เอดับบลิวเอส (AWS) เผยธุรกิจส่วนใหญ่เตรียม Transformation สู่ Cloud เพื่อความคล่องตัว และเสริมความแข็งแกร่
AWS เผยธุรกิจส่วนใหญ่จะย้ายสู่ Cloud เตรียมลงทุน 1.9 แสนล้านบาท 15 ปี ในไทย
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ ผู้ดำรงตำแหน่ง Country Manager ของ เอดับบลิวเอส ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทั
เพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจที่
แม้จะเผชิญกับความท้ าทายแต่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริ การ Cloud ในไทยพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของธนาคารโลก มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับการเติบโตที่ช้าลงในปี 2566 เนื่องจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก และตามรายงานของบริษัทวิจัย Gartner แม้จะเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ
แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์สาธารณะของประเทศไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 31.8% ในปี 2566 นี้ ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 20.7% ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการคลาวด์สาธารณะโดยผู้ใช้ในประเทศไทยคาดว่าจะสูงถึง 54.4 ล้านบาท ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 41.3 ล้านบาท ในปี 2565
เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2566 เอดับบลิวเอส เชื่อว่าระบบคลาวด์จะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น ในการช่วยให้องค์กรในอาเซียนและประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และ เอดับบลิวเอส มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราใช้ประโยชน์จาก Cloud ของเรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อสร้างนวัตกรรม ลดค่าใช้จ่าย แบะช่วยเปิดตลาดให้กับหลาย ๆ ธุรกิจของไทยไปสู่ตลาดระดับภูมิภาค และระดับโลก
นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีจะมุ่งสู่การใช้ประโชน์จาก Cloud
ในงาน เอดับบลิวเอส re:Invent 2022 ที่จัดขึ้นที่เมืองเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 55,000 คน และผู้เข้าร่วมทางออนไลน์ถึง 300,000 คน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยี และการใช้ประโยชน์จากคลาวด์
โดยภายในงาน Adam Selipsky, CEO ของ เอดับบลิวเอส ได้เน้นย้ำว่าข้อมูลเป็นรากฐานที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของทุกองค์กร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปริมาณข้อมูลจะมีมากขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นของยุคดิจิทัล
ทำให้การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และการเติบโตของข้อมูลนั้น เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับทุกองค์กร ภายในงาน re:Invent 2022 ได้มีการประกาศนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น
- Data and Analytics–Amazon Aurora : เป็นบริการที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของ เอดับบลิวเอส และมีลูกค้า เอดับบลิวเอส หลายแสนรายที่ใช้ Amazon Aurora ที่เป็นการรวมประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานของฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม ผสมผสานเข้ากับความเรียบง่าย และความคุ้มค่าของฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์ส มีประสิทธิภาพมากกว่า MYSQL ถึง 5 เท่า และประสิทธิภาพมากกว่า PostgreSQL ถึง 3 เท่า โดยมีค่าใช้จ่ายเพียงหนึ่งในสิบของฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์
- Data and Analytics–Redshift : สามารถนำข้อมูลที่หลากหลายจากแอปพลิเคชันมาจัดเก็บในที่ต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่เหมาะสมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลประเภทต่าง ๆ Redshift คือคลังข้อมูลขนาดเพตะไบต์ (petabyte) ที่มีการจัดการเต็มรูปแบบ โดยลูกค้า เอดับบลิวเอส หลายหมื่นรายเพื่อจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดเอกซะไบต์ (exabyte) มันให้ประสิทธิภาพด้านราคาที่ดีกว่าคลังข้อมูลคลาวด์อื่น ๆ ถึงห้าเท่า
- AI/ML–SageMaker : เทคโนโลยี Machine Learning ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และยังช่วยสร้างข้อมูลอัจฉริยะให้กับระบบ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เอดับบลิวเอส มีเทคโนโลยี ML และ AI ที่สมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบัน ลูกค้าหลายหมื่นรายใช้ SageMaker เพื่อฝึกโมเดลที่มีพารามิเตอร์หลายพันล้านตัว เพื่อทำการคาดการณ์มากกว่าล้านล้านรายการทุกเดือน ซึ่ง เอดับบลิวเอส ได้ประกาศความสามารถของ Amazon SageMaker ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 8 รายการ ในงาน re:Invent อีกด้วย
- Security : Amazon GuardDuty : ความปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานและบริการของ เอดับบลิวเอส ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงสุดตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ ธนาคาร และหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น โดยโครงสร้างพื้นฐานของ เอดับบลิวเอส ได้รับการตรวจสอบตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
- Security : Amazon Security Lake : เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอดับบลิวเอส ได้ประกาศเปิดตัว Amazon Security Lake แบบ preview ซึ่งเป็นบริการที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยในระดับเพตะไบต์ได้อัตโนมัติ ลูกค้าสามารถสร้างที่เก็บข้อมูลความปลอดภัยได้โดยอัตโนมัติด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง ทำให้มองเห็นข้อมูลความปลอดภัยทั้งหมดและสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของเวิร์กโหลด แอปพลิเคชัน และข้อมูล เอดับบลิวเอส Security Lake จะรวบรวมข้อมูลความปลอดภัยโดยอัตโนมัติจากโซลูชันของคู่ค้า เช่น Cisco, Crowdstrike และ Palo Alto Networks รวมถึงเครื่องมือรักษาความปลอดภัยมากกว่า 50 รายการที่รวมอยู่ใน security hub
ทิศทางธุรกิจของ เอดับบลิวเอส ในประเทศไทยในปี 2566
สำหรับทิศทางธุรกิจของ เอดับบลิวเอส ในประเทศไทยในปีนี้ จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าในธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต ที่คาดการณ์ว่ามีอัตราการเติบโตสูงในด้านการใช้คลาวด์ โดย เอดับบลิวเอส กำลังเพิ่มจำนวน Partner และทีมงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2564 เอดับบลิวเอส ได้แต่งตั้ง บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น ประเทศไทย จำกัด มหาชน (SiS) ดิสทริบิวเตอร์สินค้าไอทีชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งมีลูกค้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีมากกว่า 7,000 รายทั่วประเทศ ให้เป็นดิสทริบิวเตอร์อย่างเป็นทางการ
โดย SiS จะเป็นเป็นดิสทริบิวเตอร์ของ เอดับบลิวเอส รายแรกในประเทศไทยสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการเติบโตด้านดิจิทัลโดยการขยายฐานคู่ค้า และตัวแทนจำหน่าย เอดับบลิวเอส ในประเทศไทย โดยในปี 2566 นี้ iSS จะสนับสนุน reseller ในการสร้าง Solution Packages
สำหรับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (small to medium-sized business: SMB) รวมถึงเว็บไซต์ การสำรองข้อมูล การย้ายข้อมูล และ VDI และสนับสนุน reseller ในการขับเคลื่อนกิจกรรม เพื่อการเข้าสู่ตลาดผ่านการสัมมนาผ่านเว็บ และการมีส่วนร่วมกับลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่มลูกค้าใหม่ในกลุ่ม SMB
เตรียมลงทุน 1.9 แสนล้านบาท 15 ปี ในประเทศไทย
เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการของ เอดับบลิวเอส ในภูมิภาคนี้ได้อย่างรวดเร็ว เอดับบลิวเอส จึงเตรียมแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในประเทศไทย เอดับบลิวเอส Asia Pacific (Bangkok) Region ด้วยเงินลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 15 ปี
ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ เอดับบลิวเอส ในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านมา เอดับบลิวเอส ได้ประกาศแผนเตรียมเพิ่มบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์มายังประเทศไทยด้วย เอดับบลิวเอส Local Zone แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัว Local Zones ใหม่ 10 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น (APJ) เพื่อทำให้ลูกค้าของ เอดับบลิวเอส ในประเทศไทยสามารถมอบประสิทธิภาพความเร็วในหลักหน่วยของมิลลิวินาที (single-digit millisecond) แก่ผู้ใช้ปลายทางของพวกเขาได้
หลายส่วนยังคงเผชิญความท้าทายในด้านทักษะดิจิทัล
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีส่วนทำให้เกิดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลที่กว้างขึ้น ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขเพื่อปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในปี 2566 ทั้งภาครัฐ, ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้การฝึกอบรมทักษะมีความสำคัญมากกว่าที่เคย ภาครัฐ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วอาเซียนกำลังเผชิญกับการขาดแคลนผู้มีความสามารถ และทักษะด้านดิจิทัล
ซึ่ง เอดับบลิวเอส ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และยังเดินหน้าร่วมงานกับหลายภาคส่วนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีคลาวด์ โดยที่ผ่านมาได้เริ่มฝึกอบรมบุคลากรมาแล้วกว่า 700,000 คนทั่วอาเซียน ตั้งแต่ปี 2560
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th