ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) เปิดแผน 2023 ก้าวสู่บทบาทที่ปรึกษาที่ลูกค้ามั่นใจได้ ช่วยอุดช่องภัยคุกคามทุกมิติ ด้วยโซลูชันครบวงจรทั้งไอที-โอที…
highlight
- ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกด้
านโซลูชันการรักษาความปลอดภั ยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติ และครบวงจร เผยการปฏิรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation) ในองค์กรธุรกิจ และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทั ลจะนำไปสู่การเปิดพื้นที่โจมตี (Attack Surface) ที่เพิ่มมากขึ้นในปีนี้และปีต่ อ ๆ ไป - เปิดแผนดำเนินธุรกิจปี 2023 เตรียมมุ่งหน้าตอบโจทย์ความต้
องการระบบการรักษาความปลอดภั ยสำหรับ OT (Operational Technology) กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่เพิ่ มสูงขึ้น ชู Fortinet Security Fabric ช่วยภาคธุรกิจและจัดการความเสี่ ยง และการรักษาความปลอดภั ยบนไซเบอร์ดียิ่งขึ้น และเตรี ยมจับมือภาคการศึกษา หน่วยงานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ในการปั้นมืออาชีพรองรับความต้ องการบุคลากรไซเบอร์ในประเทศไทย
Fortinet เปิดแผน 2023 ตั้งเป้าก้าวขึ้นสู่ที่ปรึกษาด้านภัยคุกคามทุกมิติ

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า เป็นที่คาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลจะมีส่วนใน GDP หรือผลิตภัณฑ์รวมในประเทศทั้งหมดของประเทศไทย ถึง 30% ภายในปี 2030 ซึ่งยิ่งเศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโต
การเฝ้าระวัง และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ยิ่งทวีความสำคัญ ยิ่งการทรานส์ฟอร์มในธุรกิจ และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น เราก็จะยิ่งได้เห็นความถี่ และความซับซ้อนของการโจมตีที่เพิ่มขึ้น จากรายงานล่าสุดของ ฟอร์ติการ์ด แล็บ (FortiGuard Labs) ทีมงานศึกษา และวิจัยภัยคุกคามไซเบอร์ระดับโลก
ชี้ให้เห็นว่าในปี 2022 ที่ผ่าน มัลแวร์ และแรนซัมแวร์ ยังคงเป็นภัยคุกคามหลักที่องค์กรทั้งหลายต้องเตรียมรับมือ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือรูปแบบการโจมตีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่ตัวมัลแวร์ และแรนซัมแวร์เท่านั้น แต่วิธีการในการส่งมัลแวร์ไปยังเป้าหมายก็ยังมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น
โดยในส่วนของประเทศไทยช่วงไตรมาส 4 ของปี 2022 ทาง ฟอร์ติการ์ด แล็บ ได้ ตรวจพบว่ามีเหตุการณ์ (Incident) ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 1.5 ล้านครั้ง ในทุก ๆ วัน หรือประมาณ 132 ล้านครั้งตลอดทั้งไตรมาส ซึ่งนับเป็น 2.25% การเกิดขึ้นของมัลแวร์ที่ตรวจพบทั่วโลก
ในขณะที่กลุ่มบอทเน็ตนั้นมีจำนวนตรวจพบมากกว่า 224 ล้านครั้ง นับเป็น 2.45% ที่ตรวจพบทั่วโลก ส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือช่องโหว่ที่ถูกตรวจพบทั้งซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นพบมากถึง 57,651 ล้านครั้ง ซึ่งนับเป็น 1.94% จากที่ตรวจพบทั่วโลก โดยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเนื่อง และจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย
ความซับซ้อนของการโจมตีที่ต้องรับมือ
การโจมตีที่เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น : ทั้งในรูปของแรนซัมแวร์ การละเมิดการทำงานของระบบไอที (IT) และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน หรือ OT (Operational Technology) ด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การโจมตีการทำงานของ IoT ตลอดจน Crypto–Jacking ภัยคุกคามไซเบอร์รูปแบบใหม่
เพื่อการขโมยทรัพยากรคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง Deepfake ที่เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สร้างสื่อสังเคราะห์ เพื่อปลอมแปลงลักษณะบุคคลต่าง ๆ ผ่านสื่อวิดีโอ รวมถึงภาพถ่าย และการบันทึกเสียง โดยใช้ประโยชน์จาก AI ที่ถูกพัฒนาด้วย Deep Learning เป็นต้น
ความเสี่ยงที่หลากหลาย : ทั้งบนคลาวด์ เน็ตเวิร์ก อุปกรณ์ปลายทาง (End Point) แอปพลิเคชัน การทำงานของ OT และอื่น ๆ ที่นำไปสู่การใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากเวนเดอร์ต่าง ๆ กัน
ความท้าทายในการแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วน (Network Segmentation) : เนื่องเพราะการปรับตัวของบริษัทต่าง ๆ ในการทำงานในรูปแบบของไฮบริด ทำให้เกิดความยากลำบากในการแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วนๆ (Segments) เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต
ภัยคุกคามของ OT และซัพพลายเชน : เกิดขึ้นจากการพึ่งพาบริการ และเครื่องมือดิจิทัลที่มากขึ้น ทำให้เผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ผ่านทางเวนเดอร์ และพันธมิตรที่ใช้บริการ
ความซับซ้อนของระบบ IT : มากับจำนวนดีไวซ์ที่มากขึ้น การใช้งานแอปพลิเคชันและบริการในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด ก่อให้เกิดความท้าทายในการจัดการ และรักษาความปลอดภัยทั้งหมดโดยรวม
การมองเห็นที่จำกัด (Limited Visibility) : ด้วยปริมาณของดีไวซ์และบริการที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ห่างไกล เป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรธุรกิจในการเฝ้าระวังและตรวจสอบภัยคุกคามความปลอดภัย
“ในปีนี้ นอกเหนือจากการรุกเพื่อให้บริการด้านความปลอดภัยทางไอทีแก่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ แล้ว ฟอร์ติเน็ตยังเล็งในการขยายการทำธุรกิจเข้าสู่ตลาดด้าน OT มากยิ่งขึ้นเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปทางดิจิทัล
เพื่อปรับกระบวนการทำงานทั้งในส่วน IT และ OT เข้าด้วยกันทำให้องค์กรมีพื้นที่เสี่ยงต่อการโดนโจมตีเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน” ภัคธภา กล่าว
จากรายงานของ สถานการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานทั่วโลกประจำปี 2022 (Global 2022 State of Operational Technology and Cybersecurity Report) ระบุว่า 88% ของสภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรม
ในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยี OT ต่างเคยมีประสบการณ์กับการบุกรุก โดยผลการศึกษาได้ชี้ถึงปัญหาที่ก่อเกิดจากการโจมตี OT ซึ่งรวมถึงการขาดความสามารถในการมองเห็นกิจกรรมด้าน OT แบบรวมศูนย์ ทำให้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
“การบุกรุกความปลอดภัย OT ส่งผลกระทบสำคัญต่อประสิทธิผลขององค์กร และส่งผลถึงกำไร โดยท็อป 3 ของการบุกรุกที่องค์กรในประเทศไทยต้องเผชิญได้แก่ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮ็กเกอร์ ส่งผลต่อการสูญเสียรายได้ การสูญหายของข้อมูล และยังได้รับผลกระทบในเรื่องของการกำกับดูแล ไปจนถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์
อันเป็นผลมาจากการบุกรุกด้านความปลอดภัย ฟอร์ติเน็ตในฐานะผู้นำอันดับ 1 และผู้ให้คำปรึกษาด้านซีเคียวริตี้ที่ลูกค้ามั่นใจได้ (Trusted Advisor) พร้อมในการให้คำปรึกษา และในการทำงานงานร่วมกับพันธมิตรที่เรามีในการมอบการปกป้องระบบควบคุมอุตสาหกรรม รวมถึงระบบควบคุมกำกับดูแลและเก็บข้อมูลให้กับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ” ภัคธภา กล่าว
Fortinet Security Fabric เพื่อการรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการระบบการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพทั้งสำหรับภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม ฟอร์ติเน็ต มุ่งเน้นในการรวมเวนเดอร์ต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์เพื่อการทำงานในแต่ละจุด (Point Products) ทั้งในส่วนของการรักษาความปลอดภัย และระบบเครือข่ายเป็นหนึ่งเดียวกัน
เพื่อให้สามารถลดความซับซ้อนเพื่อปิดช่องว่างด้านความปลอดภัย (Security Gap) ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับประสบการณ์ผู้ใช้ให้เหมาะสม และเร่งผลลัพธ์ในการทำงาน แนวคิดของฟอร์ติเน็ต คือ
การรวมกันของ ระบบเครือข่าย และความปลอดภัย, การบูรณาการ Point Products เข้ากับแพลตฟอร์มความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบบูรณาการ และ การนำระบบข่าวกรองภัยคุกคามไซเบอร์ และบริการด้านความปลอดภัยมาใช้กับทุกภาคส่วนอย่างสม่ำเสมอ และการผสานรวมทั้งหมดนี้มีอยู่ใน Fortinet Security Fabric แล้ว
Fortinet Security Fabric ช่วยให้ธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมมีแนวทางที่มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดการหยุดชะงัก โดยช่วยให้มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมทั้ง IT และ OT จะได้รับการปกป้องและดำเนินการภายใต้ข้อกำหนด ซึ่งการผสานรวมการทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบรวมถึงการแบ่งปันความรู้เท่าทันเกี่ยวกับภัยคุกคาม
จะช่วยให้องค์กรด้านอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วนสามารถดำเนินการตอบสนองต่อภัยคุกคามโดยอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ Fortinet Security Fabric จะครอบคลุมเครือข่ายควบรวมทั้ง IT และ OT ทั้งหมดเพื่อปิดช่องว่างด้านความปลอดภัย OT โดยให้ความสามารถด้านการมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์อีกทั้งให้การบริหารจัดการที่เรียบง่ายยิ่งขึ้น

“เราเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Fortinet Security Fabric ด้วยการนำข้อมูลภัยคุกคามเข้ามาผสานกับระบบนิเวศแบบเปิด (Open Ecosystem) ที่มีโซลูชันมากกว่า 500 รายการ จากผู้จำหน่ายกว่า 350 ราย เพื่อสร้างการมองเห็น (Visibility) ที่ครอบคลุมอีกทั้งสามารถป้องกันการโจมตีทางดิจิทัลทั้งหมด
เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น และโซลูชันในแบบบูรณาการนี้ยังช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการและการแบ่งปันข่าวกรองด้านภัยคุกคาม และระบบเครือข่ายสามารถรักษาตัวเอง (Self-Healing) ได้อัตโนมัติพร้อมการรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อการดำเนินการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ” ภัคธภา กล่าว
นอกจากโซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ฟอร์ติเน็ตเล็งเห็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือการสร้างบุคลากรด้านความปลอดภัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ที่จะสามารถมองเหตุถึงปัญหาหรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบ
อีกทั้งสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเพื่อรองรับทั้งความต้องการ เพื่อรับมือกับการขยายตัวของภัยคุกคามและการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นในปีนี้ ฟอร์ติเน็ตจะเพิ่มการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงาน และองค์กรด้านซีเคียวริตี้ของภาครัฐเพิ่มมากขึ้น เพื่อร่วมสร้างมืออาชีพที่มีทักษะ และความรอบรู้ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ อีกทั้งเพื่อช่วยลดช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity Skills Gap) อีกด้วย
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th