Schneider Electric แนะวิธีป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า “พังก่อนหมดอายุ”

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) แนะวิธีป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า “พังก่อนหมดอายุ” ด้วย เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ AVR…

Schneider Electric แนะวิธีป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า “พังก่อนหมดอายุ”

ช่วงหน้าร้อนจะเป็นช่วงที่ทุกบ้านใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด จนอาจเกิดไฟกระพริบในบางพื้นที่ โดยอาจพบมากบนอาคารสูง เช่น อพาร์ทเมนท์ หรือคอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ 4.0 ที่ผู้คนมักซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ใช้งานในที่พักจนทำให้กระแสไฟอาจไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงอุปกรณ์

หรือกระแสไฟไหลเข้าอุปกรณ์ได้ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสื่อมก่อนเวลาอันควร เหมือนที่เราเคยตั้งคำถามกันว่าทำไมเครื่องใช้ไฟฟ้าพังเร็วจังเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะเข้ามาช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ยาวนานขึ้น

เพราะการทำงานของ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า AVR จะช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้มีความสม่ำเสมอโดยอัตโนมัติ เรียกได้ว่าทำให้แรงดันไฟฟ้าที่เข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้ามีคุณภาพที่ดีมากขึ้น มีความเสถียร หรือ หากเกิดกรณีไฟตก ไฟกระพริบ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ AVR จะช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าที่ตกหรือสูงเกินไป

ให้มีความสม่ำเสมอโดยอัตโนมัติ ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อไม่กระพริบ หรือดับไปด้วย และยังป้องกันแรงดันไฟกระชาก (surge voltage) ที่อาจทำให้อุปกรณ์หรือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย เป็นการช่วยถนอม และยืดอายุของชิ้นส่วนเล็ก ๆ

ที่อยู่ภายในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน เช่น TV เครื่องเสียง ตู้เย็น เครื่องกรองอากาศ/ฝุ่น พัดลม หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการใช้การสำรองไฟเหมือน UPS

Schneider Electric

เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ AVR

เครื่อง AVR จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีให้เลือก 3 รุ่น ตามการเชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน ทุกรุ่นสามารถเชื่อมต่อได้ถึง 3 อุปกรณ์ รับประกันยาวนาน 2 ปี ได้แก่ รุ่น LS600STH รองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยรวม 300 watts

รุ่น LS1000STH รองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมได้ถึง 500 watts และรุ่น LS1500STH รองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมได้สูงถึง 750 watts ซึ่งการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เครื่องใช้ไฟฟ้าควรมีการเปรียบเทียบจำนวนวัตต์ ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสมอ ว่าเหมาะสมกับ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ AVR รุ่นใด

Schneider Electric

 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.