AIS เปิดแคมเปญ “E-Waste ทิ้งรับพอยท์” ขอบคุณลูกค้าที่ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม

AIS

AIS เปิดแคมเปญใหม่ “เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” มอบสิทธิพิเศษสุดยิ่งใหญ่ขอบคุณลูกค้าที่ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้ารณรงค์ชวน “คนไทยไร้ E-Waste” พร้อมจับมือชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITPC) เพิ่มจุดรับทิ้งขยะขยะอิเล็กทรอนิกส์…

highlight

  • เอไอเอส ขอบคุณคนไทยที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญ “คนไทยไร้ E-Waste” พร้อมเดินหน้าสร้างการตระหนักรู้ และรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ ล่าสุดส่งแคมเปญใหม่ “เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” เพียงคัดแยกและนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ไปทิ้งที่เอไอเอสช็อปใกล้บ้านรับฟรีทันที AIS Points ชิ้นละ 5 คะแนน
  • เอไอเอส จับมือ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITPC) เพิ่มจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เพื่อรับทิ้งขยะ E-Waste จากกลุ่มสื่อมวลชน และประชาชนในบริเวณดังกล่าว โดยหวังสร้างสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และบอกต่อการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เพื่อนำขยะ E-Waste ทั้งหมดที่เข้าสู่โครงการจะถูกรวบรวม และนำไปกำจัดแบบถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfilled

AIS เปิดแคมเปญ “EWaste ทิ้งรับพอยท์” ขอบคุณลูกค้าที่ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม

AIS
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่นอกจากจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคทุกเจเนอเรชันแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะใช้ขีดความสามารถของบริษัท

และการพัฒนานวัตกรรมร่วมจัดการปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการดำเนินงานที่รัดกุมทั้งระบบ ตั้งแต่ภายในองค์กร คู่ค้า รวมไปถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนในระยะยาว

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญที่นอกจากจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแล้ว หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีก็จะเกิดการรั่วไหลของสารเคมีลงสู่แผ่นดิน และแหล่งน้ำอัน
จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

AIS

 

โดยจากรายงานของ The Global EWaste Monitor 2020 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nation University, UNU) คาดการณ์ว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมากถึ
53.6 ล้านเมตริกตัน ในปี 2019 และจะสูงขึ้นถึง 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030

โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดกว่า 24.9 ล้านเมตริกตัน ในปริมาณขยะทั้งหมดมีเพียงร้อยละ 17.4 ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 82.6 ไม่สามารถติดตามได้

AIS

“ที่ผ่านมา เอไอเอส จึงมุ่งมั่นในการลดผลกระทบที่เกิดจากของเสียในการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังจัดทำโครงการ คนไทยไร้ EWaste เพื่อเป็นแกนกลางอาสารับขยะอิเล็กทรอนิกส์จากคนไทย ไปกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfill ทั้งระบบ

ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบัน เอไอเอส สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากโครงข่าย และการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการรับจากคนไทยทั่วประเทศ ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ผ่านกระบวนการที่ได้รับมาตรฐานระดับโลกรวมทั้งสิ้นกว่า 710 ตัน”

ล่าสุด เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและขอบคุณกลุ่มลูกค้ากว่า 41 ล้านราย เราจึงเปิดตัวแคมเปญใหม่ เอไอเอส EWaste ทิ้งรับพอยท์ ที่ร่วมภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญไปกับเอไอเอส  เปลี่ยนทุกการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นคะแนน เอไอเอส พอยท์ ใน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์ ไปยังเอไอเอสช็อปใกล้บ้าน
  2. แจ้งกับพนักงานว่าต้องการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง
  3. นำขยะหย่อนลงถัง และสแกน QR Code เพื่อรับ เอไอเอส พอยท์ จากแท็บเล็ตของพนักงาน ซึ่งจะแสดงผลจำนวน เอไอเอส พอยท์ ที่ได้รับทันทีผ่าน Notification โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดรวม เอไอเอส พอยท์ ได้ที่ App มายส์ เอไอเอส

AIS

โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชิ้นมีค่า 5 คะแนน 1 หมายเลขสามารถรับ เอไอเอส พอยท์ ได้สูงสุด 10 คะแนนต่อวัน ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563 ทั้งนี้ยังเน้นให้ความรู้การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยตามหลักสากล ใน 3 ขั้นตอน คือ

  • ลบข้อมูล และภาพออกจากโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต  (Format and Factory Reset)
  • ถอดเมมโมรี่การ์ดออกออกก่อนทิ้งทุกครั้ง
  • หากโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต แบตเตอรี่มือถือ และพาวเวอร์แบงก์ มีลักษณะผิดปกติ เช่น บวม หรือ เปลี่ยนสี  ให้นำไปแช่น้ำทิ้งไว้ ประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อลดประจุพลังงาน และนำใส่ถุงหรือห่อกระดาษก่อนนำไปทิ้ง

AIS

ปัจจุบันโครงการ คนไทยไร้ EWaste มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศรวมกว่า 52 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่จะร่วมสร้างการตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีอยู่รวมกันกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นในทุกปี หากเรายังนิ่งเฉย ละเลย และไม่รีบนำขยะเหล่านั้นไปกำจัดอย่างถูกวิธี ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาอาจจะสายเกินแก้ ผมขอเป็นตัวแทนชาวเอไอเอส เชิญชวนทุกท่านมาร่วมปฏิบัติภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งสำคัญ

โดยการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต แบตเตอรี่มือถือ สายชาร์จ หูฟัง หรือพาวเวอร์แบงก์ มาร่วมกำจัดกับเราได้กว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ

AIS

จับมือ ITPC เพิ่มภาคีเครือข่าย

ล่าสุด เอไอเอส จับมือ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอทีพีซี (ITPC) นำถังรับทิ้งขยะ EWaste ไปตั้งที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เพื่อรับทิ้งขยะ EWaste จากกลุ่มสื่อมวลชนและประชาชนในบริเวณดังกล่าว

หวังขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการ คนไทยไร้ EWaste ร่วมรณรงค์สร้างการตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และบอกต่อการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยขยะ EWaste ทั้งหมดที่เข้าสู่โครงการจะถูกรวบรวม และนำไปกำจัดแบบถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfilled

AIS
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จับมือ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี ณัฐพล ศรีภิรมย์ ประธานชมรม และคณะกรรมการ ร่วมภาคีขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ได้ที่ https://ewastethailand.com

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th