GARMIN เปิดใช้งาน GARMIN ECG APP ในไทยอย่างเป็นทางการ!

GARMIN

การ์มิน (GARMIN) เปิดใช้งาน GARMIN ECG APP ในไทยอย่างเป็นทางการ! พร้อมส่งแคมเปญ Give a Garmin คัดโมเดลพิเศษ ราคาสุดคุ้ม เป็นของขวัญปีใหม่…

GARMIN เปิดใช้งาน GARMIN ECG APP ในไทยอย่างเป็นทางการ!

การ์มิน เปิดใช้งาน ฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ ECG ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมปล่อยโปรโมชั่นสุดพิเศษในแคมเปญ “Give a Garmin” ที่รวมโมเดลยอดฮิต อาทิ สมาร์ทวอทช์รุ่น VENU 3 ได้แก่ รุ่น FORERUNNER 265, รุ่น FORERUNNER 965 และ รุ่น LILY 2 Classic

มาพร้อมกับส่วนลดสูงสุด 15% มุ่งชวนคนไทยมอบสุขภาพที่ดีเป็นของขวัญปีใหม่ด้วยสมาร์ทวอทช์จาก การ์มิน ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม-31 มกราคม 2025

ฟีเจอร์ การ์มิน อีซีจี แอป (Garmin ECG APP) นี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจจับสัญญาณของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว (AFib) ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยใช้เวลาเพียง 30 วินาทีในการบันทึกและประมวลผล พร้อมแสดงผลลัพธ์ทันทีบนสมาร์ทวอทช์ที่รองรับการใช้งาน

ทั้งยังสามารถซิงค์ข้อมูลไปยังแอปพลิเคชั่น การ์มิน คอนเนค บนสมาร์ทโฟนได้ด้วย การ์มิน สมาร์ทวอทช์ที่รองรับการใช้งาน ECG ในปัจจุบัน ได้แก่ รุ่น VENU 2 Plus, รุ่น VENU 3, รุ่น FENIX 7 Pro, รุ่น EPIX Pro, รุ่น QUATIX 7 Pro และรุ่น TACTIX 7 โดยจะต้องอัพเดทซอร์ฟแวร์เวอร์ชั่นล่าสุด

GARMIN

หรรษา อาภานุกูล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด การ์มิน ประเทศไทย กล่าวว่า ส่งท้ายปี 2567 นี้ เรามีความยินดีที่จะแจ้งว่า การ์มิน อีซีจี แอป พร้อมใช้งานในประเทศไทยแล้ว เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจมาโดยตลอดจึงได้พัฒนาฟีเจอร์นี้เรื่อยมาจนมั่นใจว่าฟีเจอร์นี้ได้มาตรฐานแล้ว

วันนี้เราจึงตัดสินใจเปิดตัว และจากการศึกษา เราพบว่า การ์มิน อีซีจี แอป จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงระยะเริ่มต้นของภาวะหัวใจทำงานผิดปกติ มักจะปรากฏอาการไม่บ่อยนัก ทำให้การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพียงครั้งเดียวอาจไม่พบ

แต่เมื่อ การ์มิน นำฟีเจอร์นี้มาอยู่ในสมาร์ทวอทช์ที่สวมใส่ติดตัวได้ตลอดเวลา จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และยังสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้แชร์ให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อประกอบการวินิจฉัยได้อีกด้วย การมี การ์มิน อีซีจี แอป จะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้การดูแลสุขภาพของคนไทยยกระดับขึ้นไปอีกขั้น

เมื่อเริ่มต้นใช้งานฟีเจอร์ อีซีจี ผู้ใช้จะต้องวางนิ้วโป้ง และนิ้วชี้บนแหวนโลหะรอบหน้าปัดนาฬิกา และอยู่นิ่งเป็นเวลา 30 วินาที เซ็นเซอร์บนสมาร์ทวอทช์จะทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ จากนั้นจะทำการวิเคราะห์และจำแนกผลลัพธ์ออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  • จังหวะไซนัส หมายถึง การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอปกติ เกิดขึ้นเมื่อหัวใจห้องบน และห้องล่างเต้นเป็นจังหวะเดียวกัน
  • ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว (AFib) หมายถึง หัวใจเต้นในรูปแบบที่ผิดปกติ หัวใจห้องบน และห้องล่างเต้นผิดจังหวะไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือดในหัวใจไม่เหมาะสม สามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจล้มเหลว และปัญหาอื่น ๆ ได้
  • อัตราการเต้นของหัวใจสูง หรือต่ำเกินไป หากอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 120 ครั้งต่อนาที (bpm) หรือต่ำกว่า 50 bpm ฟีเจอร์ อีซีจี จะไม่สามารถตรวจสอบหา AFib ได้ หากผู้ใช้ได้รับผลลัพธ์นี้ซ้ำๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ไม่สามารถสรุปผลได้ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีการเคลื่อนไหวมากเกินไป เซ็นเซอร์สัมผัสกับผิวหนังระหว่างการบันทึกไม่ดีพอ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถซิงค์ข้อมูลไปยัง การ์มิน คอนเนค เพื่อดูประวัติทั้งหมด รวมถึงสร้างเป็นรายงาน และส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์ PDF เพื่อแชร์กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพได้อีกด้วย

GARMIN

นอกจากฟีเจอร์ใหม่แล้ว การ์มิน ยังอยากให้คนไทยได้ลองใช้สมาร์ทวอทช์ที่มีฟีเจอร์ติดตามสุขภาพอย่างครบถ้วน เราจึงทำโปรโมชั่นสุดพิเศษในแคมเปญ “Give a Garmin” ที่รวมโมเดลยอดฮิต อาทิ สมาร์ทวอทช์รุ่น VENU 3 ได้แก่ รุ่น FORERUNNER 265, รุ่น FORERUNNER 965 และ รุ่น LILY 2 Classic

โดยมาพร้อมกับส่วนลดสูงสุด 15% ชวนคนไทยมอบสุขภาพที่ดีเป็นของขวัญปีใหม่ด้วยสมาร์ทวอทช์จาก การ์มิน ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม-31 มกราคม 2025

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาการใช้งานฟีเจอร์ อีซีจี และข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://gar.mn/DrxKgJPZJ หรือที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ การ์มิน ไทยแลนด์ และ อินสตาแกรม การ์มิน ไทยแลนด์

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

ITDay