ส่องอนาคตหุ่นยนต์ (Robots) ในยุคอุตสาหกรรม 5.0 (Industrial 5.0) เทคโนโลยีปฏิวัติการผลิตในปี พ.ศ. 2578 ที่มาพร้อมความกังวลของมนุษย์แรงงาน…
Robots ในยุค Industrial 5.0 เทคโนโลยีปฏิวัติการผลิต ที่มาพร้อมความกังวล!!
โรงงานในปี ค.ศ. 2035 หรือ พ.ศ. 2578 จะแตกต่างจากโรงงานในปัจจุบั
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในแต่
คน เครื่องจักร และความกลัว
ดาร์เรลล์ อดัมส์ หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าวว่า ปัจจุบันความสามารถของอินเทอร์เน็ตในยุค “อุตสาหกรรม 4.0“ รวมถึงหุ่นยนต์ที่กำลังเติบโตและเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกัน
ก่อให้เกิดความหวาดกลัวใหม่ที่เชื่อว่า เทคโนโลยีกำลังเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ และเมื่อพิจารณาจากอุตสาหกรรม 4.0 แล้วก็จะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์กำลังแบกรับปัญหาจากความเชื่อล่าสุดที่ว่า “เทคโนโลยีกำลังแทนที่เรา“ ด้วยเช่นกัน ผู้คนต่างเข้าใจผิดว่าเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ
และหุ่นยนต์เข้ามาคุกคามการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ระบบอัตโนมัติไม่ได้เขามาแทนที่งาน แต่ช่วยสร้างงานใหม่ ๆ ขึ้นมาต่างหาก โดยจากบทความเมื่อเร็ว ๆ นี้ ของ ฮาร์วาร์ด บิซิเนส รีวิว (Harvard Business Review) เรื่อง งานอัตโนมัติ
ได้ระบุว่า 20% ถึง 80% ของงานที่ได้รับมอบหมายมีระบบอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ไม่มีงานใดที่เป็นอัตโมมัติได้ 100% ซึ่งหมายความว่า แม้จะมีความก้าวหน้าเพียงใด หุ่นยนต์ก็จะยังไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้อย่างสิ้นเชิง
โดยความเป็นจริงแล้ว หุ่นยนต์ได้เข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตและส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ จ้างคนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหุ่นยนต์จึงเป็นตัวช่วยในการสร้างงานไม่ใช่กำจัดงาน
โรงงานรูปแบบใหม่
คำสัญญาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมล่าสุดของ “อุตสาหกรรม 4.0“ ไม่ได้เป็นโรงงานระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์เท่านั้น ผู้ผลิตทั้งหลายต่างได้มุ่งสู่ โรงงานที่ใช้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติสมบูรณ์แบบบ หรือ ไลท์ เอาท์ แฟคตอรี่ (Light Out Factory) ซึ่งสามารถผลิตสินค้าตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วด้วยคุณภาพสูง
ทั้งยังมีต้นทุนต่ำอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแส ไลท์ เอาท์ แฟคตอรี่ เริ่มสะดุดในการติดตั้งกระบวนการผลิต แนวโน้มของผู้บริโภคทั่วโลกก็เริ่มแปรเปลี่ยนกลายเป็นเกิดความต้องการให้มนุษย์กลับมาในยุคอุตสาหกรรม 5.0
ความต้องการจำนวนมากต่อสัมผัสของมนุษย์ (Human Touch) หรืออาจอธิบายความได้ว่า “ส่วนบุคคลจำนวนมาก“ (Mass Personalisation) ไม่สามารถพบได้ในภาคการผลิตแบบไลท์ เอาท์ขนาดใหญ่หรือจากช่างฝีมือแบบดั้งเดิมที่ทำงานในร้านเล็ก ๆ ของตัวเอง
ปัจจุบันผู้คนต่างต้องการได้รับสัมผัสของมนุษย์ในสินค้าที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก โรงงานแบบนี้ต้องการผลิตสินค้าตามจำนวนและราคาที่สามารถผลิตออกสู่ตลาดได้โดยพึ่งพาเทคโนโลยี แต่ต้องไม่ใช่เทคโนโลยีโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของมนุษย์อย่างในโรงงานแบบ ไลท์ เอาท์ แฟคตอรี่ ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกับคนงาน
และมีการสัมผัสของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนงานมีส่วนร่วมเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
คนงาน แบบใหม่
คนงานที่เป็นที่ต้องการในรู
เพื่อประเมินและดำเนินการปรั
ซึ่งไม่จำเป็นแล้วสำหรับคนงานที่
งานของโรงงานในปี พ.ศ. 2578
ในปี พ.ศ. 2578 อุตสาหกรรม 4.0 และโรงงานผลิตแบบ ไลท์ เอ๊าท์ แฟคทอรี่ จะเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตสินค้า โดยโลกยังคงมีความต้องการสินค้านับล้านรายการที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มมูลค่าด้วยสัมผัสของมนุษย์ใด ๆ นอกจากนี้ยังจะมีโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรม 5.0 อีกเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นด้วยเช่นกันในปี พ.ศ. 2578
ซึ่งโรงงานเหล่านี้จะว่าจ้างแรงงานที่มีทักษะะมนุษย์ในรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร กล่าวคือจะต้องมีความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในทางศิลปะ ความรู้ด้านวัสดุต่างๆ และความเข้าใจทางกระบวนการ รสนิยมที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ ความเข้าใจในประเพณีต่าง ๆ
และการตัดสินใจที่ซับซ้อน โดยงานเหล่านี้จะไม่เหมือนกับงานในโรงงานที่เรานึกถึงอยู่ในปัจจุบัน โดยจะเป็นงานที่สร้างนิยามแตกต่างจากเดิมที่ว่า “การทำสิ่งที่ฉันไม่ชอบทำ“ (doing things I don’t like to do) ผู้คนจะรักงานของตัวเอง งานและแนวโน้มเหล่านี้จะช่วยแรงงานมนุษย์และทำให้โลกเป็นสถานที่ทำงานที่ดียิ่งขึ้น
ในโลกยุคปัจจุบัน “อุตสาหกรรม 4.0“ เป็นการหลอมรวมฝ่ายไอที และฝ่ายปฏิบัติการผลิตเข้าไว้ด้วยกัน โดยเราได้เห็นการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลแล้วในอุตสาหกรรมการผลิต สำหรับโรงงานอัจฉริยะในปี พ.ศ. 2578 จะรองรับรูปแบบใหม่ของการทำงานร่วมกัน
ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ซึ่งหุ่นยนต์ทำงานที่ต้องใช้กำลังมากและเป็นงานซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในขณะที่มนุษย์จะทำหน้าที่เป็น “สถาปนิกสร้างสรรค์“ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดจะกลายเป็นพลังชี้ขาดในปี พ.ศ. 2578
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th