ดีพร้อม (DIPROM) ปรับสินค้าของฝากเตรียมรองรับ “รีโอเพ่นนิ่ง” การท่องเที่ยว หวังกระตุ้นตัวเลขมูลค่าหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภาคเหนือปี 64…
highlight
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เดินหน้า “โครงการพัฒนาของฝากของที่ระลึ
กเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ ยวที่มีศักยภาพในพื้นที่“ ขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าชุ มชนประเภทของฝากของที่ระลึก รองรับการท่องเที่ยวในอนาคต โดยการฝึกทักษะความเข้าใจในผลิ ตภัณฑ์ของตนเอง การเข้าถึงความต้องการของลูกค้า การสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภั ณฑ์ ฯลฯ - นำร่องในพื้นที่จังหวัดชัยนาท และขยายผลต่อเนื่องที่จังหวัดสุ
โขทัย คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ จากการจำหน่ายสินค้าของฝากในพื้ นที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ตลอดจนมีเป้าหมายที่ จะขยายผลโครงการฯ ครอบคุลมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภายในปี 2564 ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้จากสิ นค้าของฝากต่อปีได้ถึง 50 ล้านบาท จะก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย การซื้อของที่ระลึกของนักท่ องเที่ยว โดยจะมีมูลค่าหมุนเวี ยนทางเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนื อตอนล่างกว่า 15,000 ล้านบาท
DIPROM ปรับสินค้าของฝากเตรียมรองรับ “รีโอเพ่นนิ่ง” การท่องเที่ยว

ณัฐพล รังสิตพล อธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อม เริ่มขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าชุมชนประเภทของฝากของที่ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่กำลังจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งผ่าน “โครงการพัฒนาของฝากของที่ระลึกเพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในพื้นที่“
โดยการฝึกทักษะการเข้าใจในผลิตภัณฑ์ของตนเอง การเข้าถึงความต้องการของลูกค้า การเรียนรู้กระบวนการออกแบบเชิงบริการ ตลอดจนออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ โดยในระยะนำร่องได้ดำเนินการแล้วในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
และขยายผลต่อเนื่องที่จังหวัดสุโขทัย สร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าของฝากในจังหวัดเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านบาท ตลอดจนมีเป้าหมายที่จะขยายผลโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภายในปี 2564 เพื่อส่งเสริมให้คนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าของฝากของที่ระลึกกว่า 50 ล้านบาทต่อปี
อีกทั้งยังจะช่วยกระตุ้นมูลค่าหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคกว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี สำหรับรายละเอียดการดำเนินงานที่จังหวัดสุโขทัย ดีพร้อม ดำเนินการส่งเสริมผ่านการถอดอัตลักษณ์วิถีถิ่นสุโขทัย ผ่านกระบวนการสร้างมาสคอตของชุมชนจากจุดเด่นที่มี และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้มีความทันสมัย
โดยการนำผลิตภัณฑ์เดิมซึ่งเป็นงานหัตถศิลป์ที่มีความละเอียด และเข้าถึงได้ยาก มาปรับลดลายเส้นต่าง ๆ ให้มีความเรียบง่าย หรือที่เรียกว่า มินิมอลสไตล์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการต่อยอด และพัฒนาสินค้าชุมชนให้เกิดธุรกิจในเชิงพาณิชย์
ทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันมีวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยเข้าร่วมโครงการจำนวน 20 กลุ่ม และมีเป้าหมายพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของฝากของที่ระลึก จำนวน 20 ผลิตภัณฑ์ โดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านบาทต่อปี
นอกจากมิติของการกระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยวแล้ว โครงการดังกล่าวยังสามารถทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 200 คน ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอคีรีมาศ อำเภอศรีสัชนาลัย และพื้นที่ใกล้เคียง
ซึ่งหากการท่องเที่ยวกลับสู่ภาวะปกติ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในพื้นที่ประมาณ 600,000 คนต่อปี ก่อให้เกิดการใช้จ่ายสินค้าและบริการเป็นมูลค่าหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในจังหวัดกว่า 1,800 ล้านบาท
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.freepik.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th