ถอดเคล็ดลับความสำเร็จกรณีศึกษา CKPower ในการทรานส์ฟอร์มองค์กร

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) (ABeam Consulting Thailand Ltd.,) ถอดเคล็ดลับความสำเร็จกรณีศึกษา CKPower ในการทรานส์ฟอร์มองค์กรด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี…

highlight

  • หัวใจความสำเร็จแบ่งออกเป็น เฟส เฟสแรก เริ่มต้นด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ของการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น (Transformation Visioning) เฟสที่สอง การเข้าสู่การ   ทำทรานส์ฟอร์เมชั่นด้วยความจริงจังและร่วมมือกันทุกส่วน (Transformation Execution) และเฟสที่สาม มุ่งสานต่อความยั่งยืนจากการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น (Sustain Transformation)

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงให้ธุรกิจมีความพร้อมในโลกดิจิทัลมากขึ้น (Digital Transformation) นอกจากการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้ว การวางยุทธศาสตร์ แนวคิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร

รวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้นำที่พร้อมจะมีการรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงใช้นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ และการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ล้วนแต่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ล่าสุด บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower ผู้นำธุรกิจผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ พลังงานความร้อนร่วม และพลังงานแสงอาทิตย์ ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กร และการวางรากฐาน

ในการดำเนินงานทั้งเรื่องกระบวนการทำงาน และการเตรียมความพร้อมของบุคลากร ผ่านการทำงานร่วมกัน ทั้งพนักงาน ผู้บริหาร และบริษัทที่ปรึกษาฯ อย่างเป็นขั้นตอนจนสามารถยกระดับกระบวนดำเนินธุรกิจได้สำเร็จ

ถอดเคล็ดลับความสำเร็จ CKPower Transformation 

CKPower
อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 

อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชั่น ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่าจากการทำงานในฐานะที่ปรึกษา

โดยเฉพาะด้านการทำทรานส์ฟอร์เมชั่นให้กับลูกค้าองค์กรธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 14 ปี พบว่า หลาย ๆ องค์กรมักจะมองว่าทรานส์ฟอร์เมชั่นคือการนำเทคโนโลยีมาใช้กับองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่โดยแท้จริงแล้วปัจจัยที่สำคัญที่จะสนับสนุนให้การทำทรานส์ฟอร์เมชั่นให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ ารสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการวางรากฐานในการดำเนินงาน

ทั้งกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และการเตรียมความพร้อมของบุคลากร ทั้งนี้ จากประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการทำทรานส์ฟอร์เมชั่นให้กับองค์กรธุรกิจชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศ เอบีมฯ มองว่าการทำทรานส์ฟอร์เมชั่นระดับองค์กรธุรกิจเป็นการเดินทางอย่างหนึ่ง (Enterprise Transformation Journey)

จากจุดที่เราจะต้องกำหนดเป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ในการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น แล้วลงมือปฏิบัติการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น และสุดท้ายคือการมุ่งสานต่อความยั่งยืนจากการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น

ทั้งนี้ ในขั้นตอนของเฟสแรกซึ่งเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ของการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น เริ่มต้นด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และกำหนดแนวทางของการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น ก่อนที่จะเริ่มทำงานในเฟสที่สองคือการลงมือปฏิบัติการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น

ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ส่วน ได้แก่ บุคลาก (People) กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) ไม่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน องค์กรจะต้องช่วยให้พนักงานเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น และมองเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงนี้

ไปในทางบวก และเฟสสุดท้าย การมุ่งสานต่อความยั่งยืนจากการทำทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้วยการนำแนวคิด   ไคเซ็น (Kaizen) หรือแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่ องค์กรต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด (Continuous Improvement) มาเป็นส่วนช่วยทำให้บุคลากรมีแนวความคิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการกำหนดให้ ไคเซ็นเป็นหนึ่งใน ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicator หรือ KPI) ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

เฟสที่ท้าทายมากอันหนึ่งของการทำทรานส์ฟอร์เมชั่นคือเฟสที่สอง เพราะมีรายละเอียดที่จำเป็นต้องพิจารณาและขั้นตอนที่ต้องการการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกฝ่ายในการลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ เอบีมฯ เน้นใช้วิธีทำงานร่วมกับองค์กรธุรกิจในลักษณะหุ้นส่วนธุรกิจอย่างแท้จริง (Real Partner) ด้วยการนำความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญของทีมงานที่ปรึกษา พร้อมโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ธุรกิจ ได้แก่ การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ การนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงการทำงานของบริษัทและบริษัทในเครือให้ราบรื่น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่ง ซีเค พาวเวอร์ คือตัวอย่างของการทรานส์ฟอร์เมชั่นที่น่าพึงพอใจมาก เพื่อให้ลูกค้าของเรามีความเชื่อมั่นและบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายทางธุรกิจ

เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดความซับซ้อนด้านไอทีภายในองค์กร สูตรสำเร็จเพื่อการเติบโตในอนาคต

CKPower
ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower

ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “CKPower” หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ พลังงานความร้อนร่วม และพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า CKPower ทำงานร่วมกับ เอบีม คอนซัลติ้ง ในการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

โดยการนำ SAP S/4 HANA มาใช้พร้อมโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดความซับซ้อนด้านไอทีในองค์กร รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานภายในองค์กร สำหรับปรับปรุงกระบวนการทำงานเดิมและเตรียมพร้อมเพื่อการเติบโตในอนาคต ควบคู่กับการปรับกระบวนการทำงานให้ทันสมัย

ด้วยการใช้ Industry Framework ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับกระบวนการทำงานของธุรกิจ (Industry standard model for business processes) เพื่อให้ CKPower สามารถบรรลุเป้าหมายของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นภายในเวลาและตามงบประมาณที่กำหนดไว้ ด้วยการผสมผสานอย่างสมดุลทั้งการใช้ศาสตร์และศิลป์ทางธุรกิจอย่างลงตัว

การนำรูปแบบมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับกระบวนการทำงานของธุรกิจมาใช้ ทำให้บริษัทฯ เข้าใจกระบวนการดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อน จนบรรลุผลของโครงการได้ด้วยคุณภาพที่สูง และสามารถสื่อสารภายในองค์กรได้อย่างราบรื่น ด้วยภาษาที่ง่ายผ่านการแชร์ความรู้ต่าง ๆ โดย เอบีม คอนซัลติ้ง ได้เข้ามาทำงานร่วมกับบริษัทฯ อย่างใกล้ชิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดยมีการออกแบบวิธีการพิเศษสำหรับ CKPower โดยเฉพาะ ด้วยการพิจารณาจากบุคลิกภาพของพนักงานในองค์กร ขั้นของการยอมรับ ระดับของความเข้าใจ รวมไปถึงภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ได้ผลดีที่สุด

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.