รมว.พาณิชย์ เปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติปั้นหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ที่สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ…
highlight
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิ
ชย์ เปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติ การด้านการค้าออนไลน์สู่ ตลาดโลกหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ที่สถาบันพัฒนาผู้ ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ เร่งปั้นเกษตรกรยุคใหม่ (Smart Farmer) ผ่านหลักสูตรออนไลน์
โดยในงานสัมมนา จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิ
ซึ่งตรงกับสิ่งที่รัฐบาลให้
จากจังหวัดขอนแก่น ที่ต้องการเจาะกลุ่มผู้รักสุ
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการค้าออนไลน์สู่ตลาดโลกหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ที่จัดโดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยโครงการนี้เกิดขึ้นภายใต้หลักคิด “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด”
ซึ่งได้มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานมีความสำคัญทั้งด้านการผลิตและการตลาด จึงจำเป็นที่จะต้องทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค New Normal
ทางเศรษฐกิจ โดยมีการเปลี่ยนแพลตฟอร์มเข้าสู่อีคอมเมิร์ซหรือการค้าออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญ โดยเฉพาะในขณะที่ทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของโควิด-19 ดังนั้นการจัดการสัมมนาอบรมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการส่งออกโดยระบบอีคอมเมิร์ซ และระบบออนไลน์
จึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรเพราะมีความสำคัญต่อตัวเลขการส่งออกของประเทศ โดยพบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรมากถึง 40% และมีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากถึง 10 ล้านคน
ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความรู้ และสามารถขายสินค้าของตนเองบนแพลตฟอร์มออนไลนได้นั้น จะช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางในการกระจายสินค้า และเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้มากยิ่งขึ้น
ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้มีการดำเนินการในเรื่องของการตลาด เพื่อระบายพืชผลทางการเกษตรหลายชนิด โดยเฉพาะการกระจายผลไม้ออกสู่ตลาด และได้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่ากระทรวงพาณิชย์จะทำหน้าที่ทางการตลาด โดยเข้าไปช่วยเกษตรกรกระจายผลไม้ออกสู่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ผ่านการขายแบบออฟไลน์ และออนไลน์ สำหรับการระบายผลไม้ของตลาดในประเทศผ่านรูปแบบออฟไลน์นั้น จะเป็นการระบายผลไม้ผ่านตลาดไท ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้าในแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนตลาดออนไลน์ จะมุ่งเน้นการระบายสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
โดยที่ผ่านมาได้เปิดโครงการ Thailand Fruits Golden Months ซึ่งเป็นการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ทั้งภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศในช่วง 2 เดือนโดยเริ่มตั้งแต่พฤษภาคม-มิถุนายน 2563 โดยในช่วงดังกล่าวถือว่า เป็นช่วง 2 เดือนทองสำหรับการบริโภคผลไม้ของไทยคุณภาพในราคาพิเศษ
สำหรับการขายออนไลน์ในประเทศมีแพลตฟอร์มชั้นนำของไทยหลายแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนพลผลไม้ได้ขายผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ Thailandpostmart, Shopee, Lazada, JD Central, Jatujakmall, Cloudmall, The Hub Thailand และ Octorocket.asia
ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดําเนินการแล้ว ด้านตลาดต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการร่วมมือกับแพล็ตฟอร์มระดับโลก หลายแพลตฟอร์มด้วยกัน ได้แก่ Tmall (จีน), Bigbasket (อินเดีย), Khaleang.com (กัมพูชา) , Aeon (ญี่ปุ่น) , Amazon (สิงคโปร์และสหรัฐฯ)
และ Lotte (เกาหลีใต้) เป็นต้น รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายออนไลน์กับเว็บไซต์พันธมิตรในตลาดอาเซียน จีน และยุโรป และเพิ่มกิจกรรมเจรจาธุรกิจผ่านทางออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งล่าสุดได้มีการเจรจากับผู้นําเข้ามะม่วงจากเกาหลี โดยนำเข้าผ่านการเจรจาออนไลน์แล้วได้ 3,200 ตัน มูลค่าถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น
การจัดงานสัมมนาออนไลน์ ได้มีผู้ประกอบการ และเกษตรกร เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ดี ที่เกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่
โดยหวังว่าจะประสบความสำเร็
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th