กทปส. สานต่องานวิจัย และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ชนบท

กทปส. ส่งมอบทุน ม.แม่ฟ้าหลวง สานต่องานวิจัย และพัฒนา e-School ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบท ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลฯ หวังเพิ่มขีดความสามารถการศึกษาไทยครอบคลุมทั่วประเทศ…

highlight

  • กทปส. เดินหน้าสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลในชนบท ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มอบทุนให้แก่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในโครงการพัฒนาต้นแบบ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขีดความสามารถ และลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนการสอนในพื้นที่ชนบท
  • ตั้งเป้าสานต่องานวิจัยต่าง ๆ และยกระดับการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสถานศึกษา (Near Real-time Captioning) พร้อมแผนขับเคลื่อน และขยายระบบให้แก่โรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ

กทปส. เดินหน้าสานต่อโครงการลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนการสอน ร่วมกับ ม.แม่ฟ้าหลวง

นิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้อำนวการกองทุนวิจัย และพัฒนาฯ กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้สอดรับกับการเดินหน้าสู่ Thailand 4.0 พื้นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนก็คือ การศึกษา ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่จะทำอย่างไรให้การเรียนการสอนสามารถทำได้ครอบคลุมมากที่สุด

ซึ่งเทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนา และขับเคลื่อนให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปยังโรงเรียน ครูอาจารย์ และนักเรียน นอกจากนี้จิ๊กซอร์ที่สำคัญที่จะเข้ามาเป็นศูนย์กลางเครือข่ายในการถ่ายทอดองค์ความรู้จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบการทำงานขึ้น

กทปส

ดังนั้น กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for the Public Interest) หรือ กทปส. (BTFP) เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการมอบทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสถานศึกษา (Near Real-time Captioning) ขึ้น

สำหรับโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับมอบทุนสนับสนุนจาก กทปส. ซึ่งได้พัฒนาต่อยอด และมีความเชื่อมโยงกับโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษา และพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    แต่ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และการเข้าสู่ยุคดิจิทัล  

ส่งผลให้การพัฒนาการเรียนการสอน และถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น การพัฒนาคอนเทนต์ต่าง ๆ เป็นรูปแบบดิจิทัลสามารถแบ่งปันในระบบดิจิทัลได้ครอบคลุมยิ่งขึ้นไปยังโรงเรียนต่างๆ ในชนบทที่ห่างไกลของประเทศได้เข้าถึงการเรียนการสอน และพัฒนาด้านการศึกษาไทย อีกทั้งยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย

กทปส

สร้างต้นแบบก่อนต่อยอดในการทำศูนย์ ICT ชุมชน

ผศ.นอ.ดร.ธงชัย  อยู่ญาติวงศ์ อาจารย์ประจำ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา (Utilization of Digital Technology to Enhance TeachingLearning and Administration in Rural Schools)

ซึ่งเป็นโครงการฯที่มีความเชื่อมโยงกับโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษา และพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 อันเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

โดยได้ดำเนินการร่วมกันเป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2550  โดยในโครงการดังกล่าวได้วางแนววัตถุประสงค์ ให้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Infrastructure) และสื่อดิจิทัล เพื่อการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนในพื้นที่ชนบท และได้เลือกใช้จังหวัดเชียงรายเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา และการให้บริการชุมชน  

กทปส

โดยจากผลการดำเนินงานของโครงการได้เป็นที่กล่าวถึง และได้รับการยอมรับในวงกว้าง จากวงการศึกษาทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาศักยภาพครูโดยการใช้ ICT เป็นเครื่องมือ การส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษ การพัฒนาระบบโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ และด้านอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก

อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการประสานความความร่วมมือเพื่อสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน และนอกจากนั้นการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและห้องศูนย์ทางไกล ยังเป็นต้นแบบในการจัดทำศูนย์ ICT ชุมชน (USO Net) ให้กับสำนักงาน กสทช. เพื่อขยายผลองค์ความรู้แก่ประชาชนในทุกเขตภูมิภาคของประเทศ

โดยจากผลการดำเนินโครงการดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโดยสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีแนวคิดที่จะขยายผลต่อยอดจากการจัดทำโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลฯ จึงได้จัดทำโครงการวิจัยพัฒนาขึ้น คือ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชนบทด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพโดยรวมของการบริหารโรงเรียนในชนบท

กทปส

โดยมีแนวคิดที่จะขยายผลต่อยอดการจัดทำต้นแบบการปฏิรูปการเรียนการสอน และการบริหารจัดการของโรงเรียนในชนบทด้วย Digital Technology (e-School) เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 และ Digital Society โดยการพัฒนาระบบ Digital Administration ให้เป็นต้นแบบในการนำระบบไอซีทีมาใช้ในงานบริหารจัดการงานหลักของโรงเรียน

ซึ่งประกอบด้วยงานสารบรรณงานการเงิน และบัญชี งานพัสดุ งานประวัติผลงานของบุคลากรทางการศึกษา งานดูแลช่วยเหลือนักเรียและกิจกรรมนักเรียน และการติดตามงานสำหรับผู้บริหาร ได้แก่ ระบบ e-Office ระบบ e-Money ระบบ e-Material ระบบ e-Folio ระบบ e-Student และระบบ e-Executive ตามลำดับ

รวมทั้งการส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Tools ในการเรียนการสอน และพัฒนาให้เกิดเป็นชุมชนดิจิทัลแห่งการเรียนรู้ (Digital Learning Community of  Practice) เพื่อเป็นต้นแบบในการยกระดับคุณภาพการบริหารและการเรียนการสอนของโรงเรียนในชนบท ให้กับโรงเรียนอื่น  ทั่วประเทศ

กทปส

วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ

วิจัยพัฒนาระบบ Digital Administration (e-School) สำหรับงานบริหารจัดการหลักของโรงเรียน ซึ่งมีระบบงานสารบรรณ (e-Office),ระบบงานการเงินและบัญชี (e-Money), ระบบงานพัสดุ (e-Material), ระบบงานประวัติ และผลงานบุคคล (e-Folio), ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกิจกรรมนักเรียน (e-Student) และระบบการติดตามงานสำหรับผู้บริหาร (e-Executive)

พัฒนาโรงเรียนต้นแบบ e-School ในการใช้ระบบ Digital Administration และการใช้ Digital Tool ในการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่โรงเรียนต่างๆ ที่สนใจทั่วประเทศ

ส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ และทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และพัฒนาให้เกิดเป็นชุมชนดิจิตอลแห่งการเรียนรู้ (Digital Learning Community of Practice)

กทปส

ปัจจุบันโครงการได้วิจัยพัฒนาระบบ Digital Administration หรือระบบ e-School ได้อย่างสมบรูณ์ตามวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดของโครงการ ประกอบด้วยระบบงานผู้ดูแลระบบ (System Administration),ระบบงานสารบรรณ (e-Office), ระบบงานการเงินและบัญชี (e-Money), ระบบงานพัสดุ (e-Material), ระบบงานประวัติ และผลงานบุคคล (e-Folio), ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกิจกรรมนักเรียน (e-Student) และระบบการติดตามงานสำหรับผู้บริหาร (e-Executive)

ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนในโครงการทั้ง 20 โรงเรียน ที่ได้มีการนำระบบไปใช้งานทุกโรงเรียน โดยเลือกใช้โมดูลที่ตนเองพร้อมใช้งานตามลำดับ และมีโรงเรียนอื่นๆนอกโครงการได้ขอนำระบบดังกล่าวไปใช้งานกว่า 100 โรงเรียนในหลายพื้นที่ของประเทศ

กทปส

ในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Digital Technology (Digital Tools) ทางโครงการได้นำ Digital Tools สมัยใหม่ที่เป็น Freeware ส่วนใหญ่มาอบรมการใช้งานให้กับคุณครู สำหรับการนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมการสอน การสอน การประเมินผล และการสื่อสารกับนักเรียน  

โดยโครงการดังกล่าวยังได้บรรลุเป้าหมายในการสร้างครูแกนนำจำนวนกว่า 100 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 20 โรงเรียน ในการพัฒนาทักษะการใช้ Digital Tools ใหม่ ๆ ที่เหมาะสม และเทคนิคการนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนทีมีสัมฤทธิผล โดยโครงการได้ส่งเสริมให้เกิดเป็น Digital Learning Community of Practice  จากครูแกนนำกลุ่มนี้ เพื่อการแบ่งปันความรู้ และการร่วนกันพัฒนาการเรียนการสอน  

ล่าสุดทางด้านครูในโครงการยังได้รับรางวัล Thailand 2019 Innovative Teacher Leadership Award เป็นรางวัลชนะเลิกระดับประเทศ และจะได้ไปนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติที่ประเทศออสเตรเลียในเร็ว ๆ นี้ อีกด้วย

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.