การ์ทเนอร์ (Gartner) เปิด 6 เทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ที่ต้องจับตาในปี 2568 โดย GenAI ยังส่งผลกระทบต่อโปรแกรมด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ในหลายอุตสาหกรรม…
Gartner เปิด 6 เทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ต้องจับตาในปี 2568
การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยเทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่สำคัญในปี 2568 โดยเทรนด์เหล่านี้เป็นผลมาจากวิ วัฒนาการของ generative AI , การกระจายศูนย์ทำงานดิจิทัล , การพึ่งพากันในห่วงโซ่อุปทาน , การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ , การขาดบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสม และภูมิทัศน์ภัยคุกคามที่เปลี่ ยนแปลงตลอดเวลา
Alex Michaels นักวิเคราะห์อาวุโส ของ การ์ทเนอร์
Alex Michaels นักวิเคราะห์อาวุโส ของ การ์ ทเนอร์ กล่าวว่า ผู้นำด้านความปลอดภัย และการจั ดการความเสี่ยง ( Security and risk management หรือ SRM) กำลังเผชิญกับความท้ าทาย และโอกาสที่หลากหลายพร้อมกั นในปีนี้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเปลี่ ยนผ่าน และสร้างความยืดหยุ่นให้ เกิดขึ้นในองค์กร
ความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้ งสองด้านนี้ขององค์กรมีความสำคั ญมากกว่าแค่การสร้างนวัตกรรม แต่เพื่อให้มั่นใจว่านวั ตกรรมเหล่านั้นมีความปลอดภั ย และยั่งยืนในโลกดิจิทัลที่เปลี่ ยนแปลงรวดเร็ว
6 เทรนด์สำคัญที่ส่ งผลกระทบวงกว้างครอบคลุ มหลากหลายอุตสาหกรรม
เทรนด์ 1 : GenAI มีผลต่อการพั ฒนาโปรแกรมความปลอดภัยข้อมูล (GenAI Driving Data Security Programs)
ความพยายาม และงบประมาณส่วนใหญ่ ด้าน ความปลอดภัย มักมุ่งเน้นไปที่ การป้องกันข้อมูลที่มีโครงสร้าง ( Structured Data) เช่น ฐานข้อมูล อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ GenAI กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงกับการพั ฒนาโปรแกรมความปลอดภัยข้อมูล โดยเปลี่ยนไปเน้นปกป้องข้อมูลที่ ไม่มีโครงสร้าง ( Unstructured Data) มากขึ้น อาทิ ข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ
“หลายองค์กรปรับกลยุทธ์การลงทุ นไปอย่างสิ้นเชิง ส่งผลกระทบสำคัญต่อการฝึ กฝนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ( LLM) การนำข้อมูลไปใช้ และกระบวนการอนุมาน ท้ายที่สุดการเปลี่ยนแปลงครั้ งนี้ได้เน้นย้ำถึงลำดับความสำคั ญที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้นำจะต้องรับมือให้ได้เมื่ อต้องสื่อสารถึงผลกระทบของ GenAI ที่มีต่อโปรแกรมความปลอดภั ยของพวกเขา ” Michaels กล่าว
เทรนด์ 2 : การจัดการข้อมูลยืนยันตั วตนของเครื่องจัก ร (Managing Machine Identities)
การใช้งาน GenAI , บริการคลาวด์ , ระบบอัตโนมัติ และแนวทางปฏิบัติ DevOps ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการใช้บัญชี และข้ อมูลประจำตัวของเครื่องสำหรับอุ ปกรณ์และเวิร์กโหลดซอฟต์แวร์เป็ นไปอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากไม่ได้รับการควบคุม และจั ดการ ข้อมูลประจำของเครื่องเหล่านั้ นอาจกลายเป็นเป้าโจมตีขององค์กร
การ์ทเนอ ร์คาดการณ์ว่า ผู้บริหาร SRM กำลังได้รับแรงกดดัน เพื่ อนำแนวทาง Identity and Access Management (IAM) ที่แข็งแกร่งมาสร้างเป็นกลยุทธ์ ป้องกันการโจมตี แต่จะต้องเป็นความพยายามร่วมมื อกันทั่วทั้งองค์กร
จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำ IAM จำนวน 335 คนทั่วโลกของ การ์ทเนอร์ ช่วงเดือนสิงหาคม และตุลาคม 2567 พบว่ามีทีมงาน IAM เพียง 44% มีหน้าที่รับผิดชอบด้าน Machine Identities ให้กับองค์กร
เทรนด์ 3 : Tactical AI
ผู้นำ SRM กำลังเผชิญกับผลลัพธ์ที่ หลากหลายจาก การนำ AI ไปใช้ ทำให้เกิดการจัดลำดั บความสำคัญใหม่ของโครงการต่าง ๆ และมุ่งเน้นไปที่ยูสเคสการใช้ งานที่แคบลงที่สามารถวั ดผลกระทบได้โดยตรง การนำ AI ไปใช้เชิงกลยุทธ์มากขึ้นเหล่านี้ จะปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ และเครื่องมือ AI ให้สอดคล้องกับเกณฑ์วัดที่มีอยู่ และเพิ่มการมองเห็นมูลค่าที่แท้ จริงของการลงทุนด้าน AI
“ตอนนี้ผู้นำ SRM มีความรับผิดชอบชัดเจนในการรั กษาความปลอดภัยการใช้งาน AI จากบุคคลที่สาม ปกป้องแอปพลิเคชัน AI ขององค์กร และปรับปรุงความปลอดภั ยทางไซเบอร์ด้วย AI โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงเชิ งยุทธวิธีที่เป็นประโยชน์อย่ างชัดเจนมากขึ้น พวกเขาสามารถลดความเสี่ยงสำหรั บโปรแกรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ ของตนเอง และแสดงความก้าวหน้าได้ ง่ายขึ้น ” Michaels กล่าว
เทรนด์ 4 : เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ งานเทคโนโลยีความปลอดภั ยทางไซเบอร์ให้เหมาะสม (Cybersecurity Technology Optimization)
จากการสำรวจองค์กรขนาดใหญ่ 162 แห่ง ของ การ์ทเนอร์ ช่วงเดือนสิงหาคมและตุลาคม ปี 2567 พบว่าองค์กรใช้เครื่องมื อความปลอดภัยทางไซเบอร์เฉลี่ย 45 เครื่องมือ ด้วยจำนวนผู้ขายมากกว่า 3,000 ราย ในตลาดความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้ผู้นำ SRM จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพชุ ดเครื่องมือความปลอดภัย
ให้ เหมาะสม เพื่อสร้างโปรแกรมรั กษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิ ภาพ และมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การ์ทเนอร์ แนะนำให้องค์กรมุ่ งสร้างความสมดุลระหว่างฝ่ายจั ดซื้อ ฝ่ายสถาปนิก และฝ่ายวิศวกรด้านความปลอดภัย รวมถึงพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อรักษาแนวทางความปลอดภัยที่ เหมาะสม
เ พื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ ผู้บริ หารควรรวม และตรวจสอบการควบคุ มความปลอดภัยหลัก และมุ่งเน้ นไปที่สถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่ มความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ผ่านการสร้างแบบจำลองภัยคุ กคาม และใช้เป็นปัจจัยขับเคลื่ อนเทคโนโลยีขององค์กร เช่น การนำ AI มาใช้ ที่สามารถใช้ได้ในการประเมิ นความต้องการขั้นสูง
เทรนด์ 5 : เพิ่มคุณค่ากับโปรแกรมการจั ดการด้านพฤติกรรม และวั ฒนธรรมความปลอดภัย (Extending Security Behavior and Culture Program Value)
โปรแกรมการจัดการด้านพฤติ กรรม และวัฒนธรรมความปลอดภัย หรือ SBCPs ขององค์กรส่วนใหญ่ได้มาถึงจุ ดเปลี่ยนสำคัญ โดยผู้บริหาร SRM ที่มีประสิทธิภาพจะตระหนักถึงคุ ณค่าที่โปรแกรมเหล่านี้ สามารถนำมาช่วยปรับปรุงและเพิ่ มประสิทธิภาพด้านความปลอดภั ยทางไซเบอร์ให้กับพวกเขา
การ์ทเนอร์คาดว่า GenAI เป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่ อนการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุ ดในโปรแกรมเหล่านี้ โดยองค์กรที่รวมเทคโนโลยีนี้เข้ ากับสถาปัตยกรรมที่อิงกั บแพลตฟอร์มแบบบูรณาการในโปรแกรม SBCPs จะเผชิญกับเหตุการณ์ด้ านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกิ ดจากพนักงานน้อยลง 40% ภายในปี 2569
เทรนด์นี้กำลังได้รับความนิ ยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายองค์กรตระหนั กมากขึ้นว่าพฤติกรรมทั้งที่ดี และไม่ดีของมนุษย์เป็นองค์ ประกอบสำคัญของความปลอดภั ยทางไซเบอร์ ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมที่มุ่งเน้นด้านการสร้ างวัฒนธรรมและพฤติกรรมจึ งกลายเป็นแนวทางปฏิบัติสำคั ญในการแก้ไขความเข้าใจ
และเสริ มสร้างความเป็นเจ้าของความเสี่ ยงทางไซเบอร์ในระดับมนุษย์ อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ได้สะท้ อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ไปสู่การฝังความปลอดภัยเข้ าไปในวัฒนธรรมองค์กร
เทรนด์ 6 : มุ่งแก้ไขปัญหาภาวะหมดไฟทำงาน ( Burn Out) ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
การ์ทเนอร์ชี้ว่าความ Burn Out ของผู้บริหาร SRM และทีมรักษาความปลอดภัยกลายเป็ นข้อกังวลสำคัญสำหรับอุ ตสาหกรรมที่ได้รั บผลกระทบจากการขาดแคลนทั กษะในเชิงระบบอยู่ โดยความเครียดที่แพร่กระจายนี้ มาจากความต้องการที่ไม่หยุดนิ่ ง
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรั กษาความปลอดภัยขององค์กรที่ซั บซ้อนสูงในสภาพแวดล้อมที่เต็ มไปด้วยภัยคุกคาม กฎระเบียบ และธุรกิจที่ปรับเปลี่ ยนตลอดเวลา แต่ผู้บริหาร และทีมงานกลับถู กจำกัดทั้งอำนาจการสั่งการ การสนับสนุนจากผู้บริหาร และทรั พยากร
“ภาวะ Burn Out ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และผลกระทบต่อองค์กรต้องได้รั บการรับรู้และเร่งแก้ไขเพื่อให้ มั่นใจในประสิทธิ ภาพของโปรแกรมความปลอดภั ยทางไซเบอร์ ผู้บริหาร SRM ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไม่เพี ยงแต่จัดลำดับความสำคัญ และจั ดการความเครียดของตนเองได้เท่ านั้น แต่ยังต้องดูแลทีมงานเพื่อปลู กฝังความเป็นอยู่ที่ดีทั่วทั้ งทีม และเพิ่มความยืดหยุ่ นในการทำงานส่วนบุคคลได้อย่างชั ดเจน “
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th