เอดับบลิวเอส (AWS) เปิดบริการบริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ในชิ่อ AWS Region ในไทย หวังช่วยสร้าง GDP ไทย โตกว่า 1 หมื่นล้าน…
highlight
- เอดับบลิวเอส เปิดบริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ (AWS Region) เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าในการใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และจัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัยภายในประเทศ รับความต้องการบริการคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศไทย และทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน พร้อมกางแผนลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานโดยเฉลี่ยกว่า 11,000 ตำแหน่งต่อปี ส่งผลให้ GDP ของไทยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
AWS เปิดบริการ AWS Region ในไทย รับความต้องการบริการคลาวด์ที่เพิ่มสูง และช่วยสร้าง GDP โตกว่า 1 หมื่นล้าน
เอดับบลิวเอส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Amazon.com, Inc. ประกาศเปิดตัว AWS Asia Pacific (Thailand) Region อย่างเป็นทางการในวันนี้ การเปิดตัวนี้จะเพิ่มทางเลือกให้กับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนา สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และองค์กรธุรกิจ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา
และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร จะมีตัวเลือกมากขึ้นในการใช้งานแอปพลิเคชันและให้บริการลูกค้าผ่านศูนย์ข้อมูลของ เอดับบลิวเอส ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เอดับบลิวเอส ได้ให้คำมั่นว่าจะลงทุนระยะยาวในประเทศไทย โดยวางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
เอดับบลิวเอส คาดการณ์ว่า การสร้าง และดำเนินงานของ “เอดับบลิวเอส ลีเจนด์” (AWS Region) แห่งใหม่ในประเทศไทยจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างมาก โดยจะช่วยเพิ่มมูลค่า GDP ของประเทศไทยให้กับสูงขึ้นอีกประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ยังจะสนับสนุนการจ้างงานเต็มเวลาเฉลี่ยมากกว่า 11,000 ตำแหน่งต่อปี ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตำแหน่งงานเหล่านี้จะครอบคลุมหลากหลายสาขา ได้แก่ การก่อสร้าง การดูแลรักษาอาคาร วิศวกรรม โทรคมนาคม และอื่น ๆ
ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของ เอดับบลิวเอส ในประเทศไทย
ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม กล่าวว่า วันนี้เรื่องการทรานฟอร์เมชั่นสูดิจิทัล ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแค่ในระดบของเมืองใหญ่ หรือหัวเมืองเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำให้ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อให้ประชาชนทั่วทุกพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อไปต่อยอดได้
ซึ่งการที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลตามเป้าหมายของประเทศได้นั้น เรื่องที่สำคัญการที่การที่ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่ดีมากเพียงพอ ซึ่งการที่ทาง เอดับบลิวเอส เข้ามาลงทุนในด้านบริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ และเลือให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งนี้
จะทำให้องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย มีทางเลือกในการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่ได้รับการยอมรับในระดบโลก ซึ่งจะช่วยต่อยอดธุรกิจของตนเองเข้าสู่ระบบดิจิทัลผ่านเทคโนโลยี และโซลูชั่นที่ทันสมัยในรูปแบบต่าง ๆ และขยายไปสู่นานาประเทศได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
ซึ่งในอนาคตทางรัฐบาลหวังว่า เอดับบลิวเอส จะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่สังคมดิจิทัลที่ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อช่วยให้ประชาชนทุกคนของไทยสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลได้อย่างทั่วถึง
เอดับบลิวเอส ลีเจนด์ ประเทศไทย “อนาคต” ศูนย์กลาง AI ของภูมิภาค
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ของ เอดับบลิวเอส ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหันมาใช้บริการคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากลูกค้าหลายรายได้ค้นพบประโยชน์อันมหาศาลจากระบบคลาวด์ที่ครอบคลุม น่าเชื่อถือ และปลอดภัยที่สุดในโลกของเรา
เอดับบลิวเอส ลีเจนด์ แห่งใหม่ในประเทศไทยจะช่วยให้ลูกค้าในทุกอุตสาหกรรมสามารถใช้งานแอปพลิเคชันขั้นสูงด้วยเทคโนโลยี เอดับบลิวเอส ที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยบริการพื้นฐาน เช่น การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และระบบเครือข่าย และบริการชั้นสูงที่ช่วยให้ธุรกิจก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
เช่น เอดับบลิวเอส และแมชชีนเลิร์นนิง ซึ่ง เอดับบลิวเอส รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลาง AI ของภูมิภาค
โดยการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Thailand) Region ในครั้งนนี้ ทำให้ เอดับบลิวเอส มี Availability Zones รวมทั้งสิ้น 111 แห่ง ใน 35 เอดับบลิวเอส ลีเจนด์ ทั่วโลก นอกจากนี้ เอดับบลิวเอส ยังมีแผนที่จะเปิดตัว Availability Zones เพิ่มอีก 15 แห่ง และ เอดับบลิวเอส ลีเจนด์ อีก 5 แห่ง
ในเม็กซิโก นิวซีแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ไต้หวัน และ AWS European Sovereign Cloud ทั้งนี้ เอดับบลิวเอส ลีเจนด์ ประกอบด้วย Availability Zones ที่มีโครงสร้างพื้นฐานแยกกันตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ สำหรับ AWS Asia Pacific (Thailand) Region นั้นมี Availability Zones อีก 3 แห่ง
ซึ่งตั้งอยู่ห่างกันเพียงพอที่จะรองรับบริการที่ให้ความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า แต่ก็อยู่ใกล้กันพอที่จะให้บริการด้วยความหน่วงต่ำสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการความพร้อมใช้งานสูง แต่ละ Availability Zone มีระบบไฟฟ้า ระบบทำความเย็น และระบบรักษาความปลอดภัยที่แยกเป็นอิสระจากกัน
โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่มีความหน่วงต่ำมากและมีระบบสำรองหลายชั้น ด้วยโครงสร้างนี้ ลูกค้า เอดับบลิวเอส ที่ต้องการความพร้อมใช้งานสูงสามารถออกแบบแอปพลิเคชันให้ทำงานในหลาย Availability Zones เพื่อเพิ่มเสถียรภาพ รวมถึงมีความยืดหยุ่น และทนทานสูงมากยิ่งขึ้น
บริการหลากหลาย และครอบคลุมในกลุ่มธุรกิจคลาวด์
เอดับบลิวเอส มีบริการที่หลากหลาย และครอบคลุมที่สุดในกลุ่มธุรกิจคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ และประมวลผล ระบบฐานข้อมูล เทคโนโลยี IoT รวมถึง Generative AI และแมชชีนเลิร์นนิง บริการสำหรับอุปกรณ์มือถือ ระบบจัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์อื่น ๆ อีกมากมาย ลูกค้าทุกประเภท
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ องค์กรขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงของ เอดับบลิวเอส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำระดับโลกเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม
ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลภายในประเทศ เพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว และตอบโจทย์ความต้องการใช้คลาวด์ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ด้วยความเข้มแข็งของเครือข่ายพาร์ทเนอร์ของเอดับบลิวเอส (AWS Partner Network หรือ APN)
ซึ่งมีทั้งบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ (ISVs) และบริษัทที่ให้บริการรวมระบบ (SIs) นับหมื่นรายทั่วโลก จะทำให้สามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุม โดยพาร์ทเนอร์เหล่านี้พัฒนาโซลูชัน และบริการนวัตกรรมบน เอดับบลิวเอส โดยมี APN ให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ
ได้แก่ ด้านธุรกิจ เทคนิค การตลาด และการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด พาร์ทเนอร์ของ เอดับบลิวเอส ที่เป็น ISV พาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยี และพาร์ทเนอร์ที่ปรึกษาของ เอดับบลิวเอส ช่วยเหลือลูกค้าองค์กรและภาครัฐในการย้ายระบบมาสู่ เอดับบลิวเอส ติดตั้งแอปพลิเคชันที่สำคัญ ตลอดจนให้บริการด้านการตรวจสอบ จัดการระบบอัตโนมัติ และดูแลสภาพแวดล้อมคลาวด์แบบครบวงจร
โดยปัจจุบัน เอดับบลิวเอส มีพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยหลายราย ได้แก่ Com7, Dailitech, Dakok, Deloitte, Fujitsu, G-Able, Inteltion, Metro Systems, MFEC, NTT DATA, SiS Distribution, SoftwareOne, True IDC และ Yip in Tsoi & Co., Ltd. เป็นต้น
การลงทุนของ “เอดับบลิวเอส“ ในประเทศไทย
เอดับบลิวเอส ได้เปิดตัว AWS Asia Pacific (Thailand) Region แห่งใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบบริการคลาวด์ที่ทันสมัย และปลอดภัย พร้อมทั้งโครงการพัฒนาทักษะ การฝึกอบรม และการมีส่วนร่วมกับชุมชน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2563
เอดับบลิวเอส ได้เปิด Amazon CloudFront edge locations กว่า 6 แห่ง ในไทย ช่วยให้การส่งข้อมูล วิดีโอ แอปพลิเคชัน และ API ไปยังผู้ใช้งานทั่วโลกเร็วขึ้นและมีความหน่วงต่ำ นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัว AWS Outposts เพื่อให้องค์กรสามารถใช้บริการคลาวด์ได้อย่างไร้รอยต่อ
สร้างประสบการณ์ไฮบริดที่สอดคล้องกันอย่างแท้จริง ในปีพ.ศ. 2565 เอดับบลิวเอส ได้เพิ่มการลงทุนในประเทศไทยด้วยการเปิดตัว AWS Local Zones ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่นำการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล และบริการที่คัดสรรมาไว้ใกล้กับประชากรจำนวนมาก
และศูนย์กลางอุตสาหกรรม ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานแอปพลิเคชันที่ต้องการความเร็วสูงระดับมิลลิวินาทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านการพัฒนาบุคลากร เอดับบลิวเอส ได้ดำเนินการฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ให้แก่บุคลากรในประเทศไทยมากกว่า 50,000 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ผ่านโครงการต่าง ๆ
เช่น AWS Skills to Jobs Tech Alliance โครงการ AWS Training & Certification และโครงการ “Tech for Digital Future” ซึ่งได้เปิดตัวในประเทศไทย เพื่อมอบทักษะคลาวด์ขั้นพื้นฐานให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานคลาวด์เป็นภาษาไทย
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งโครงการสำคัญคือ AWS Academy ซึ่งมอบหลักสูตรคลาวด์ที่พร้อมสอนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายให้กับสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสู่การทำงานด้านคลาวด์ และมอบใบรับรองจาก เอดับบลิวเอส ซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและตลาดแรงงานด้านคลาวด์
ปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกว่า 30 แห่ง เข้าร่วมโครงการ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยสยาม และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โดยมีหลักสูตรที่จัดสอนครอบคลุมหัวข้อหลากหลาย ตั้งแต่พื้นฐานคลาวด์ การออกแบบสถาปัตยกรรมคลาวด์ การปฏิบัติการคลาวด์ การพัฒนาคลาวด์ และวิศวกรรมข้อมูล
นอกจากนี้ ยังมีใบรับรองเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับแมชชีนเลิร์นนิง ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และด้านอื่น ๆ นับตั้งแต่เริ่มโครงการ AWS Academy ได้ฝึกอบรมนักศึกษาแล้วกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก
ความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน
Amazon มีเป้าหมายชัดเจนในการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าที่จะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในทุกการดำเนินงานภายในปีพ.ศ. 2583 ซึ่งเร็วกว่าข้อตกลงปารีสถึง 10 ปี Amazon เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง The Climate Pledge และเป็นบริษัทแรกที่ลงนามในปีพ.ศ. 2562
เอดับบลิวเอส มุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรับปรุงการออกแบบศูนย์ข้อมูล การลงทุนในชิปที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อระบายความร้อนแบบใหม่ จากรายงานของ Accenture ที่ได้รับมอบหมายจาก เอดับบลิวเอส
พบว่า โครงสร้างพื้นฐานของ เอดับบลิวเอส มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้งานระบบไอทีภายในองค์กรถึง 4.1 เท่า และการใช้งานบน เอดับบลิวเอส สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้สูงสุดถึง 99% ด้วย AWS Asia Pacific (Thailand) Region ใหม่ ลูกค้าจะได้รับประโยชน์ด้านความยั่งยืนของ เอดับบลิวเอส ที่มีในทุกโครงสร้างพื้นฐาน
- สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกของ เอดับบลิวเอส สามารถเยี่ยมชมได้ที่ aws.amazon.com/about–aws/global–infrastructure
- รายชื่อพาร์ทเนอร์ของ เอดับบลิวเอส ทั้งหมด สามารถเยี่ยมชมได้ที่ aws.amazon.com/partners
- ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความยั่งยืนของ เอดับบลิวเอส สามารถเยี่ยมชมได้ที่ aws.amazon.com/about-aws/sustainability
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th