Whoscall เผย 1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

Whoscall

ฮูส์คอลล์ (Whoscall) เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก (GASA): 1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา…

highlight

  • ฮูส์คอลล์ ร่วมกับ Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ Scam Adviser จัดทำรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 เพื่อแสดงถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อคนไทย ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา พบ กว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยกว่า 58% รับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 
  • ขณะที่ 89% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพ อย่างน้อยเดือนละครั้ง และ 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินให้มิจฉาชีพภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ และมีเพียง 2% ที่ได้ทรัพย์สินคืนทั้งหมดหลังจากถูกหลอก โดยมีมูลค่าความเสียหายจากการถูกหลอกเฉลี่ยอยู่ที่ 1,106 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,000 บาทต่อคน โดยการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล และการหลอกลวงที่ใช้เทคโนโลยี AI  เป็นรูปแบบกลโกงที่ถูกพบมากที่สุด

Whoscall เผย 1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

Whoscall

แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) กล่าวว่า แม้จะมีความพยายามในการ ป้องกัน ภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการ หลอกลวง และความพยายามในการหลอกกลวงจากมิจฉาชีพ

รายงานที่เราได้จัดทำ ร่วมกับ GASA และ Scam Adviser ในปีนี้แสดงให้เห็นถึงระดับความถี่ของการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึง ข้อมูลเชิงลึกกลลวงใหม่ๆ จากมิจฉาชีพ และผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยพบว่ามูลค่าความเสียหายที่เหยื่อถูกหลอก จากมิจฉาชีพเฉลี่ยสูงถึง 1,106 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,000 บาทต่อคนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

การหลอกลวงเกิดบ่อยขึ้น และมีมูลค่าความเสียหายมากขึ้นแม้ว่าคนจะรู้ทันมิจฉาชีพ

Whoscall

รายงานระบุว่าคนไทยมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพมากขึ้นโดย 55% มั่นใจว่ารู้ทันกลลวง มิจฉาชีพด้วยการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ 44% และใช้แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความถูก ต้องของข้อมูลที่ได้รับ 37% อย่างไรก็ตาม 89% เผยว่ายังต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง

และ 58% ระบุว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้น โดยเกือบ 10% ระบุว่าถูกก่อกวนจากมิจฉาชีพถี่ขึ้นต่อเดือน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ 35% ได้รับโทรศัพท์ และข้อความหลอกลวงหลายครั้งต่อสัปดาห์
รายงานยังพบว่าการโทรเข้า และส่งข้อความผ่านมือถือยังเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด

Whoscall

 

ตามด้วย โฆษณาออนไลน์ การใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ สำหรับส่งข้อความ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทาง ที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุดในการหลอกลวง ได้แก่ Facebook 50% ตามด้วย Line 43%, Messenger 39%, TikTok 25% และ Gmail 20%

ทั้งนี้การได้รับคืนเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปนั้นทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีผ่านมา ผลสำรวจจพบว่ากว่า 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ โดยมีเหยื่อเพียง 2% ได้เงินที่ ถูกหลอกไปคืนทั้งหมด

แต่มีเหยื่อมากถึง 71% ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ และ 73% ระบุว่าได้รับ ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงหลังจากถูกหลอก

การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้เทคโนโลยี AI เป็นวิธีการหลอกลวงที่แพร่หลาย

การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Thef) และการใช้เทคโนโลยี AI เป็นรูปแบบกลโกงที่มิจฉาชีพใช้มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ผลสำรวจระบุว่าการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลอก ให้เหยื่อโอนเงิน เป็นกลลวงที่พบมากที่สุดถึง 22% แซงหน้าการหลอกลวงให้ซื้อสินค้า (shopping scams) 19% ตามมาด้วยการออกใบแจ้งหนี้ปลอม หรือการหลอกให้ชำระหนี้ 16% และการหลอกให้ลงทุน 14% ตามลำดับ

นอกจากนี้ รายงานระบุว่าคนไทยมีความตระหนักรู้มากขึ้นว่ามิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาเป็นเทคนิคใหม่ในการ เขียนข้อความสร้างบทสนทนาเลียนแบบเสียง รวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบ ต่าง ๆ โดย 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI

Whoscall

จอริจ อับบราฮัม (Jorij Abraham) ผู้จัดการทั่วไปGlobal Anti-Scam Alliance (GASA) กล่าวว่า รายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน เพิ่มการดำเนินการที่เข้มงวดและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน

เกี่ยวกับภัยจาก มิจฉาชีพ  จากความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล และผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหายทำให้เรา จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อปกป้องประชาชน และฟื้นความเชื่อมั่นในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล

เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่เพิ่มขึ้น บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย จึงให้ความสำคัญกับการออกมาตรการในระยะยาว เพื่อป้องกันกลลวงในรูปแบบที่เน้นการจัดการความเสี่ยง และเสริมสร้างความระมัดระวัง ให้แก่ประชาชนจากการให้ความรู้ 

Whoscall

“ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาเครื่องมือ ที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ของบริษัท ในการร่วมต่อต้านการหลอกลวงทุกรูปแบบ

เรามีการผสานเทคโนโลยี AI เพื่อพัฒนาฟีเจอร์ ใหม่บนแอปพลิเคชัน ฮูส์คอลล์ ทั้งเวอร์ชั่นฟรี และพรีเมียมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อปกป้องผู้ใช้งานทุกคน โดยนอกเหนือจากฟีเจอร์ Caller ID และ Smart SMS Assistant ที่เป็นด่านหน้าในการป้องกันสายโทรเข้า และข้อความหลอกลวงแล้ว

ปัจจุบัน ฮูส์คอลล์ ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ เช่น ID Security (เช็กข้อมูลรั่วไหม) เพื่อช่วยตรวจสอบความปลอดภัย ของข้อมูลส่วนบุคคลเช็ก Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิก ลิงก์ฟิชชิ่ง รวมไปถึง Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพแห่งแรกในไทยอีกด้วย” แมนวู กล่าว

Whoscall

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุม the second GASA Global Anti-Scam SummitAsia (GASS) ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติเพื่อต่อต้านการหลอกลวงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก GASA ผู้แทนจากองคกร์ระดับโลกอย่าง Amazon, Google, Gogolook, Mastercard และ Meta

รวมถึงเจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สถาบันการเงิน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เข้าร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และพัฒนากลยุทธ์เพื่อปกป้องผู้คนจากการหลอกลวง

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

ITDay