หัวเว่ย เผยแผนการพัฒนาบุคลากรไอซีทีโครงการ Huawei ICT Academy

Huawei ICT Academy

หัวเว่ย เผยแผนระยะยาวเพื่อลดช่องว่างด้านบุคลากรไอซีที ในโครงการ Huawei ICT Academy เพื่อเสริมแกร่งระบบนิเวศด้านบุคลากรไอซีทีในเอเชียแปซิฟิก หวังปูทางสู่การทรานสฟอร์มด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน

highlight

  • ในงานประชุม หัวเว่ย Asia Pacific ICT Talent Forum 2020 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ประกาศแผนระยะยาวในการพัฒนาบุคลากรไอซีทีที่ครบรอบด้าน พร้อมโครงการรับรองมาตรฐานวิชาชีพใหม่เพื่อพัฒนาระบบนิเวศด้านบุคลากรไอซีที ปูทางสู่การทรานสฟอร์มด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน
  • ประกาศเปิดโครงการ หัวเว่ย Asia Pacific ICT Certification ให้แก่นักศึกษาหรือผู้ทำงานในสาขาไอซีที ที่เคยเข้าร่วมหรือสนใจเข้าร่วมโครงการ หัวเว่ย ICT Academy โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2563 ผู้เข้าร่วมโครงการที่สอบผ่านโดยใช้เวลาที่น้อยที่สุดจะได้รับรางวัลตามลำดับเวลาที่ทำได้

หัวเว่ย เผยแผนการพัฒนาบุคลากรไอซีทีโครงการ Huawei ICT Academy

Huawei ICT Academy
ไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและที่ปรึกษาผู้บริหาร ของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก

ไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและที่ปรึกษาผู้บริหาร ของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาเปลี่ยนโลกของเรา

“รากฐานของอุตสาหกรรมไอซีทียุคใหม่ในปัจจุบันประกอบด้วย คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) บิ๊ก ดาต้า (Big data) อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (AI)”

การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความแพร่หลายมากขึ้นทำให้ทักษะด้านไอทีพื้นฐานไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากในอนาคตทุกอย่างจะเชื่อมโยงกันมากขึ้น ไม่ใช่เเค่คนกับคน แต่เป็นทุกสิ่งที่เชื่อมกัน อยาคตเราจะเห็นบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดรนขนส่ง รถยนต์ไร้คนขับ การดูทีวี ที่จอดรถอัจริยะ การค้า หรือแม่แต่ด้านการแพทย์

Huawei ICT Academy

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากโครงสร้างโครงข่าย และเทคโนโลยีในการประมวลผลที่รวดเร็ว โดยการใช้เทคโลยี AI ในการทำงานร่วมกับ Big Data ที่ฉลาดมากขึ้น เรียนรู้ และวิเคราะห์พฤติกรรมได้แบบเป็นรายบุคคล ดังนั้นวันนี้องค์กรหลายแห่งเริ่มปรับเปลี่ยนคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของพนักงาน ภูมิทัศน์ไอซีทีโฉมใหม่จะทำให้ตลาดขาดแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงราว 5 ล้านคน เราตั้งเป้าที่จะพัฒนาแรงงานไอซีทีให้ได้ 2 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า

โดยที่ผ่านมา หัวเว่ย ได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Cloud, Big data, IoT และ AI เพื่อให้สามารถเกิดสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า Eco System ที่เชื่อมโยงกัน โดยเราใช้รายได้กว่า 50% ในเรื่องของ R&D รวมไปถึงการการดำเนินโครงการ

Huawei ICT Academy

และจากเป้าหมายใน 4 เทคโนโลยี หัวเว่ย ทำให้เรามองว่าเรื่องของการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เราก้าวไปได้อย่างที่ตั้งใจเพื่อป้อนแรงงานที่มีทักษะซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการเข้าสู่ตลาด โดยในปี 2563 เราจะตั้งโครงการ หัวเว่ย ICT Academy อีกกว่า 200 แห่ง ตลอดจนฝึกอบรม และออกใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ให้แก่นักศึกษา

Huawei ICT Academy

และพนักงานกว่า 10,000 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบบนิเวศบุคลากรด้านไอซีทีเป็นกลยุทธ์ระยะยาวของหัวเว่ย และเราจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย และพันธมิตรด้านการฝึกอบรมของ หัวเว่ย (HALP-Huawei Authorized Learning Partner) มากกว่า 110 ราย ในแต่ละประเทศ เพื่อช่วยเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา และคนที่ทำงานด้านไอซีที

Huawei ICT Academy

ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันไอซีทีชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีที่ครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งจะช่วยให้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะสูงกลายมาเป็นความท้าทายของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในเอเชียแปซิฟิก

ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่อุตสาหกรรมไอซีทีมีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ AI และ 5G มีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น ภูมิภาคนี้จำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อกำหนดมาตรฐานที่ช่วยจับคู่บุคลากรกับโอกาสในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล

Huawei ICT Academy

เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ หัวเว่ยได้สร้างระบบนิเวศด้านบุคลากร เพื่อสนับสนุนการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีที อันสอดคล้องกับกลยุทธ์การบ่มเพาะบุคลากรของบริษัท ระบบนิเวศนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 3 โครงการด้วยกัน

คือ ประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย (Huawei Certification), โครงการ หัวเว่ย ICT Academy และการแข่งขัน Huawei ICT Competition  

Huawei ICT Academy

ประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย (Huawei Certification) ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรมาตรฐานด้านบุคลากรที่ครอบคลุมการสอบรับรองความรู้ถึง 100 หัวข้อ และสาขาเทคนิค 22 สาขา ที่ผ่านมาได้ออกใบรับรองนักศึกษา และพนักงานด้านไอซีทีไปแล้วกว่า 260,000 คน รวมถึง 19,000 คนในเอเชียแปซิฟิก

โครงการ หัวเว่ย ICT Academy ซึ่งเปิดตัวในปี 2556 ได้จับมือกับสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่า 900 แห่ง เพื่อเปิดคอร์สการสอน และฝึกอบรมด้านไอซีทีให้แก่นักศึกษากว่า 45,000 คนในแต่ละปี ปัจจุบัน หัวเว่ยได้จัดตั้งโครงการความร่วมมือ ICT Academy ไปแล้ว 103 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Huawei ICT Academy

หัวเว่ยยังได้เริ่มจัดการแข่งขันด้านไอซีทีในปี 2558 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรผ่านการแข่งขันวัดความรู้ในระดับนานาชาติ การแข่งขันจะช่วยให้นักศึกษาได้รับการยอมรับ และมีโอกาสได้ทำงานที่มีคุณค่าในองค์กรชั้นนำ เพื่อให้บุคลากรที่มีทักษะ กับบริษัมฯ ได้มาเจอกัน ซึ่งเราสามารถสร้างการอาชีพ ได้กว่า 2,000 ราย

สำหรับในประเทศในไทย เราต้องการเพิ่มจำนวน จาก 350 ราย เป็น 1200 ราย และทั่วเอเซียแปซิฟิกอีก 10,000 ราย ซึ่งการพัฒนาคนรุ่นใหม่ด้วยโครงการนี้จะด้วยให้พวกเค้าได้งานที่เร็วขึ้น และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตัวเค้าเองมากขึ้น

ขณะที่ในอีกมุมการเข้าร่วมของพวกเค้าจะได้สังคมของผู้คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของตนเอง และแน่นอนว่าสถาการณ์ของกีดกันทางการค้าที่ หัวเว่ยกำลังเผชิญนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบกับโครงการนี่ เพราะเป็นโครงการต่อเนื่อง

Huawei ICT Academy

ในขณะที่ตลาดไอซีทีในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว หัวเว่ยจึงยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลาย 13 แห่ง และยังคงมีเป้าหมายที่จะขยายความร่วมมือเป็น 20 แห่ง เพื่อสร้าง หัวเว่ย ICT Academy ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

เพราะความต้องการแรงงานที่มีทักษะทางด้าน ICT นั้น มีเท่าไรก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกันนี้ ประเทศไทยถือว่ามีบุคลากรที่มีความสามารถ และมีแรงกระตุ้นจากผู้ให้บริการ เน็ตเวิร์ค และโซลูชั่นต่าง ๆ หากจะมีอุปสรรคก็คงเป็นเพียงเรื่องของภาษาในการสื่อสารเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ดีหากไม่สามารถพัฒนาบุคลากรได้ทันต่อความต้องการของตลาดนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการพัฒนาช้า หรือเร็ว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เพียงแต่เป็นเรื่องโอกาสที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นช้าลงเท่านั้น

ขณะที่ การเกิดขึ้นของ โควิด-19 นั้นเราไม่มองว่าเป็นอุปสรรค แต่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการใช้ ICT มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้าง และจำนวนบุคลากรที่มีทักษะที่ตรงกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากกว่า

 

Huawei ICT Academy

ในส่วนของการแข่งขัน หัวเว่ย ICT Competition ครั้งแรกในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อปี 2561 โดยมีนักศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 2,000 คน ทีมผู้ชนะระดับประเทศจำนวน 3 คน ได้รับโอกาสเป็นตัวแทนประเทศในเวทีการแข่งขันระดับโลกที่เซินเจิ้น ประเทศจีน

ซึ่งในอนาคตหัวเว่ยมุ่งมั่นแสวงหาวิธีใหม่ ๆ ในการบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีอยู่เสมอ พร้อมสนับสนุนรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที ด้วยเป้าหมายสูงสุดในการเติมเต็มช่องว่างระหว่างความต้องการจากองค์กร และการจัดหาบุคลากรด้านไอซีทีของมหาวิทยาลัย หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะช่วยหลากหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก วางรากฐานไอซีทีที่แข็งแกร่งมั่นคงเพื่อรองรับอนาคตที่จะมาถึง

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.