ปิดตำนาน!! “มังกรฟ้า” ทุ่ม 100 ล. ก้าวสู่บทบาทใหม่ “Blue Dragon Blue Ocean”

Blue Dragon Blue Ocean

ปิดตำนาน!! “มังกรฟ้า” ทุ่ม 100 ล. ก้าวสู่บทบาทใหม่ “บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน” (Blue Dragon Blue Ocean) ผู้ให้บริการจัดการระบบการขาย และระบบสร้างสัมพันธ์ลูกค้าด้วย “ข้อมูล” ประกาศพร้อมลุยตลาดผ่าน 3 โซลูชั่น ได้แก่ Blue Stat, Blue Dragon Eyes และ HBD…

ปิดตำนาน!! “มังกรฟ้า” ทุ่ม 100 ล. ก้าวสู่บทบาทใหม่ “Blue Dragon Blue Ocean” พร้อมส่งมอบ 3 โซลูชั่น ช่วยผู้ประกอบการ SME ใช้ “Data” เร่งเครื่องธุรกิจในยุคดิจิทัล

Blue Dragon Blue Ocean
พชรล์ เมสสิยาห์พร ผู้บริหาร บริษัท บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน จำกัด

พชรล์ เมสสิยาห์พร ผู้บริหาร บริษัท บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน จำกัด กล่าวว่า เมื่อ 6 ปีที่ผ่าน ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม ล็อตเตอรี่ ออนไลน์ภายใต้ชื่อ “มังกรฟ้า ล็อตเตอรี่ ออนไลน์” โดยมีฐานผู้ขายล็อตเตอรี่ประมาณ 6 หมื่นราย รวมถึงมีลูกค้าที่ซื้อล็อตเตอรี่ประมาณ 10 ล้านรายทั่วประเทศ

แต่จากสถาการณ์โรคระบาดโควิด 19 (Covid-19) ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา ที่มีการใช้มาตรการล็อคดาวน์ เพื่อจำกัดความเคลื่อนไหว และมีควบคุมที่เข้มงวดจากภาครัฐ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ทำให้ผู้ขาย และผู้ซื้อล็อตเตอรี่ บนแฟลตฟอร์ม มังกรฟ้า ล็อตเตอรี่ ออนไลน์ เริ่มประสบปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งแม้ว่า มังกรฟ้า ล็อตเตอรี่ ออนไลน์ จะไม่ได้ทำผิดกฏของภาครัฐแต่อย่างใด แต่เมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ บริษัท มังกรฟ้า ล็อตเตอรี่ จำกัด จึงตัดสินใตที่จะยุติการให้บริการระบบซื้อ-ขายลอตเตอรี่ออนไลน์ ไปในช่วงสิ้นปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งในระหว่างช่วงให้บริการทาง บริษัทฯ เองก็ได้มองหาทิศทางในการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ

เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า บริษัทฯ มีโปรแกรมเมอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านของการทำระบบไอที อยู่แล้ว ดังนั้นจึงได้เริ่มทำโปรเจกต์ที่คิดเอาไว้ตั้งแต่เริ่มไว้เมื่อ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ เนื่องจากเราเล็งเห็นถึงความท้าทายสำคัญของธุรกิจขนาดกลาง และเล็ก กำลังเผชิญ อยู่จากความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบัน

เล็งนำ 3 โซลูชั่น ช่วยแก้ปัญหาให้ SME ไทย

Blue Dragon Blue Ocean

บริษัทฯ ได้เดินหน้าสานต่อความตั้งใจด้วยการก่อตั้ง “บริษัท บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน” (Blue Dragon Blue Ocean) ที่ถือเป็นธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ โดยมีตั้งเป้าหมายที่จะสร้างพื้นที่ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ รวมถึงพัฒนาต่อยอดมาจากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น โดยราวางแผนที่จะเดินหน้าเปิดตัว 3 โซลูชั่น ที่เข้าไปช่วยตอบโจทย์ผู้ประกอบการได้ 

ได้แก่ โซลูชั่นด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ บลู สแตท (Blue Stat), แพลตฟอร์มด้านการจัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล หรือ บลู ดรากอน อาย(Blue Dragon Eyes) และ แพลตฟอร์มการส่งมอบของขวัญแบบ G-Commerce หรือ เอชบีดี(HBD)

โดยเริ่มโปรเจกต์การบริหารจัดการร้านค้า และการใช้ประโยชน์จากการฐานข้อมูลที่มี เพื่อทำให้การบริหารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่าง “บลู สแตท” (Blue Stat) ซึ่งโซลูชั่นจะเข้าไปช่วยผู้ประกอบการในเรื่องระบบการจัดการร้าน การบริการลูกค้า เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และสามารถบริการลูกค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

บริษัทได้ทำการศึกษาวิจัยมาแล้วว่า ทุกธุรกิจในประเทศไทยมีปัญหา เรื่องการ จัดการต้นทุน จัดการสินค้า แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าจะบริหารต้นทุนอย่างไร และธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถต่อยอดได้ สามารถประหยัดต้นทุนได้ จัดการเรื่องการเก็บเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

Blue Dragon Blue Ocean

โดย “บลู สแตท” เป็นโซลูชั่นที่รวมเอาระบบการขาย (Point of Sale : PoS), ระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM) และระบบบริหารห่วงโซ่อุปทานสำหรับธุรกิจ (Enterprise Resource Planning : ERP) เข้าไว้ด้วยกันไว้ที่เครื่อง POS ของ บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน

โดย “บลู สแตท” เหมาะสำหรับร้านโชห่วย ธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) ที่ต้องการนำระบบไอทีมาช่วยในการบริหารจัดการร้านค้า ร้านโชห่วย ข้างทางที่มีกว่า 6 ล้านร้านค้า ซึ่งสามารถทำให้ธุรกิจเกิดการเติบโตสร้างยอดขาย และเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเองได้อย่างแม่นยำมีประสิทธิภาพ

จุดแข็งของ บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน คือการที่เรามี “บุคลากร” ที่อยู่ในระบบเดิมอยู่แล้ว อย่าง คนขายลอตเตอรี่มังกรฟ้า ก็สามารถก้าวไปเป็น นักการตลาดออนไลน์ ได้ไม่ยาก บวกกับเป็นกลุ่มบุคลากที่มีความน่าเชื่อถือเป็นทุ่นเดิม เนื่องจากคนกลุ่มดังกล่าวคือกลุ่มคนขายลอตเตอรี่ออนไลน์ในหลักพันหลักหมื่นใบ

เพียงแต่ต้องนำคนเหล่านั้นมาฝึกอบรมทำความเข้าใจในส่วนของเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถไปอธิบาย และช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ ซึ่งหากสำเร็จก็จะทำให้ บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน กลายเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นที่มีเซลล์มากที่สุด และจะเป็นกลุ่มคนซึ่งช่วยให้เกิดการปฎิวัติการขายไปสู่รูปแบบใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการเพียงแค่

นำเอาเครื่อง POS ของเราไปตั้งโดยจะเป็นในรูปแบบให้ใช้ฟรี ไม่มีการคิดค่าเครื่องเหมือนผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ซึ่งในส่วนของการสร้างรายได้ก็จะเป็นใรูปแบบของการคิดเงินตามบิล โดยคิดค่าบริการบิลละ 1 บาท ซึ่งตัวเครื่องจะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลาย

ผู้ใช้สามารถ ตรวจสอบออเดอร์ เช็ควัตถุดิบหลังร้านมีระบบหน้าร้าน ระบบโปรโมชั่น ระบบสะสมแต้ม ระบบสะสมฐานลูกค้า และในอนาคตจะมีกล้องด้วย และใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ร้านค้าจะรู้ว่าลูกค้าชอบกินอะไร มีระบบแจ้งเตือนให้กับลูกค้าด้วย

แต่ต้องเรียนให้ทราบว่า บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน จะไม่ใช่เป็นผู้บริการโดยตรง แต่จะเป็นการให้บริการสนับสนุนให้แก่ตัวแทนของเราที่เป็นตัวแทนเข้าไปในนำเสนอให้แก่ผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งเรามั่นใจว่าจะช่วยสนับสนุนตัวแทนของเราได้เป็นอย่างดีเนื่องจากเรามีทีมซัพพอร์ตกว่า 50 คน และมีทีมพัฒนาอีกกว่า 100 คน

โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการสนใจเครื่อง POS และติดต่อผ่านตัวแทนของเรามาแล้วกว่า 500 ราย และบริษัทจะส่งให้ใช้ฟรี 1,000 เครื่อง ก่อนที่จะขยายเป็น 100,000 เครื่อง ภายในปี 2568

“แม้ดูเหมือนว่า เราได้ค่าบริการแพลตฟอร์ม ได้คืนทุนช้าแต่ยั่งยืน เนื่องจากเราเรื่องของการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ที่มีอยู่กว่า 60,000 ราย มากกว่า SME ควรจะมีเครื่องมือต่อสู้ในการดำเนินธุรกิจ ไม่อย่างนั้น SME ของไทยในปัจจุบันจะสู้นายทุนไม่ได้ นอกจากนี้ในทางอ้อมยังจะเป็นการช่วยให้ SME สามารถใช้ประโยชน์จาก Big data ทำให้สามารถต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้ดียิ่งขึ้น” พชรล์ กล่าว

มองตาก็รู้ใจ (ลูกค้า)

Blue Dragon Blue Ocean

ในส่วนของ “บลู ดรากอน อาย” หรือ “ตาเทพ” เป็นแพลตฟอร์ม บิลบอร์ดที่ติดร้านค้าที่พัฒนาต่อยอดจาก “บลู สแตท” โดย “บลู ดรากอน อาย” จะเป็นการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) เป็นเครื่องมือในการ จัดเก็บข้อมูล การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงเป็นเครื่องมือในการจัดการข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ระบบ

การแสดงผลด้านมัลติมีเดียได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าเพื่อให้ผู้ประกอบการหรือร้านค้ารายย่อยได้มีโอกาสได้เข้าถึงสื่อโฆษณาต่าง ๆ สามารถนำสินค้าขึ้นประชาสัมพันธ์บนบิลบอร์ดได้ในราคาเริ่มต้นที่ 1 บาทต่อ 1 วินาที รวมถึงช่วยให้ผู้ประกอบการที่สนใจที่จะมาร่วมลงทุนในธุรกิจสื่อโฆษณา

สามารถร่วมเป็น พันธมิตร เพื่อให้บริการบิลบอร์ดตามร้านค้า หรือ พื้นที่ส่วนบุคคลได้ รวมถีงยังสามารถแยกดูได้อย่างละเอียดว่ามีลูกค้าหญิง หรือ ชาย เข้าร้าน หรือดูสื่อประชาสัมพันธ์บนบิลบอร์ด ผ่านเทคโนโลยีการติดตามสายตา (Eye-Tracking) ลูกค้าที่มาใช้บริการสามารถใช้ AI ในการประเมินดูว่ามีรถ มีใครผ่านมา

เพื่อประเมินศักยภาพ ในการเห็นโฆษณาเราอยากเอามาปฎิวัติของสื่อ เพื่อจัดเก็บข้อมูล และเอาข้อมูลมาประมวลผลเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ นอกจากนี้ด้วยความสามารถในการทำงานร่วมกับ “บลู สแตท” ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำ “ข้อมูล” มาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะในการพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ต่อผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

และเพิ่มรายได้ให้กับร้านค้าผ่านเครื่อง POS ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) และจัดการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทาน (ERP) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ปัจจุบันบริษัทมีพันธมิตรที่พร้อมให้บริการบิลบอร์ดป้ายอัจฉริยะขนาดกลางประมาณ 50 ป้ายทั่วประเทศ อาทิ ที่พัทยา และ สระแก้ว เป็นต้น

โดยภายในปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะขยายบริการ “บลู ดรากอน อาย” หรือ “ตาเทพ” บนบิลบอร์ดให้ได้อย่างน้อย 1,000 ป้าย ขณะที่ในส่วนของตัวระบบปัจจุบันได้พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างขออนุญาตจากรัฐบาล แลพจัดการเรื่องระเรียบข้อบังคับที่ต้องพิจารณาต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นต้น

สำหรับแพลตฟอร์ม “เอชบีดี” หรือ แพลตฟอร์มการส่งมอบของขวัญ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯตั้งเป้าที่จะให้ “เอชบีดี” เป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการลงทะเบียนในรูปแบบใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตน

โดยแพลตฟอร์ม “เอชบีดี” จะเป็นตัวกลางในการส่งมอบของขวัญให้กับคนพิเศษที่มีความสำคัญกับเราทุกคน ผ่านตลาด G-Commerce ซึ่ง จะทำการเปิดตัว และเปิดใช้งาน อย่างเป็นทางการในต้นปี 2568

Blue Dragon Blue Ocean

บลูดรากอน บลูโอเชี่ยน เริ่มต้นจาก “บลู สแตท” มา “บลู ดรากอน อาย” และ “เอชบีดี” ในอนาคตจะกลายเป็น G-Commerce มาจาก gift, give, guard, green จะทดสอบ ในเดือนตุลาคมนี้ มีระบบการจ่ายบัตรเครดิต เราอยากจะสร้างแพลตฟอร์ม e-market place และมีการลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท และมีเป้าหมายแต่ละโปรเจ็คมีผู้ใช้งาน 1 ล้านรายใน 3 ปี เป็นอย่างน้อย” พชรล์ กล่าว

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

ITDay