dtac ขอแก้ความเข้าใจผิด เรื่องไม่ลงทุนคลื่น ยืนยันมีคลื่นย่านความถี่ ต่ำ-กลาง-สูง เกินพอที่จะให้บริการ ทั้ง 4G และ 5G เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในปัจจุบัน ย้ำไม่เร่งลงทุนแบบไม่สอดคล้องกับทิศทางของตลาด เล็งรอ กสทช. จัดประมูลคลื่นที่ทั่วโลกใช้งาน 5G ก็พร้อมลงทุน…

highlight

  • ดีแทค มีเป้่าทำโครงข่ายที่เพิ่ม Coverage และ Capacity ในพื้นที่ใช้งานหนาแน่น เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมแก่ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของดีแทค โดยสถานีฐาน 98,000 สถานี รวม 2G, 3G, 4G โดย 4G ขยายไปแล้วถึง 49,000 สถานี และขยายบริการคลื่น 2300 MHz ที่ให้บริการบนคลื่นทีโอที เพิ่มอีก 3400 สถานี รวมเป็นบริการคลื่น 2300 MHz มากกว่า 20,000 สถานี ในปลายปี 63
  • เตรียมนำเทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า สำหรับบริการ 4G TDD ด้วยการเพิ่มความสามารถ (Capacity) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้งานรับชมวิดีโอ ความละเอียดสูง แบบ Full HD และการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ ให้แก่ลูกค้า โดยดีแทคจะเพิ่ม Massive MIMO ทั่วไทยในปีนี้อีกหลาย 1,000 จุด เพื่อรองรับการใช้งานดาต้าสำหรับ 4G
  • ดีแทค มองว่าการให้บริการ 5G จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากใช้คลื่น 3500 MHz เป็นคลื่นหลักในการให้บริการ 5G เนื่องจากในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ใช้คลื่น 3500 MHz เป็นหลักของ 5G และพัฒนาระบบนิเวศของบริการ 5G ใช้กัน หากในอนาคต กสทช. มีแผนจะจัดสรรคลื่นความถี่ 3500 MHz ซึ่งมีขนาด 300 MHz ให้ประมูล ดีแทคก็พร้อมที่จะเข้าประมูลคลื่นดังกล่าว เพราะเป็นทางทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ 5G ให้สอดคล้องกับทั่วโลก

dtac ลุยต่อ…พัฒนาสัญญาณ 4G เร็วกว่าเดิมเพื่อลูกค้า

สมัคร ลิมพา หัวหน้าสายงานพัฒนาโครงข่าย ดีแทค กล่าวว่า ก่อนการประมูลคลื่นดีแทค ได้เตรียมพร้อมสำหรับคลื่นความถี่ในย่านคลื่นความถี่ต่ำ และคลื่นความถี่กลาง ไม่ว่าจะเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำย่าน 900 MHz จำนวน 2x5 MHz คลื่น 700 MHz จำนวน 2x10 MHz

ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำที่ ดีแทคต้องการจะนำมาทำ 5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทยโดยเฉพาะภูมิภาค และเสริมการใช้งานในเมืองโดยเฉพาะย่านอาคารสูง และได้เตรียมคลื่นความถี่กลาง 1800 MHz จำนวน 2x5 MHz คลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 2x15 MHz และบริการคลื่น 2300 MHz บนคลื่น ทีโอที (TOT) จำนวน 60 MHz

 

ส่วนการทีดีแทคได้เข้าประมูลคลื่นล่าสุด และประมูลคลื่นมาเพียงจำนวนหนึ่ง จนเป็นที่สงสัยถึงความจริงจังในการให้บริการของดีแทนนั้น เราขอยืนยันว่าการเข้าประมูลคลื่นล่าสุดที่ดีแทคประมูลคลื่นมาเพียงจำนวนหนึ่ง นั่นเป็นเพราะ ดีแทคจำนวนคลื่นที่มีอยู่ครบเพียงพอต่อการให้บริการ

อีกทั้งเป้าหมายของ ดีแทค คือการทำโครงข่ายที่เพิ่ม Coverage และ Capacity ในพื้นที่ใช้งานหนาแน่น เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมแก่ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของดีแทค ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดไตรมาส 4 ปี 2562 ดีแทคมีสถานีฐาน 98,000 สถานี รวม 2G, 3G, 4G โดย 4G ขยายไปแล้วถึง 49,000 สถานี รองรับการใช้งานทั่วไทย

ดีแทคไม่หยุดขยายสถานีฐาน โดยลูกค้าต้องการใช้งานดาต้าเติบโตขึ้น ดีแทคจึงเร่งที่จะขยายบริการคลื่น 2300 MHz ที่ให้บริการบนคลื่นทีโอที เพิ่มอีก 3400 สถานี รวมเป็นบริการคลื่น 2300 MHz มากกว่า 20,000 สถานี ในปลายปีนี้

dtac

เพื่อตอบสนองการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกของดีแทคที่ต้องการจะยกระดับความเร็วให้แก่คลื่นของดีแทคบนพื้นฐานการใช้งานจริงที่ความเร็วจากเทคโนโลยี 4G ก็เพียงพอแล้ว แต่อย่างไรก็ดีแน่นอนว่าดีแทคไม่ได้หมายความว่าไม่สนใจในการให้บริการ 5G

เพราะการที่ดีแทคได้เข้าประมูลเพราะต้องการคลื่นย่านความถี่สูง (Millimeter Wave หรือ mmWave) 26 GHz ก็เพื่อนำมาให้บริการ 5G ดังนั้นในการประมูลดีแทคจึงประมูลคลื่นย่านความถี่สูงมา 200 MHz แต่ 5G ของดีแทคจะเป็นการให้บริการในพื้นที่นำร่อง หรือพื้นที่ต้องการใช้เทคโนโลยีบนคลื่นความถี่นี้เท่านั้นจริง ๆ

อย่างพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นพื้นที่เฉพาะจุดซึ่งดีแทควางเป้าที่เสร็จภายใน ไตรมาส 2 ของปี 2563 ขณะที่คลื่น 26 GHz และคลื่น 700 MHz ก็จะนำมาเสริมให้บริการ 4G และ 5G ในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งดีแทควางเป้าที่ติดตั้งให้เสร็จทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2563

dtac

ประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า

ดีแทค นำ เทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า สำหรับบริการ 4G TDD ด้วยการเพิ่มความสามารถ (Capacity) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้งานรับชมวิดีโอ ความละเอียดสูง แบบ Full HD และการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ ให้แก่ลูกค้า

dtac

โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นและบริเวณตึกสูงอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานข้อมูลในปริมาณมาก และยังมาพร้อมกับ Beamforming ด้วยการส่งสัญญาณแบบเลือกพื้นที่ที่กำหนดได้ตรงจุดเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานได้แม่นยำ

ซึ่งการนำ Massive MIMO มาใช้ นับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมไทย เพื่อรองรับการใช้งานยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในอนาคต โดยดีแทคจะเพิ่ม Massive MIMO ทั่วไทยในปีนี้อีกหลาย 1,000 จุด เพื่อรองรับการใช้งานดาต้าสำหรับ 4G

dtac

รวมทั้งเปิดให้บริการ 5G บนคลื่น 26 GHz ในพื้นที่นำร่องช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ไม่หยุดพัฒนาสัญญาณเพื่อลูกค้าทุกคน สำหรับการสร้างบริการ ดีแทคตรียมที่จะส่งมอบบริการ FWA (Fixed Wireless Access) บนคลื่น 26 GHz หรือ บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงประจำที่ ที่ความเร็ว 1Gbps ที่เหมาะกับที่พักอาศัย ชุมชน

โดยเฉพาะการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ WiFi ทำให้รองรับอุปกรณ์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ตได้มากกว่า ส่วนบริการ 5G บนคลื่น 700 MHz จะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทย สำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่รองรับคลื่น 700 MHz 5G เช่น Samsung Galaxy S20 Ultra 5G, Huawei Mate30 Pro 5G และแบรนด์อื่น ๆ ที่กำลังแนะนำสู่ตลาดในประเทศไทย

dtac
สมัคร ลิมพา หัวหน้าสายงานพัฒนาโครงข่าย ดีแทค

 เป็นคลื่นหลักเพื่อใช้มาตรฐาน 5G ที่ใช้กันทั่วโลก

อีกเหตุผลที่ ดีแทค ประมูลคลื่นความถี่มาเพียงจำนวนหนึ่งนั้น เป็นเพราะดีแทค มองว่าการให้บริการ 5G จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากใช้คลื่น 3500 MHz เป็นคลื่นหลักในการให้บริการ 5G เนื่องจากในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ใช้คลื่น 3500 MHz เป็นหลักของ 5G และพัฒนาระบบนิเวศของบริการ 5G ใช้กันทั่วโลก

จึงเป็นทางทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ 5G จากการทดสอบทั่วโลกที่ผ่านมา และความแพร่หลายในอุปกรณ์รองรับการใช้งาน ซึ่งหากในอนาคต กสทช. มีแผนจะจัดสรรคลื่นความถี่ 3500 MHz ซึ่งมีขนาด 300 MHz ให้ประมูล ดีแทคก็พร้อมที่จะเข้าประมูลคลื่นดังกล่าว เพราะเป็นทางทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ 5G ให้สอดคล้องกับทั่วโลก

โดยการใช้คลื่นความถี่ 3500 MHz จะทำให้การบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพ จากต้นทุนที่ต่ำกว่าเพราะมีจำนวนผู้ใช้ทั่วโลก ทั้งในด้านอุปกรณ์โครงข่าย (Network) และอุปกรณ์ผู้ใช้ (Device) ขณะที่คลื่นย่านความถี่กลางอื่น ๆ หรือ 2600 MHz ที่ไทยนำมาใช้

จะทำให้มีผู้ให้บริการเริ่มต้นน้อยกว่าโดยมีการใช้งาน 2 แห่ง คือ China Mobile ที่ประเทศจีน และ Sprint ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

dtac

สำหรับดีแทค เรามองว่า การสร้างเน็ตเวิร์ค 5G ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้คู่แข่งของดีแทคจะมีการประชาสัมพันธ์ว่ามี 5G พร้อมให้บริการ แต่ก็ต้องใช้เวลาในการติดตั้งอุปกรณ์อยู่ดี แถมยังต้องลงอุปกรณ์เสาสัญญาณอีกเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายของคู่แข่งเป็นเรื่องผิด เพราะเป้าหมายของคู่แข่งอาจไม่เหมือนเรา

อีกทั้งในตลาดปัจจุบันตัวเครื่องที่จะสามารถใช้คลื่น 5G ยังมีน้อยในตลาด และทีมีอยู่ก็ไม่ได้รองรับคลื่นบนย่านความถี่ที่เหมาะกับ 5G แบบทั้งหลายช่วงคลื่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการใช้ 5G เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์ความเร็ว 5G จริง ๆ

กล่าวคือหากผู้บริการให้บริการ 5G บน 26 GHz หรือ 700 MHz แต่เครื่องรับแต่ช่วงใดช่วงหนึ่ง ก็ไม่สามารถใช้ได้หากจุดที่ติดตั้งไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับช่วงคลื่นนั้น ๆ ก็ใช้ไม่ได้

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.