ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เดินหน้าสานต่อความร่วมมือ AIS ประเดิมใช้ 5G และ หุ่นยนต์ AI

การท่าอากาศยานอู่ตะเภา (U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport) เดินหน้าศึกษา และทดลองใช้เทคโนโลยี 5G และ หุ่นยนต์ AI ร่วมกับ เอไอเอส (AIS) ณ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 หวังสร้าง Smart Airport Terminal…

highlight

  • การท่าอากาศยานอู่ตะเภา และ เอไอเอส สานต่อความร่วมมือ การพัฒนา Smart Airport Terminal ในการนำเครือข่าย 5G มาศึกษา และทดลองทดสอบพัฒนาโซลูชันส์ที่เหมาะสมกับภาคธุรกิจการบิน และเสริมศักยภาพการบริหารจัดการภายในอาคารผู้โดยสาร และนำหุ่นยนต์อัจฉริยะ AI (Artificial Intelligence) มาช่วยในงานบริการผู้โดยสาร

การท่าอากาศยานอู่ตะเภา และ เอไอเอส สานต่อโครงการพัฒนา Smart Airport Terminal

การท่าอากาศยานอู่ตะเภา และ เอไอเอส เดินหน้า ทำบันทึกข้อตกลงสานต่อความร่วมมือ ขยายการพัฒนา Smart Airport Terminal ร่วมศึกษา และทดลองใช้เทคโนโลยี 5G และ หุ่นยนต์ AI เพื่อยกระดับการให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ณ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้เป็นอาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ 

AI

เพื่อเป็นโครงการต้นแบบในการร่วมพัฒนาอาคารผู้โดยสารในสนามบินที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะขยายขีดความสามารถในการให้บริการของท่าอากาศยาน พร้อมรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการขนส่ง ตามแผนเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0

โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นการสานต่อความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กร ที่ได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2561  ในครั้งนี้ จึงเป็นการขยายความร่วมมือไปอีกขั้น เพื่อเตรียมการรองรับเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง เพื่อรองรับการทำโซลูชั่นส์ Smart Airport Terminal ร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน

AI

และสร้างนวัตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัยล่าสุดให้กับภาคธุรกิจการบิน ซึ่งการขยายความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการขยายความร่วมมือในการนำเครือข่าย 5G มาศึกษา และทดลองทดสอบพัฒนาโซลูชันส์ที่เหมาะสมกับภาคธุรกิจการบิน และเสริมศักยภาพการบริหารจัดการภายในอาคารผู้โดยสาร และนำหุ่นยนต์อัจฉริยะ AI (Artificial Intelligence)

มาช่วยในงานบริการผู้โดยสาร สามารถให้ข้อมูลพื้นฐาน รวมทั้งช่วยนำลูกค้าไปยังจุดให้บริการต่างๆ ที่ต้องการ ในลักษณะของ Guide & Go และโต้ตอบกับผู้ใช้ได้แบบอินเทอร์แอคทีฟ มัลติมีเดีย จากที่เคยเปิดให้บริการดิจิทัลใน 2 ส่วนหลักไปแล้ว ได้แก่

  • แอปพลิเคชัน Thailand Smart Airport บริการข้อมูลด้านการบินและสนามบินหลากหลายในแอปฯ เดียว
  • เทคโนโลยีระบบวิเคราะห์และประมวลผลภาพวิดีโออัจฉริยะ ใช้เป็นระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคลและสิ่งของในพื้นที่อาคารสนามบิน, ตรวจจับวัตถุต้องสงสัย แจ้งเตือนกรณีมีวัตถุถูกวางทิ้งไว้เป็นเวลานานผิดปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัย และการบริหารจัดการท่าอากาศยานของกองทัพเรือไทย

AI

เปลี่ยนเพื่อสร้างขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ

พลเรือโท กฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญตลอดจนศักยภาพในทุกมิติของท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่สนามบินแห่งใหม่ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การท่าฯ

จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญ ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามายกระดับการให้บริการและการบริหารอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร เชื่อมโยงและสนับสนุนการเดินทาง การขนส่งทางอากาศ ให้เกิดความพร้อมสู่การเป็นสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ และส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งการเชื่อมโยงผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และเป็น Aviation Hub หลักของภูมิภาคอีกด้วย โดยที่ผ่านมา การท่าฯ จึงได้ร่วมมือกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือของ เอไอเอส

เพื่อให้บริการในพื้นที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 กระทั่งนำมาสู่การขยายความร่วมมือเพิ่มเติมในครั้งนี้ เพื่อต่อยอดการพัฒนาบนเทคโนโลยีใหม่อย่าง 5G ที่ก้าวหน้า และทันสมัยไปอีกขั้น

AI

ด้าน ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า วันนี้เอไอเอส ขอขอบพระคุณที่ได้รับความไว้วางใจจากการท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯ ให้เราได้ร่วมพัฒนาโซลูชันส์ Smart Airport Terminal มาตั้งแต่ปี 2561 ได้เปิดให้บริการดิจิทัลไปแล้ว 2 ระบบดังกล่าว

วันนี้เอไอเอสมีความพร้อมในการเป็นผู้ร่วมพัฒนาโซลูชัน Smart Airport Terminal ร่วมกับภาครัฐและพันธมิตร ด้วยศักยภาพความพร้อมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเครือข่าย 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงบุคลากรที่มีเชี่ยวชาญ ในอนาคตเมื่อ 5G มาถึง

“เราพร้อมรองรับการร่วมพัฒนา และต่อยอดดิจิทัลโซลูชันใหม่ๆ สำหรับธุรกิจสนามบิน โดยหวังว่าจะเป็นโครงการต้นแบบ 5G เพื่อภาคอุตสาหกรรมการบินต่อไป”

AI

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.