ไลน์ (LINE) รวมพลแอดมิน เปิดเทคนิคสุดปัง ช่วยบริหาร “ด้อม“ แบบมือโปร ในกิจกรรม LINE OpenChat First Admin Meet Up…
LINE OpenChat เปิดกิจกรรม First Admin Meet Up รวมพลแอดมิน สอนเทคนิคสุดปัง!!
ไลน์ โอเฟ่นแขท (LINE OpenChat) ครองตำแหน่งคอมมิวนิตี้ออนไลน์
แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ช่วยเติ
ล่าสุด ไลน์ ได้จัดกิจกรรม “ไลน์ โอเฟ่นแขท เฟิร์ส แอดมิน มีต อัพ“ (LINE OpenChat First Admin Meet Up) ครั้งแรกของการรวมพล พบปะเหล่าแอดมินคุณภาพจากห้
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ณธกฤต กาญจนมัณฑนา หัวหน้าหน่วยธุรกิจไลน์ โอเฟ่นแขท, เอก ปัญญาสีห์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดธุ
มาร่วมเจาะลึกอินไซต์การใช้
อัปเดตฟีเจอร์เด็ด ช่วยแอดมินจัดการห้องแชทได้ง่ายขึ้น
ไลน์ โอเฟ่นแขท ได้มีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของสมาชิก และช่วยอำนวยความสะดวกให้แอดมินบริหารจัดการห้องโอเพ่นแชทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีที่ผ่านมา ไลน์ โอเฟ่นแขท ได้มีการเปิดตัวฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากมาย
อาทิ ฟีเจอร์ “เธรด” ช่วยเพิ่มพื้นที่การสนทนาในหัวข้อที่เจาะจงตามเรื่องต่างๆ ที่พูดคุยในห้องโอเพ่นแชทหลักได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะรบกวนการพูดคุยบนหน้าห้องหลัก ฟีเจอร์ @All หรือ การกล่าวถึงทุกคน ที่ออกแบบมาเพื่อให้แอดมินโดยเฉพาะ
ใช้สำหรับแจ้งเรื่องสำคัญที่ต้องการให้สมาชิกในห้องเข้ามาร่วมพูดคุยหรือรับทราบร่วมกัน โดยแอดมินจะสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้เพียง 1 ครั้งต่อ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมจากทั้งแอดมิน และสมาชิกเป็นอย่างมาก คือ ฟีเจอร์ BOT SPAM FILTER หรือ การคัดกรองบอท และสแปม
เพื่อจัดการข้อความที่ไม่เหมาะสม หรือขัดต่อกติกาในการใช้ห้องโอเพนแชทแบบอัตโนมัติ โดยแอดมินสามารถเพิ่มคีย์เวิร์ดต้องห้ามได้สูงสุดถึง 200 คำ ช่วยทุ่นแรงแอดมินไม่ต้องเหนื่อยตรวจสอบด้วยตัวเองตลอดเวลา และเพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ใช้งาน
อีกทั้ง ยังต่อยอดประสบการณ์ผู้ใช้งานให้สามารถมีกิจกรรมร่วมกันผ่าน ฟีเจอร์ Live Talk หรือการสร้างห้องสนทนาผ่านเสียงแบบเรียลไทม์ จะอยู่กรุ๊ปนั้นหรือด้อมไหน ก็มาร่วมจอยได้ เพราะสามารถรองรับผู้เข้าร่วมฟังได้ถึง 10,000 คน และมีผู้พูดได้ถึง 100 คน
ที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกของห้อง โอเฟ่นแขท นั้น ๆ ก็สามารถเข้าร่วมได้เช่นกัน นอกจากนี้ ไลน์ โอเฟ่นแขท ยังมีการมอบตราสัญลักษณ์ Official Badge เพื่อการันตีว่าห้องแชทนั้น ๆ เป็นคอมมิวนิตี้หลัก ที่ศิลปินคนดังเป็นผู้ดูแลห้องด้วยตัวเอง
และ Super OpenChat หรือ สัญลักษณ์พิเศษรูปตัว “S” สำหรับห้องของผู้ใช้งานทั่วไป เพื่อยืนยันว่าห้องแชทนั้นมีการบริหารจัดการที่ดี ได้รับการความนิยม มีการพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ
เจาะอินไซต์หลังบ้าน ห้องแชทสุดฮอตยอดฮิต
ด้วยจุดแข็งที่เข้าใจผู้ใช้งานที่มีความสนใจหลากหลาย พร้อมกับการพัฒนาเครื่องมือที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างคอมมิวนิตี้คุณภาพ ทำให้ตลอด 5 ปี ที่ผ่านมา ไลน์ โอเฟ่นแขท มียอดผู้ใช้งานเติบโตเฉลี่ย 21.2% ต่อปี ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานเฉลี่ย 20 ล้านคนต่อเดือน
โดยกลุ่ม ไลน์ โอเฟ่นแขท ที่มาแรงคือ กลุ่มการศึกษา, กลุ่มแฟชัน, กลุ่มข่าวสาร, กลุ่มคอมมิวนิตี้ และกลุ่มไลฟ์สไตล์ ขณะที่จำนวนการใช้งาน (Views) ใน ไลน์ โอเฟ่นแขท มีการเติบโตสอดคล้องกับยอดผู้ใช้งาน โดยวันพุธถือเป็นวันที่มีผู้ใช้งาน ไลน์ โอเฟ่นแขท มากที่สุดในสัปดาห์
อีกหนึ่งอินไซต์ที่น่าสนใจของการใช้งาน ไลน์ โอเฟ่นแขท ใน 3 กลุ่มดังกล่าว คือ เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่กลุ่มท่องเที่ยวมียอดการใช้งานสูงสุด ในขณะที่กลุ่มรถยนต์จะมียอดการใช้งานสูงสุดในช่วงปลายปีถึงต้นปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการจัดงาน Motor Show หรือ Motor Expo ปิดท้ายด้วยกลุ่มถ่ายรูปที่มีตัวเลขการใช้งานสอดคล้องกับกลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มรถยนต์
เปิดเทคนิค ปั้นคอมมิวนิตี้แกร่ง
หนึ่งในเทคนิคการสร้างชุมชนที่แข็งแกร่งบน ไลน์ โอเฟ่นแขท คือ การสร้างความร่วมมือข้ามกลุ่ม เพื่อแบ่งปันความรู้ หรือ ต่อยอดประสบการณ์ใหม่ๆให้กับผู้ใช้งาน โดยรูปแบบการสร้างความร่วมมือข้ามกลุ่ม อาจจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านฟีเจอร์ Live Talk เพิ่มความพิเศษด้วยการเชิญแอดมินข้ามกลุ่ม
ที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน มาร่วมพูดคุยในหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น กลุ่มที่ชอบถ่ายรูปอาจจะจับมือกับกลุ่มเที่ยววัดสวย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลวัดสวยเพื่อการถ่ายรูป เป็นต้น อีกทั้ง ยังต้องสร้างสังคมที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างอุ่นใจ แอดมินควรมีการออกแบบการสื่อสารที่เหมาะสม
เช่น การใช้ฟีเจอร์ปักหมุดหัวข้อช่องแชท หรือใช้ Thread เพื่อพูดคุยในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งแบบเจาะลึก โดยไม่รบกวนห้องแชทหลัก ตลอดจนการใช้ Note กลาง เพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา นอกจากนี้ควรมีการมีการกำหนดหัวข้อที่น่าสนใจ
เพื่อกระตุ้นการสนทนา และมีการกำหนดวาระหรือเวลาในการสื่อสารสิ่งที่สำคัญ หรือการลงเนื้อหาที่แน่นอน เช่น ทุกวันศุกร์จะลงรีวิวท่องเที่ยว วันจันทร์จะเน้นการตอบคำถามของแอดมิน หรืออาจจะสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิก ด้วยการทำ Poll เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มาร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ และแน่นอนที่สุด
ต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย สร้างบรรยากาศในห้องโอเพ่นแชทให้เป็นเซฟโซน สำหรับการแบ่งปันไอเดีย หรือออกความเห็น โดยไม่มีการตัดสินว่าใครถูกผิด ในกรณีมีคอนเมนต์ในแง่ลบ หรือทำให้บรรยากาศไม่ดี แอดมินต้องไม่ปล่อยผ่านสามารถตักเตือนสมาชิก ในขณะเดียวกันแอดมินควรรับฟังข้อเสนอของสมาชิก
นอกจากนั้น ยังควรต้องมีการส่งเสริมผู้นำในชุมชนออนไลน์ ด้วยการมอบหมายให้สมาชิกที่มีความสามารถเป็น Co-Admin ผ่านการกล่าวถึงด้วยการขอบคุณสมาชิกที่ให้ข้อมูลหรือสร้างคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกอื่น
นอกจากนั้น ไลน์ โอเฟ่นแขท ยังแนะนำให้แอดมินหมั่นพูดคุย และเพิ่มจำนวนสมาชิก เพราะระบบจะมีการดึงข้อมูลของห้องที่มีบทสนทนาสม่ำเสมอ ขึ้นโปรโมตในแถบ “โอเพนแชทมาแรง” หรือ การเลือกห้องแชทไปโปรโมทผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย
อีกทั้งได้เชิญชวนให้แอดมินร่วมเป็นสมาชิกห้อง ไลน์ โอเฟ่นแขท แอดมิน ซึ่งจะเป็นช่องทางสื่อสารข่าวสารต่างๆ รวมถึงแนะนำช่องทางติดต่อทีมงานเพื่อขยายห้องเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกอีกด้วย โดยห้องแชทสามารถขยายได้สูงสุดถึง 50,000 คน
โดยจะสามารถขยายในครั้งแรกจาก 5,000 คนเป็น 10,000 คน และในการขยายครั้งต่อไปจะเป็นการขยายเพิ่มจำนวนทีละ 10,000 คนตามลำดับ
เล็งสร้างรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน “ไลน์ โอเฟ่นแชท“
สำหรับในอนาคต ไลน์ มีแผนในการสร้างรายได้ให้กับแอดมินของห้องแชทบน ไลน์ โอเฟ่นแขท เช่น การเปิดสำหรับสปอนเซอร์ เพื่อการโปรโมตสินค้าหรือแคมเปญต่าง ๆ ให้กับแบรนด์ในห้อง ไลน์ โอเฟ่นแขท โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ไลน์ โอเฟ่นแขท ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่รวมตัวของผู้คนที่มีความสนใจหลากหลาย
ให้ได้พบปะกับผู้ที่มีความชอบตรงกัน แต่ยังมุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมให้ ไลน์ โอเฟ่นแขท เติบโตอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน ผ่านการพัฒนาฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และแอดมินผู้ขับเคลื่อนชุมชนต่าง ๆ สิ่งนี้ทำให้ ไลน์ โอเฟ่นแขท ไม่เพียงเติบโตอย่างมั่นคง
แต่ยังมี “ด้อม” ดี ๆ อีกมากมายให้ทุกคนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง พร้อมทั้งสนับสนุนแอดมินให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืนร่วมกันในทุกมิติของการเติบโต
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th