true ร่วมกับ รพ.นพรัตนราชธานี นำเทคโนโลยี 5G เสริมศักยภาพการรักษา หวังสร้าง รพ.ต้นแบบ ที่ต่อยอดสู่การแพทย์สมัยใหม่ในยุคระบบฉุกเฉินวิถีใหม่ (ER New Normal)…
highlight
- ทรู ผนึก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการแพทย์ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G สร้างการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่ (ER New Normal) หวังสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับหน่วยงานแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลอื่นๆ ภายใต้สังกัดของกรมการแพทย์ ตั้งแต่ส่งรถพยาบาลฉุกเฉินไปรับผู้ป่วย คัดกรองผู้ป่วย ประเมินอาการผู้ป่วยที่ฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G
- ส่งมอบนวัตกรรมด้านการแพทย์ ที่ใช้งานผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G ให้กับโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ได้แก่ อุปกรณ์รถพยาบาลฉุกเฉินอัจฉริยะ (5G MedTech Ambulance), ระบบสื่อสารระยะไกลอัจฉริยะ (AR Professional Consult Powered) และ หุ่นยนต์สื่อสารอัจฉริยะ (5G Temi Connect & CareBot) รวมทั้ง เทคโนโลยี Vhealth Platform แอปพลิเคชั่นสำหรับคัดกรองและให้คำปรึกษา (Nopparat Teleclinic Powered) แก่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
true ผนึก รพ.นพรัตนราชธานี สร้าง ER New Normal เพื่อต่อยอดสู่ รพ. จังหวัด ทั่วประเทศ
นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นเพียงจุดเเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนระบบการแพทย์ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีมีความทันสมัยมากขึ้นทำให้เรื่องของการผสานเทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการเชื่อมโยงในโครงข่าย 5G
ที่มีเสถียรภาพมากกว่าในอดีต ทำให้แพทย์สามารถยกระดับกระบวนการรักษาให้มีความรวดเร็ว เสมือนการอยู่ในที่เกิดเหตุ อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เกิดกระบวนการคัดกรองการรักษาเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางมาพบแพทย์สามารถได้รับการแนะนำให้การรักษาตนเองในเบื้องต้นได้จาก
แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ แม้ว่าโครงการนี้จะเป็นเพียงการเริ่มต้นของการพัฒนาระบบบการรักษาของแพทย์ในประเทศไทย แต่ก็เชื่อว่าหากสามารถพัฒนาอย่างเต็มทีก็จะกลายเป็นโครงการที่สร้างโรงพยาบาลต้นแบบให้แก่โรงพยาบาลอื่น ๆ อีกต่อไปในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้การแพทย์ไทยยกระดับขึ้นไปสู่การแพทย์วิถีใหม่ได้
5G คือ มิติใหม่ของการเริ่มต้นของการแพทย์สมัยใหม่
นายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เปิดให้การรักษาพยาบาลทั่วไปและเฉพาะทางหลากหลายด้าน ทำให้มีผู้มารับบริการเฉลี่ยต่อวันมีจำนวนค่อนข้างมากโดยในแต่ล่ะปีจะมีผู้เข้ามารับการรักษามากกว่า 8 แสนราย
ซึ่งด้วยปริมาณดังกล่าวทำให้เกิดการเดินทางที่ไม่ค่อยสะดวก ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วยทั้งในทางตรง และทางอ้อม โดยเฉพาะในช่วงสถาการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิค–19 มีผู้ป่วยจำนวนมากที่เดินทางมาเพื่อตรวจ และรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
แม้ที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จะพยายามอย่างเต็มกำลังในการดูแลผู้ป่วย แต่ด้วยปริมาณผู้ป่วยที่มากในแต่ล่ะวันทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง และยังถือเป็นความเสี่ยงอย่างมากในช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิค-19 ซึ่งขัดต่อความาตราการการรักษาคามปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน
กรมการแพทย์ จึงมีนโยบายที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบฉุกเฉินวิถีใหม่ (ER New Normal) เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับทั้งผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงญาติของผู้ป่วย ลดความแออัดในโรงพยาบาล ช่วยให้แพทย์สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที
ซึ่งการที่ทาง ทรู ได้นำเทคโนดลยีเข้ามาช่วยทำให้โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี สามารถก้าวสู่การแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่ (ER New Normal) ได้ ซึ่งทางโรงพยาบาลพร้อมผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้โรงพยาบาลอื่นๆ นำมาปรับใช้ต่อไป โดยความร่วมมือกับกลุ่มทรู ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยี 5G
และนวัตกรรมด้านการแพทย์ มาเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ส่งรถพยาบาลฉุกเฉินไปรับผู้ป่วย คัดกรองประเมินอาการผู้ป่วยที่ฉุกเฉิน และไม่ฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไปรับการรักษาได้ทันเวลา ซึ่งจะสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับวงการสาธารณสุขในประเทศไทย
อย่างไรก็ดีการนำเอาเทคโนโลยี 5G เข้ามาปรับใช้ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นครั้งแรก ที่ทางโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี พยายามที่จะยกระดับกระบวนการรักษาด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ามาเสริมประสิทธิภาพ แต่เราเคยทดสอบกับเทคโนโลยี 3G และ 4G มาแล้ว
แต่พบว่าด้วยระบบความเร็วของโครงข่ายที่มีใน 3G หรือ 4G ยังไม่สามารถทำให้เกิดกระบวนการรักษาที่รวดเร็วกว่าในอดีตได้ ทำให้ที่ผ่านมาโครงการด้านการแพทย์ต่าง ๆ เป็นเป็นโครงการที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง ๆ แต่วันนี้เทคโนโลยี 5G ช่วยให้การทำงานสื่อสารทางการแพทย์สามารถใช้งานได้จริง
ทำให้แพทย์สามารถประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยได้ทั้งจาก ภาพ หรือวีดีโอ ที่มีความละเอียดสูง และไม่มีการดีเลย์ของสัญญาณ อีกทั้งยังช่วยให้ทางโรงพยาบาลามารถคัดกรองผู้ป่วยผ่านแพลตฟอร์ม Vhealth Platform ที่แพทย์สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้ผ่านอุปกรณ์ของผู้ป่วยเองผ่านแอปฯ Nopparat Teleclinic Powered by ทรู 5G
เพื่อบอกเล่าอาการเบื้องต้นและรับคำแนะนำในการักษา หากไม่มีความจำเป็นก็ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้ามาในโรงพยาบาล ซึ่งทำให้ทำให้เกิดการรักษาที่ครอบคลุมประชากรในพื้นที่ได้มากขึ้นกว่าในอดีต
เป้าหมายเริ่มต้นคือการยกระดับศักยภาพการแพทย์ดิจิทัล และสาธารณสุขของประเทศ
พิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า จากวิสัยทัศน์ ทรู 5G ที่มุ่งนำอัจฉริยภาพของเทคโนโลยี 5G เติมเต็มการใช้ชีวิตในทุกมิติ ด้วยความเชื่อว่าเครือข่าย ทรู 5G จะไม่เป็นเพียงแค่สัญญาณมือถือ
แต่เป็นสัญญาณยกระดับศักยภาพการแพทย์ดิจิทัล และสาธารณสุขของประเทศให้เหนือกว่าและยั่งยืนในทุกมิติ กลุ่มทรูมีความตั้งใจที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแลทั้งผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาทันที
สอดคล้องกับจุดเด่นของเทคโนโลยีอัจฉริยะ ทรู 5G ในเรื่องของศักยภาพความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับระบบการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่ (ER New Normal) ของโรงพยาบาลต้นแบบ “นพรัตนราชธานี“
พร้อมได้ส่งมอบนวัตกรรมด้านการแพทย์ที่หลากหลาย ซึ่งเชื่อมต่อด้วยซิม ทรู 5G–Ready และอุปกรณ์รับสัญญาณ CPE 5G ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G ที่ได้ติดตั้งไว้รอบโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด
เรามีความตั้งใจที่จะนำเทคโนโลยี ทรู 5G มาช่วยให้โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นต้นแบบ สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับหน่วยงานแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลอื่น ๆ ภายใต้สังกัดของกรมการแพทย์ต่อไป
“ที่ผ่านมาทาง ทรู ได้ ลงทุนไปแล้วกว่า 50 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงการทางการแพทย์ ในหลากหลายโครงการ เพื่อมุ่งหวังที่จะสร้างประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G กับวงการแพทย์ไทย”
วันนี้โครงการที่ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี หากสำเร็จก็จะสร้างให้เกิดต้นแบบที่จะสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางให้กับทางโรงพยาบาลจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศได้ แต่เรายังไม่สามารถประเมินได้ว่าในแต่ล่ะโรงพยาบาลนั้นจะต้องลงทุนเท่าได้หากจะนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้จริง ๆ เนื่องจากในแต่ล่ะพื้นที่ีความต้องการ และความจำเป็นในการใช้ที่แตกต่างกันไป
ด้าน โอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านแบรน ด์และการสื่อสาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า โลกใหม่ของ 5G ที่สมบูรณ์แบบไม่ใช่แค่เรื่องของเครือข่าย หรือความเร็วเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของเทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่จะช่วยยกระดับการดำเนินชีวิตในทุกมิติ
สร้างโลกใหม่ที่ยั่งยืนของทุกคน โดยเน้นการสื่อสารที่สะท้อนวิสัยทัศน์ของ ทรู 5G อัจฉริยภาพสู่โลกใหม่ที่ยั่งยืนของเรา ผ่านฮีโร่ต้นแบบในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะต้นแบบในมิติด้านสุขภาพ และการสาธารณสุข (World of Health and wellness)
อย่าง “หมอเจี๊ยบ” ลลนา ก้องธรนินทร์ ผู้เป็นทั้งฮีโร่ต้นแบบสะท้อนบทบาทของเทคโนโลยี ทรู 5G ในการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืน และเป็นตัวแทนของแพทย์แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ที่พร้อมจะนำเทคโนโลยีอัจฉริยะของ ทรู 5G ไปพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่ (ER New Normal) เพื่อช่วยยกระดับความปลอดภัย และสุขอนามัยของคนไทยให้ดีขึ้นด้วย โดย 4 โซลูชั่น ที่ทางทรูได้นำเข้าสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ได้แก่
- ทรู 5G MedTech Ambulance : อุปกรณ์รถพยาบาลฉุกเฉินอัจฉริยะ ที่ช่วยติดตาม และสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลกับภายในรถฉุกเฉินโดยไม่มีความหน่วง ทำให้แพทย์ที่อยู่ภายในรถสามารถสื่อสารกับแพทย์ที่อยู่ประจำโรงพยาบาลเพื่อจัดเตรียมการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และทันท่วงที
- AR Professional Consult Powered by ทรู 5G : ระบบการเชื่อมต่ออัจฉริยะเพื่อการสื่อสารเสมือนจริง สำหรับใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างแพทย์ฉุกเฉินและแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์เฉพาะทางจะเห็นภาพในมุมมองเดียวกันจากแว่นที่แพทย์ฉุกเฉินใส่ ทำให้สามารถให้ความเห็นได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
- ทรู 5G Temi Connect & CareBot : หุ่นยนต์สื่อสารอัจฉริยะ ที่นอกจากจะใช้ในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วย เพื่อลดการสัมผัสโดยตรง ยังสามารถช่วยส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เอกสาร หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก โดยสามารถบังคับได้จากระยะไกล
- Nopparat Teleclinic Powered by ทรู 5G : เทคโนโลยี Vhealth Platform แอปพลิเคชั่นสำหรับคัดกรอง ให้คำปรึกษา และวินิจฉัยโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาล โดยตรวจคัดกรองคนไข้ผ่านคำถามต่าง ๆ เพื่อเป็นการวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนที่จะเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาล และสามารถทำนัดกับแพทย์ได้ทันที ตามอาการที่ได้ระบุ หากจำเป็นต้องเข้ามาพบแพทย์ต่อไป
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th