ดีพร้อม (DIPROM) หนุนอุตฯ นวัตกรรม ปี 64 เตรียมอัดฉีด แองเจิล ฟันด์ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่ากลุ่มสตาร์ทอัพ กระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ…
highlight
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ขานรับนโยบายรัฐ สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมนวัตกรรม โดยมุ่งผลักดันสตาร์ทอัพเพิ่ม หลังจากปีที่ผ่านมาช่วยกระตุ้
นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสูงถึง 500 ล้านบาท ผ่านโครงการเชื่อมโยงแหล่งเงิ นทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิ จใหม่ หรือ แองเจิล ฟันด์ ปีที่ 6 พร้อมเปิดกิจกรรมบ่มเพาะทั กษะทางธุรกิจอย่างเข้มข้น (Business camp) ติวเข้มบันไดทักษะ 6 ขั้นทางธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการเพื่อเตรี ยมความพร้อมก่อนนำเสนอโมเดลธุ รกิจต่อภาคเอกชนผู้สนับสนุนแหล่ งเงินทุน เพื่อเร่งขับเคลื่อนนโยบายอัดฉี ดเงินสู่ภาคอุตสาหกรรม สร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิ จไทยในอนาคต
DIPROM ขานรับนโยบายรัฐ เดินหน้าหนุนอุตฯ นวัตกรรม และสตาร์ทอัพ
ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การดำเนินงานของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ขานรับนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้ก้าวสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมนวัตกรรม
จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ และพัฒนาสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถนำทักษะและองค์ความรู้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการภายใต้โครงการ “เชื่อมโยงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการ และธุรกิจใหม่“ (Angel Fund) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 158 ทีม รวมมูลค่ากว่า 16.16 ล้านบาท
และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสูงถึง 500 ล้านบาท ดังนั้น ในปีนี้ กสอ. จึงเดินหน้าโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยมุ่งเป้าพัฒนา และส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology) เพื่อให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ด้วยการใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม ช่วยลดการนำเข้านวัตกรรมจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 150 ล้านบาท สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเพื่อเข้าร่วมโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้น (Early stage)
ได้แก่ ผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจทั่วไป ที่มีแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม ที่ต้องการเงินสนับสนุนแบบให้เปล่า เพื่อสร้าง หรือพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ออกสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งในปีนี้ มี บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมเป็นผู้ให้การสนับสนุน หรือ Angel เพิ่มเติมจากปีที่ผ่านมา
ซึ่งมีทีมที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการ Angel Fund แล้วจำนวน 50 ทีม สำหรับผู้ประกอบการระยะเติบโต (Growth stage) ประเภทวิสาหกิจเริ่มต้นที่จดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายไทย มีผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือนวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจ
ที่พร้อมจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ (Exponential growth) และมีเป้าหมายหลักในการขยายตลาดและมีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนจาก VC/CVC ผ่านโครงการ Startup Connect ของกรมในอนาคตต่อไป
“เพื่อให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ มีศักยภาพและความพร้อมสำหรับการนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อบริษัทเอกชนผู้ให้ทุนสนับสนุนนั้น กสอ. ได้จัดกิจกรรม “บ่มเพาะทักษะทางธุรกิจอย่างเข้มข้น“ (Business camp) เพื่อถ่ายทอดการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเสนอแผนธุรกิจ
ที่สามารถนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น โดยกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยพัฒนาและสร้างทักษะ 6 ขั้น ทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่แหล่งเงินทุนคุณภาพ ประกอบด้วย ทักษะความเข้าใจผู้บริโภค (Customer-Centric Design)
ทักษะการวางองค์ประกอบทางธุรกิจ (Business Model Canvas) การทดสอบตลาด (Market Validation) ความรู้สำหรับการจดสิทธิบัตรเพื่อเพิ่มมูลค่าธุรกิจเชิงนวัตกรรม (IP) การประเมินมูลค่าทางธุรกิจ และการนำเสนองานเพื่อให้เกิดการตัดสินใจร่วมลงทุน” ณัฐพล กล่าว
“อย่างไรก็ดี กสอ. มีนโยบายที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการในทุกระยะของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่ผู้ประกอบการที่มีแนวคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม แต่ยังขาดองค์ความรู้ หรือผู้ประกอบการที่มีความพร้อมต้องการความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนคุณภาพ ซึ่งเป็นนโยบายพิเศษเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไปสู่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ
ความพร้อม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย โดยตั้งเป้าว่าหลังจากพัฒนากลุ่มสตาร์ทอัพเพิ่มเติมได้ในช่วงปลายปี จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เพิ่มได้อีกเท่าตัว และมีความมั่นคงในเชิงของการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพสูงขึ้น อีกด้วย” ณัฐพล กล่าว
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.freepik.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th