน Cisco Global Networking Trends ที่สำรวจผู้บริหารฝ่ายไอที และผู้กำหนดกลยุทธ์เครือข่ายกว่า 2,000 คน
พบว่า มีเพียง 41% ที่มี SDN ในโดเมนเครือข่ายอย่างน้อยหนึ่งโดเมน และมีเพียง 4% เท่านั้นที่เชื่อว่าเครือข่ายของตนเองเป็นแบบ Intent-Based อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี เป็นที่ชัดเจนว่าผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเห็นพ้องต้องกันว่าเครือข่าย IBN จะมีบทบาทสำคัญในอนาคตอันใกล้
โดย 78% เชื่อว่าเครือข่ายของตนจะพัฒนาไปสู่เครือข่ายตามความต้องการของผู้ใช้ (intent-based) และเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยบริการ (service-driven) ภายใน 2 ปีข้างหน้า และ 35% เชื่อว่าเครือข่ายของตนจะเป็นแบบ Intent-Based อย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน
บุคลากรไอทีขาดทักษะด้านธุรกิจจนส่งผลกระทบรุนแรง : บุคลากรยังคงเป็นปัญหาท้าทายอันดับ 1 ที่ผู้บริหารไอทีต้องรับมือในปัจจุบัน ซึ่งซิสโก้ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารส่วนงานไอที และธุรกิจ 600 คน และพบว่า 93% ประสบปัญหาช่องว่างด้านบุคลากรอย่างรุนแรงจนทำให้การปรับปรุงธุรกิจเกิดความล่าช้า
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คือ ลักษณะของตำแหน่งหน้าที่ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เช่น วิทยาศาสตร์ข้อมูล และ AI ยังคงมีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของธุรกิจในปัจจุบัน ฝ่ายไอทีจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้รับคำสั่ง” ไปสู่การเป็นพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งนั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในแต่ละวันของพนักงานฝ่ายไอทีจากการตั้งค่าอุปกรณ์ไปสู่ “การแก้ไขปัญหาธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี”
จากแบบสำรวจของซิสโก้ พบว่าผู้บริหารส่วนงานไอที และธุรกิจเห็นพ้องต้องกันว่า ปัญหาสำคัญที่สุดที่ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีต้องเผชิญก็คือ การขาดความรู้ และไหวพริบทางด้านธุรกิจ และด้วยเหตุนี้ ภารกิจสำคัญสำหรับผู้บริหารส่วนงานไอทีและธุรกิจก็คือ การสรรหาพนักงานที่มีทักษะทั้งทางด้านเทคโนโลยี และธุรกิจ
ความต้องการที่ว่านี้จะได้รับการตอบสนองอย่างไรในอนาคต? จากการสำรวจพบว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนธุรกิจมักจะจัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านธุรกิจให้แก่พนักงานฝ่ายไอที แทนที่จะว่าจ้างบุคลากรเพิ่มเติมหรือเอาต์ซอร์สงานให้บริษัทอื่น ทั้งนี้เพื่อรักษาองค์ความรู้ วัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กรเอาไว้
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th