AIS จับมือ Huawei เปิดตัวโปรแกรม RAN Intelligence Pioneers ยกระดับ 5G สู่ AN L4

RAN Intelligence Pioneers

เอไอเอส (AIS) จัมมือ หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวโปรแกรม RAN Intelligence Pioneers ยกระดับเครือข่าย 5G สู่ Autonomous Networks (AN) ระดับ 4…

AIS จับมือ Huawei เปิดตัวโปรแกรม RAN Intelligence Pioneers ยกระดับ 5G สู่ AN L4

เอไอเอส และ หัวเว่ย ได้ร่วมเปิดตัวโปรแกรม RAN (Radio Access Network) Intelligence Pioneers (เรดิโอ แอคเซส เน็ตเวิร์ก อินเทลลิเซ์ ไพโอเนียร์ หรือ รัน อินเทลลิเซ์ ไพโอเนียร์) ซึ่งเป็นความร่วมมือที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนวัตกรรม และพัฒนาสุดยอดเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะเพื่อยกระดับการสื่อสารไทยไปอีกขั้น

จากการที่ เอไอเอส ได้ตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนา Autonomous Networks (AN) ระดับ 4 (L4) ภายในปี 2025 โดยร่วมมือกับ หัวเว่ย ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะไร้สาย ซึ่งตลอดสองปีที่ผ่านมา ความร่วมมือนี้ทำให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่สำคัญ

เช่น การตรวจจับ และชดเชยกรณีการขัดข้องของสถานีฐาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการการจราจรของข้อมูลในช่วงเวลาที่มีปริมาณสูงอย่างชาญฉลาด นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเครือข่ายและเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้เป็นอย่างมาก

RAN Intelligence Pioneers

ทำให้ เอไอเอส บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในระดับ AN L3 ได้อย่างทันต่อสถานการณ์ และความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง โดยโปรแกรม รัน อินเทลลิเซ์ ไพโอเนียร์ ได้รวมผู้ประกอบการโทรคมนาคม และพันธมิตรในอุตสาหกรรม

เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะที่ล้ำสมัย และรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะขั้นสูง เช่น โมเดลพื้นฐาน (Foundation Model) และ ดิจิทัลทวิน (Digital Twin) ทั้งนี้เป้าหมายของโปรแกรม คือการค้นหาโอกาสทางธุรกิจ, การปรับปรุงการให้บริการมีประสิทธิภาพมากที่สุด

และการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจใหม่ และในกลุ่มนี้ เอไอเอส ถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญของโปรแกรมนี้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์สู่ Autonomous Network ระดับ 4 ซึ่งสามารถใช้ระบบในการบริหารจัดการเครือข่ายได้ด้วยตัวเองเกือบ 100%

เอไอเอส และ หัวเว่ย ได้ประกาศความร่วมมือใน 3 หัวข้อสำคัญ 

  1. นำเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อใช้ในการตัดสินใจจัดการโครงข่าย เพื่อมอบประสบการณ์ที่เชื่อถือได้และไม่เหมือนใครสำหรับผู้ใช้ 5G และ 5G-A ในอนาคต
  2. นำวิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทวิน (Digital Twin) เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลระบบโครงข่ายแบบ near realtime, การจำลองการให้บริการ และนำไปใช้ในการตัดสินใจ ในการจัดการโครงข่าย โดยมีเป้าหมายหลายประการ เช่น การประหยัดพลังงานอย่างชาญฉลาด ควบคู่กับการรักษาประสิทธิภาพสูงสุด
  3. พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้การสร้างสรรค์ (Generative AI)เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาเครือข่ายในแก้ไขปัญหา จากประสบการณ์ร่วมกับทางวิเคราะห์ข้อมูล และให้คำแนะนำสำหรับการแก้ปัญหา และรวมทั้งการคาดการณ์ล่วงหน้า
RAN Intelligence Pioneers
กิตติ งามเจตนรมณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เอไอเอส

กิตติ งามเจตนรมณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เอไอเอส กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส กับ หัวเว่ย ทำให้แผนงานของเรามีพัฒนาการอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ Autonomous Networks (AN) มาประยุกต์ใช้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การเข้าร่วมโปรแกรม รัน อินเทลลิเซ์ ไพโอเนียร์ ครั้งนี้ ทำให้เราสามารถยกระดับการดำเนินงานด้านเครือข่าย มอบประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างตรงใจ

พร้อมเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ Autonomous Network ระดับ 4 ที่จะพลิกโฉมจากผู้ให้บริการการสื่อสารแบบดั้งเดิม ไปสู่การเป็นผู้นำในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

RAN Intelligence Pioneers
Calvin Zhao ประธาน Huawei Wireless Network MAE Product Line

ด้าน Calvin Zhao ประธาน Huawei Wireless Network MAE Product Line กล่าวว่า หัวเว่ย มุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการ และพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย และค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ผ่านโปรแกรม รัน อินเทลลิเซ์ ไพโอเนียร์ เราจะสนับสนุน เอไอเอส ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ของ AN L4 ในการเปิดตัวเครือข่าย 5G ขับเคลื่อนการปฏิวัติทางปัญญาไร้สายร่วมกัน

 

โปรแกรม รัน อินเทลลิเซ์ ไพโอเนียร์ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้ให้บริการตั้งแต่เปิดตัวในงาน MWC Shanghai เมื่อเดือนมิถุนายน 2024 ด้วยความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ให้บริการ และพันธมิตรในอุตสาหกรรม โปรแกรมนี้จะขับเคลื่อนนวัตกรรมทางปัญญาในอุตสาหกรรม และสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะทั่วโลก

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

ITDay

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.