บีดีไอ (BDI) เผย Big Data และ AI ไทย ยังโตไม่สุด มูลค่าตลาด 2 ปี แตะ 3.78 หมื่นล้านบาท ชี้กำลังคนด้าน Data Science-Data Engineering ยังขาดแคลนพร้อมแนะ 4 ทางลัดปั้นไทยสู่ Data Driven Nation…
highlight
- สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI เผยผลสำรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) ด้านอุตสาหกรรม Big Data และ AI ในประเทศไทยย้อนหลัง 2 ปี พบว่ามูลค่ารวมสูงถึง 37,814 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมครองแชมป์ส่
วนแบ่งตลาด (Market Share) สูงสุดได้แก่ Big Data Services คิดเป็นร้อยละ 52.7 ของมูลค่ารวมทั้งหมด สะท้อนถึงความต้องการบริการวิ เคราะห์ และจัดการข้อมูลเชิงลึ กที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านกำลังคน พบประเทศไทยมีบุคลากรในอุ ตสาหกรรม Big Data และ AI รวมกว่า 32,000 คน ชี้มูลค่าตลาดยังมีแนวโน้มเติ บโตเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี พร้อมแนะ 4 แนวทางส่งเสริมตลาด Big Data และ AI สู่การวางรากฐานที่แข็งแกร่ งสำหรับอนาคต ภายใต้แผนยุทธศาสตร์หลักระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568–2570) โดยมุ่งเน้นการผลักดันองค์ กร และหน่วยงานให้เร่ งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็ นแต้มต่อทางธุรกิจ เสริมศักยภาพการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทั ลอย่างเป็นรูปธรรม
BDI เผย Big Data และ AI ไทย ยังโตไม่สุดมูลค่าตลาดแตะ 3.78 หมื่นล้าน

รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ กล่าวว่า รายงานการสำรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) ด้าน อุตสาหกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อสะท้อนภาพรวม แนวโน้ม และทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ และรายย่อย เพื่อนำ Big Data และ AI ไปใช้ให้เกิดมูลค่าสูงสุด ทั้งในมิติการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือการต่อยอดโอกาสทางการตลาด โดยผลสำรวจจะเป็นแนวทางสำคัญในการให้ภาครัฐใช้กำหนดแนวนโยบาย
และมาตรการสนับสนุนที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเสริมสร้างความพร้อมการนำเทคโนโลยี AI และ Big Data ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคมดิจิทัลให้เติบโตในระยะยาว
การสำรวจครั้งนี้ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรม Big Data และ AI
กว่า 264 รายทั่วประเทศ มีการแบ่งหมวดหมู่ผู้ประกอบการออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การจำแนกตามประเภทธุรกิจหรือภารกิจ และจำแนกตามประเภทเทคโนโลยี ซึ่งจากผลสำรวจ พบว่า มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 37,814 ล้านบาท โดย Big Data Services ครองสัดส่วนสูงสุดที่ 19,923 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 52.7 ของมูลค่ารวมทั้งหมด สะท้อนถึงแนวโน้มธุรกิจในไทยให้ความสนใจและใช้บริการวิเคราะห์ข้อมูล ขณะที่รองลงมา คือ Big Data / AI Software มีมูลค่า 8,057 ล้านบาท ตามมาด้วย ด้าน AI Services มีมูลค่า 5,160 ล้านบาท และ Big Data / AI Hardware มีมูลค่า 4,674 ล้านบาท
นอกจากนี้ บีดีไอ ได้ขยายการสำรวจเบื้องต้นไปยังด้านแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม Big Data และ AI ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2567 พบว่า มีบุคลากรกว่า 32,000 คน ซึ่งแรงงานที่อยู่ในสายเทคโนโลยีสารสนเทศประมาณ 16,000 คน แบ่งออกเป็นพนักงานด้าน Big Data ประมาณ 14,500 คน
และพนักงานด้าน AI ประมาณ 700 คน ขณะที่ตำแหน่ง Big Data / AI / IT Project Manager มีเพียงประมาณ 800 คน สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างของบุคลากรระดับบริหารที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้อมูล และความต้องการทักษะด้าน Data Science และ Data Engineering ที่ยังขาดแคลน ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในระยะยาว
นอกจากนี้ยังได้มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม Big Data และ AI ในประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7-8 ต่อปี สะท้อนถึงความตื่นตัวของตลาด และศักยภาพของผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
อย่างไรก็ดี ยังประเมินว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ และโอกาสสำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรม Big Data และ AI โดยต้องเร่งปรับตัว และสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมให้เติบโตผ่าน 4 แนวทาง ดังต่อไปนี้
- การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล : ผ่านการขยายโครงสร้างฯ ที่แข็งแกร่ง อาทิ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ Data Center ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนาทรัพยากรบุคคล : โดยต้องเร่งเตรียมความพร้อมรับมือกับการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data และ AI ผ่านการจัดเตรียมหลักสูตรในการศึกษาและฝึกอบรม รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- การส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในภาคธุรกิจ : ซึ่งต้องผลักดันภาคธุรกิจในการใช้งาน Big Data และ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านการฝึกอบรม และให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อยกระดับให้ธุรกิจไทยปรับตัว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้
- การสร้างกรอบกฎหมาย และนโยบายที่ชัดเจน : เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และผู้ใช้บริการ ป้องกันปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูล พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา จะช่วยเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรม Big Data และ AI
“บีดีไอ ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนประเทศด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ มุ่งมั่นผลักดันการใช้ Big Data และ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระดับประเทศ พร้อมเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ Data-Driven Nation
โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ Big Data และ AI ผ่านการพัฒนาบุคลากร และกระตุ้นให้ภาคธุรกิจ-หน่วยงานต่าง ๆ นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย เพื่อปูทางสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีข้อมูลในภูมิภาคอาเซียน” รศ. ดร.ธีรณี กล่าว
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th