ดีป้า (depa) ร่วมกับ สยามเทค เปิดพื้นที่ “I AM Digital Studio and Cloud-Learning Space” ตั้งเป้าพัฒนา ทักษะดิจิทัล (Digital skills) ในอาชีวศึกษา และบุคคลทั่วไป ป้อนตลาดแรงงาน…
highlight
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) จับมือ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เปิดตัว “ศูนย์พัฒนาทักษะดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนอาชีวศึกษา และผู้ประกอบการ” ( I AM Digital Studio and Cloud – Learning Space) มุ่งยกระดับสถาบันอาชีวะให้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล 3 ด้าน คือ ด้าน Data Science, ด้านการประยุกต์เทคโนโลยี Co-Bot (Collaborative Robot) นวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะ และ ด้านการพัฒนา Digital Media เป็นการพัฒนากำลังคน และบุคลากรด้านดิจิทัล
- ตั้งเป้าปรับ reskilling หรือยกระดับ upskilling ทักษะดิจิทัลให้กับนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน พร้อมจัดเสวนาเติมเต็มความรู้เรื่อง “แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อยกระดับการเรียนอาชีวศึกษา” รองรับยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งในภาคผลิตและบริการ
depa ร่วมกับ สยามเทค เปิดพื้นที่ “I AM Digital Studio and Cloud–Learning Space“
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ยุคสมัยที่ปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้ตลากแรงงานมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลมากขึ้น ในทุกภาคส่วน แม้ง่าในภาคอุดมศึกษาจะเริ่มีหลักสูตรเพิ่มมากขึ้น แต่การพัฒนาแรงงงานที่มีทักษะดิจิทัลที่ครอบคลุม
นั้นไม่ใช่เรื่องของแค่หน่วยงาน หรือสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น แต่หมายความรวมไปถึงทุกส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง ไม่เว้นแต่ในภาคของอาชีวศึกษาที่วันนี้คนรุ่นใหม่ที่เลือกเรียนสายอาชีพ หรืออาชีวศึกษา นั้นก็ต้องมีความรู้คามเข้าในเรื่องของดิจิทัลด้วยเช่นกัน
ดังนั้นพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับกับความต้องการแรงงานของภาคธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ ทั้งนี้ ดีป้า ตระหนักถึงความจำเป็นในการยกระดับทักษะดิจิทัลให้กับแรงงานเป็นอย่างดี จึงมีโครงการสนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษา ได้ยกระดับการเรียนการสอนของนักเรียนอาชีวศึกษา
ให้มีทักษะดิจิทัลเพิ่มขึ้น ด้วยการส่งเสริม และสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกทักษะ และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งการลงทุนแต่ด้าน Hardware อย่างเดียวคงไม่สามารถยกระดับการเรียนการสอนของสถาบันอาชีวศึกษาได้
ดังนั้น ดีป้า จึงได้สนับสนุนให้วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม นำเอาหลักสูตร จากเจ้าของเทคโนโลยี เข้ามาประยุกต์ใช้กับนักเรียน และนักศึกษา โดยศูนย์ดังกล่าว จะสามารถเป็นต้นแบบศูนย์ฯ การเรียนรู้ ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอื่น สามารถใช้เป็นตัวอย่างในการยกระดับการสอนอาชีวศึกษา ให้มีความทันสมัย
ทำให้นักเรียนจะไม่เพียงเรียนรู้ภาคทฤษฎีเท่านั้น แต่สามารถนำเอาความรู้ ไปใช้แก้ปัญหา หรือนำความรู้ที่ได้ไปสร้างธุรกิจด้านนวัตกรรมดิจิทัลในอนาคตได้
ด้าน รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) กล่าวว่า ตามที่สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) องค์กรที่จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระดับโลก รายงานว่า อีก 5 ปีข้างหน้า 50 % ของคนทำงานทั้งโลกจะต้องมีทักษะใหม่ภายในปี 2568 จะต้อง reskill
โดยมีทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ และการแก้ปัญหาอย่างเข้มข้นเป็นระบบ จึงสามารถที่จะทำงานต่อไปได้ และนี่คือความท้าทายในยุค Disrupt Technology แล้วด้วยพฤติกรรมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงก้าวสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ และดิจิทัลเทรนด์ 2021 ยิ่งล้ำไปกว่าเดิม
สยามเทค และ ดีป้าจึงร่วมกันสร้างพื้นที่อิสระในรูปแบบที่ไมมีข้อจำกัด ผ่านการค้นคว้าจากห้องปฏิบัติการ การเรียนรู้บนพื้นที่ Cloud ผ่าน Studio Digital ให้เป็นพื้ที่ในการเรียนรู้ในรูปแบบ System Base Learning (SBL) โดยนำรูปแบบ Flip Classroom มาใช้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้
โดยจะเริ่มต้นในปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะได้นำรายวิชาที่เปิดสอนชั้นปีสุดท้ายทั้งระดับ ปวช. และ ปวส. ในทุกสาขา คือ วิชาโครงการ เพื่อส่งเสริมพัฒนานักศึกษาอาชีวศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาแนวความคิดของนักศึกษาทักษะความคิดแก้ปัญหาในวิชาโครงการดังกล่าว ได้ฝึกฝนเรียนรู้ และแยก Digital Skill ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
Digital Automation Machine Skill, Digital AI and ML Skill และ Digital Animation Multimedia Skill พร้อมกับออกแบบพื้นที่ให้นักเรียนสามารถถกเถียง แสดงความคิดเห็น ทำงานกลุ่ม ทำโจทย์ เล่นเกม ฯลฯ ฯลฯ ภายใต้บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และพร้อมพรั่งด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย
ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในโครงการศูนย์พัฒนาทักษะดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนอาชีวศึกษา และผู้ประกอบการ SME (I AM Digital Studio and Cloud-Learning Space) ในการยกระดับการสอนอาชีวศึกษาให้ทันสมัย และปรับเข้าสู่ยุคของดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
โดยในแต่ละด้านการเรียนรู้ทั้งหมดมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแล และให้การสนับสนุนด้านความรู้ และเทคโนโลยีจาก RoboDK Thailand และ บริษัท Robocloud Co.,Ltd. สนับสนุนด้านโปรแกรม RoboDK, บริษัท Marukamachinery (Thailand) Co.,Ltd. สนับสนุนความรู้ และเทคโนโลยี Co–Bot
ของ Universal Robot นอกจากนี้ การสนับสนุนด้านความรู้การใช้แผนการตลาดและธุรกิจ Digital Literacy จาก บริษัท Z.com ภายใต้โครงการ I AM Digital Studio and Cloud–Learning Space
ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการ (กลุ่มสังคมและกำลังคนดิจิทัล) ของ ดีป้า ได้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทักษะที่นักเรียนจะได้รับการพัฒนาว่า จะต้องทำให้นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะจากศูนย์ที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ อยู่ในระดับเดียวกับมาตรฐานสากล
เพื่อให้นักเรียน และนักศึกษา ไม่เพียงแต่จะเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานในประเทศเท่านั้น แต่จะต้องได้รับการยอมรับจากนักลงทุนต่างประเทศด้วย โครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการทำให้นักเรียนอาชีวศึกษา สามารถยกระดับทักษะด้านดิจิทัล ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดขึ้นภายในศูนย์ “I AM Digital Studio and Cloud–Learning Space“
“ซึ่งว่าเราสามารถพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลให้สามารถจัดการข้อมูล และมีโอกาสได้การทำงานกับเครื่องมือมากขึ้น ก็จะสามารถช่วยเพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัลในกลุ่มอาชีวศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจ ป้อนสู่ตลาดได้มากขึ้น“
“ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หรือ สยามเทค สามารถรองรับการสอนในกลุ่มอาชีวศึกษาราว 300 คนต่อปี แต่เมื่อมีหลักสูตรนี้ก็จะสามารถผลิตนักศึกษาเพิ่มได้มากขึน อย่างไรก็ดีปัจจุบันหลักสูตรดังกล่าวจะเริ่มในกลุ่มนักศึกษาก่อน โดยในอนาคตเราจะเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้กับบุคคลทั่วไป” รศ.ดร.จอมพงศ์ กล่าวเสริม
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th