วช. (NRCT) ร่วมกับ มธ. (TU) เปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ “Commu Max ระยะที่ 2” พลิกโฉมการสื่อสารนโยบายภาครัฐในยุคดิจิทัล…
วช. จับมือ มธ. เปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ “Commu Max ระยะที่ 2” หวังพลิกโฉมการสื่อสารภาครัฐในยุคดิจิทัล
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ “Commu Max (คอมมู แม็กซ์) ระยะที่ 2″ ภายใต้โครงการต่อยอดแซนด์บ็อกซ์นวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายภาครัฐ
โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการสื่อสารของบุคลากรภาครัฐในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30–11.00 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม อาคาร วช.8 ชั้น 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
โดยมีผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ รวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วม
“คอมมู แม็กซ์ ระยะที่ 2” ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาการสื่อสารในยุคดิจิทัล เพื่อสร้างผลดี และผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศให้สามารถเข้าถึงสู่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี กล่าวว่า ในนามของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ซึ่งมีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาความรู้ และนวัตกรรม
รู้สึกภูมิใจที่ได้เห็นการจัดโครงการนี้ขึ้น ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายภาครัฐ โดยการนำเสนอแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในหน่วยงานภาครัฐ และการพัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อการสื่อสารนโยบายภาครัฐ
ในปัจจุบัน การพัฒนาด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ได้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายในการพัฒนาประเทศชาติ และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐ ที่จะสามารถเพิ่มขึ้นขอบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาภาคีเครือข่ายในการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
ที่ทำงานในด้านการประชาสัมพันธ์ จึงได้มีการจัดโครงการนี้ขึ้น ด้วยโครงการ คอมมู แม็กซ์ ระยะที่ 2 จึงไม่ใช่เพียงการฝึกอบรมทั่วไป แต่เป็นการสร้างระบบการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานรัฐ เพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศให้เกิดความเข้าใจ และความร่วมมือจากประชาชน
ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ด้วยบทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการสนับสนุน และผลักดันโครงการพัฒนาหลักสูตรนวัตกรการสื่อสาร คอมมู แม็กซ์ ให้คำปรึกษาและสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการ
รวมถึงการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารและการสร้างภาคีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ยังมุ่งมั่นในการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อขยายขอบเขตของโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มองเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรภาครัฐในด้านการสื่อสาร และนวัตกรรม เพื่อให้พร้อมเผชิญกับความท้าทาย และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานในหน่วยงานของตนอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มองเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรภาครัฐในด้านการสื่อสารและนวัตกรรม เพื่อให้พร้อมเผชิญกับความท้าทาย และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานในหน่วยงานของตนอย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดของหลักสูตร และกิจกรรมพิเศษในโครงการ “คอมมู แม็กซ์“
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันยพร สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการ ได้ขึ้นกล่าวเปิดตัวหลักสูตร คอมมู แม็กซ์ และกิจกรรมภายในโครงการโดยหลักสูตรออนไลน์ คอมมู แม็กซ์ นี้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะผ่านบทเรียนดิจิทัล
ที่ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ ถึง 7 บทเรียน เช่น กลยุทธ์การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารในยุคดิจิทัล, การผลิต Short Video, การผลิตอินโฟกราฟิก, Data Storytelling และการเริ่มต้นการจัดรายการ Talk และ Podcast เป็นต้น รวมทั้งจะได้เรียนรู้ในบทเรียนสุด Exclusive
อาทิ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในหน่วยงานภาครัฐ และการพัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อการสื่อสารนโยบายภาครัฐ และบทสรุปของนวัตกรรมการสื่อสาร และ บทเรียน Panel Discussion
โดยจะดำเนินผ่านกิจกรรมภายในโครงการ เช่น กิจกรรม MasterClass Workshop ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไซต์ ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริง โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และวิทยากรร่วมกันพัฒนาการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการสือสารสำหรับนโยบายภาครัฐ รวมถึงมี Special Talk ในการอบรมในครั้งนี้ด้วย และไฮไลท์หลักของโครงการฯ คอมมู แม็กซ์ นี้ที่สำคัญอีกหนึ่งกิจกรรมคือ การประกวดผลงานนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์
กิจกรรมจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการประยุกต์ใช้เครื่องมือสื่อสารในรูปแบบใหม่ สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ที่จะสามารถแสดงศักยภาพด้านการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการ ยกยองหน่วยงานที่มีความตั้งใจในการพัฒนาการสื่อสารเชิงนโยบาย
เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และสามารถสร้างแรงกระเพื่อม ในการส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐ ได้พัฒนานวัตกรรมการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ในโครงการฯ คอมมู แม็กซ์ ระยะที่ 2 นี้ ได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายที่นอกเหนือจากหน่วยงานภายในกระทรวง อว. จากโครงการในระยะที่ 1
ได้มีการขยายไปสู่หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และขยายผลของการพัฒนาด้านการสื่อสาร และสร้างภาคีเครือข่าย อีกทั้งยังมีการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ หรือหลักสูตร คอมมู แม็กซ์ หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับยุคดิจิทัล
โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหลัก พร้อมเนื้อหาที่ได้รับการอัปเดตให้ทันสมัย และสอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ และเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร
โอกาส และความท้าทายของการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในปัจจุบัน
ภายในงานยังได้จัดเสวนาในหัวข้อ “โอกาส และความท้าทายของการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในปัจจุบัน” โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ ในวงการสื่อสารมวลชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารในองค์กรภาครัฐ
อาทิ ดร.ประวีณมัย บ่ายคล้อย และคุณกมลวรรณ ตรีพงษ์ ผู้ประกาศข่าวจากช่อง 3 เอชดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญธิญาน์ อมรอิสริยาชัย อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยทั้ง 3 ท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารและมีประสบการณ์ในแวดวงสื่อมวลชน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้แง่คิดในการพัฒนาการสื่อสารสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรในปัจจุบันได้อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ
ต่อยอดแซนด์บ็อกซ์
โครงการต่อยอดแซนด์บ็อกซ์นวัตกรรมการสื่อสารสำหรับนโยบายภาครัฐ (ระยะที่ 2) : แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ในหน่วยงานภาครัฐและการพัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อการสื่อสารนโยบายภาครัฐ
หลักการ และเหตุผล
โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารสำหรับหน่วยงานภาครัฐผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารเชิงนโยบาย รวมถึงการสร้างความโปร่งใส และเชื่อมโยงภาคีเครือข่าย ทั้งนี้การสื่อสารภาครัฐต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน
ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี และความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานภาครัฐจึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการจัดการเนื้อหา และตอบสนองต่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) และสร้างกลยุทธ์การสื่อสารที่สามารถรับมือกับข่าวสารเท็จ และข้อมูลบิดเบือนบนสื่อออนไลน์
วัตถุประสงค์
- ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับกลยุทธ์การสื่อสารในหน่วยงานภาครัฐ โดยวิเคราะห์จากกรณีศึกษาของหน่วยงานที่มีความโดดเด่น
- พัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรการเสริมสร้างศักยภาพนวัตกรการสื่อสาร (communication innovator) ในรูปแบบออนไลน์
- จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงกลยุทธ์แก่บุคลากรภาครัฐ
- จัดประกวดผลงานนวัตกรรมการสื่อสารนโยบายภาครัฐดีเด่น เพื่อสร้างแรงจูงใจ และความภาคภูมิใจในผลงานการสื่อสาร
กลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน
- ผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์
- หน่วยงาน และองค์กรของรัฐที่สนใจเข้าร่วมประกวดผลงานนวัตกรรมการสื่อสาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- บุคลากรภาครัฐมีความสามารถในการผลิตเนื้อหา และใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ
- หน่วยงานภาครัฐมีแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจน และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
- เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาครัฐที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารและสามารถนำแนวทางที่เป็นเลิศนำไปปรับใช้ได้ผลงานนวัตกรรมการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นในภาครัฐ
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th