BANPU เดินหน้าจัดกิจกรรม “Energy On Board” กระตุ้นนักศึกษาตระหนักเรื่องพลังงาน

บ้านปู (BANPU) เดินหน้าจัดกิจกรรม “Energy On Board” กระตุ้นนักศึกษา ออกแบบบอร์ดเกมสร้างความตระหนักเรื่องการจัดการพลังงานโลก…

highlight

  • บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ อัปเดตความคืบหน้ากิจกรรม Energy on Board by BANPU B-Sports Thailand เวทีที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมผ่านการประกวดออกแบบบอร์ดเกมในหัวข้อ Energy Sustainability หรือความยั่งยืนด้านพลังงาน โดยมีกลุ่มผู้บริหารและพนักงานของบ้านปูฯ เข้ามาช่วยให้คำแนะนำและสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ตลอดกิจกรรม

BANPU เดินหน้าจัดกิจกรรม “Energy On Board” กระตุ้นนักศึกษาตระหนักเรื่องพลังงาน

อุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ในปีนี้จะมีสถานการณ์โควิด19 เกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดความมุ่งมั่นของเราในการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ

โดยในปีนี้ บ้านปูฯ มีความตั้งใจที่จะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพลังงานให้กับคนรุ่นใหม่ จึงได้จัดการประกวดออกแบบบอร์ดเกมในหัวข้อ ความยั่งยืนด้านพลังงาน ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจของบ้านปูฯ ประกอบด้วย การมีราคาที่สมเหตุสมผล มีความต่อเนื่องในการส่งมอบพลังงาน

และต้องมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ นิสิตนักศึกษาที่ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมได้นำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้เป็นไอเดียตั้งต้นในการคิดและพัฒนาบอร์ดเกมจนออกมาเป็นเกมที่มีความน่าสนใจ ขอเชิญชวนให้ทุกคนติดตามกันต่อไปว่าผลงานจาก ความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาทีมใดจะได้รับรางวัลในปีนี้

ทั้งนี้ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และทีมงานบอร์ดเกมไนท์ (Board Game Night) หรือ BGN รายการแคสต์บอร์ดเกมที่มีผู้ชมสูงที่สุดในประเทศไทย ได้จัดโครงการ BANPU BSports Thailand มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ โดยในปีนี้หลังจากเปิดรับสมัครกิจกรรม Energy on Board ไปไม่นาน

BANPU
อุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (ซ้าย) และ วัฒนชัย ตรีเดชา นักออกแบบบอร์ดเกม และผู้ผลิตรายการ “บอร์ดเกมไนท์”  (ขวา)

โดยมีนิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศให้ความสนใจและฟอร์มทีมส่งผลงานการออกแบบบอร์ดเกมเข้าประกวดรวม 28 ทีม ปีนี้มีน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการจากหลากหลายสถาบัน หลายสาขาวิชาทั่วประเทศไทย ได้แก่ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

ไปจนถึงแพทยศาสตร์ สะท้อนให้เห็นว่าบอร์ดเกมกำลังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาเล่นเพื่อความสนุกสนาน หรือนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ออกแบบ หรือวางแผนงานต่าง ๆ โดยบ้านปูฯ ได้คัดเลือก 10 ทีม จาก มหาวิทยาลัย

BANPU

ที่ได้ผ่านเข้ารอบเพื่อเข้าร่วเวิร์ช็อปการพัฒนาและออกแบบบอร์ดเกม และเรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนด้านพลังงานจากทั้งหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลกิจการด้านพลังงานของประเทศ รวมไปถึงจากผู้บริหารและพนักงานบ้านปูฯ อย่างเข้มข้น

โดยเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา บ้านปูฯ ได้นำทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนด้านพลังงาน และยังได้รับเกียรติจาก ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน

มาให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย และแผนพลังงานไทย รวมถึงเทรนด์พลังงานในอนาคต อีกทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสมดุลในการผลิตพลังงานที่หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองกับความต้องการ

BANPU
ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน

ใช้พลังงานที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุกคนมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีเวิร์คช็อปสอนในเรื่องของการออกแบบบอร์ดเกมจากผู้เชี่ยวชาญในวงการอีกด้วย  

ทั้งหมดนี้ช่วยให้น้องๆ ทั้ง 10 ทีมได้เก็บเกี่ยวไอเดียนำกลับไปพัฒนาผลงานบอร์ดเกมอีกครั้งเพื่อให้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น สามารถสะท้อนเรื่องราวของความยั่งยืนด้านพลังงานได้อย่างน่าสนใจภายใต้กลไกเกมที่มีความเข้นข้นชวนติดตาม ก่อนกลับมานำเสนอให้คณะกรรมการจากบ้านปูฯ

BANPU

และ BGN ได้ทดลองเล่นบอร์ดเกมต้นแบบ (Prototype) ในรอบ PLAYTEST เมื่อวันที่ พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตัวอย่างเกมที่น่าสนใจประกอบด้วย เกม Recharge ที่ผู้เล่นจะได้รับบทบาทเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ต้องตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรมในเมือง

โดยผู้เล่นที่บริหารจัดการโรงไฟฟ้า และธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ เกม COBLOC ที่ผู้เล่นจะต้องสร้าง Smart City ในอุดมคติจากการจัดสรรทรัพยากรและการจัดการพลังงานอย่างสมดุล

BANPU

โดยเริ่มจากการสร้าง Bloc ผลิตพลังงานเพื่อเป็นฐานในการป้อนไฟฟ้าให้แก่ Bloc สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเมือง โดยผู้เล่นที่สามารถบริหารจัดการความต้องการพลังงานและคาร์บอนฟุตฟริ้นท์ได้ดีที่สุดจะเป็นผู้ชนะ หรืออีกหนึ่งตัวอย่างจาก เกม The Green Empire ที่ผู้เล่นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้า สาธารณูปโภค และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

เพื่อป้อนไฟฟ้าเข้าสู่เมือง โดยจะต้องบริหารจัดการเงินลงทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด และรักษาสมดุลระหว่างความต้องการไฟฟ้า ปริมาณการผลิตไฟฟ้า และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยในเกมได้แบ่งช่วงเวลาออกเป็นการดำเนินการระยะสั้นและระยะยาว

ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาจะมีโจทย์การใช้พลังงานที่แตกต่างกันไป ผู้เล่นทุกคนจะต้องร่วมมือกันทำให้ค่าความพึงพอใจของประชาชนถึงตามเป้าที่กำหนด พร้อมกับสร้างผลกำไรของตนให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นผู้ชนะ อย่างไรก็ตาม อีก เกมที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ก็มีการเล่าเรื่องราวและมีกลไกเกมที่น่าสนใจไม่แพ้กัน 

นิสิตนักศึกษาทั้ง 10 ทีมได้นำเสนอผลงานเพื่อให้คณะกรรมการทั้ง 10 ท่าน ประกอบด้วยคณะกรรมการจากบ้านปูฯ นำทีม โดย อุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโสสื่อสารองค์กร และคณะกรรมการผู้คร่ำหวอดในวงการออกแบบบอร์ดเกม นำโดย วัฒนชัย ตรีเดชา นักออกแบบบอร์ดเกม และผู้ผลิตรายการ บอร์ดเกมไนท์ 

ได้ทดลองเล่นจริง (PLAYTEST) เพื่อเก็บคะแนนสะสมก่อนที่จะไปสู่การแข่งขันรอบสุดท้ายเพื่อเฟ้นหาผู้ชนะในวันที่ ธันวาคม โดยกิจกรรมครั้งต่อไป ทางโครงการฯ จะพาน้องๆ ทั้ง 10 ทีมไปเยี่ยมชม Smart Campus ที่โรงเรียนนานาชาติรักบี้ จังหวัดชลบุรี เพื่อเรียนรู้การจัดการพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานของจริง

BANPU

ที่ทางบ้านปูฯ และโรงเรียนฯ ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น และร่วมการแข่งขันรอบตัดสินเพื่ค้นหาทีมผู้ชนะที่จะคว้าเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโอกาสที่จะได้เดินทางไปแสดงผลงานบอร์ดเกมในงานแฟร์ระดับโลกที่ประเทศไต้หวัน ผลการตัดสินจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องติดตามกันต่อไป 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.