dtac เดินหน้าปฏิวัติองค์กรด้วยความต้องการลูกค้า เพื่อมอบประสบการณ์ไร้รอยต่อ ด้วย เทคโนโลยี Massive MIMO และระบบ 4G-TDD ย้ำ 5G ยังไม่ใช่สิ่งผู้บริโภคต้องการในปัจจุบัน แต่เป็นโครงข่ายที่ครอบคลุม และเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้…
highlight
- ดีแทคเล็งเห็นพฤติกรรมผู้บริ
โภคที่เปลี่ยนแปลง 4 ด้าน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 อันได้แก่ อำนาจการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง การใช้งานช่องทางดิจิทัลที่ มากขึ้น คลื่นแรงงานที่หลั่งไหลกลับภูมิ ลำเนา และการใช้งานดาต้าที่เพิ่มสูงขึ้ นอย่างมีนัยสำคัญ - ดีแทคตอบสนองความต้องการของลู
กค้า ด้วยการมอบประสบการณ์ดิจิทั ลแบบไร้ร้อยต่อและข้ อเสนอในราคาที่จับต้องได้ รวมไปถึงบริการเสริมที่มุ่งแบ่ งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน - “ผู้ใช้งานเปลี่ยน เน็ตเวิร์กเปลี่ยน“ ดีแทคเร่งเดินหน้ายกประสิทธิ
ภาพการรับส่งสัญญาณให้ดีขึ้น 3 เท่า ในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น ในยามที่ปริมาณการใช้งานดาต้ าในพื้นที่ภูมิภาคนั้นเติบโตสู งกว่ากรุงเทพฯ - ซีอีโอของดีแทคกล่าวถึ
งความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนรู ปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่น เพื่อตอบรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ ยนแปลงไป
dtac เดินหน้าปฏิวัติองค์กรด้วยความต้องการลูกค้า เพื่อมอบประสบการณ์ไร้รอยต่อ
ดีแทคเผยกลยุทธ์ 3 ประการ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย อันได้แก่ การสร้างระบบนิเวศดิจิทัลแบบไร้รอยต่อ การพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายทั่วประเทศรองรับพฤติกรรมใหม่ และการอพยพเคลื่อนย้ายของผู้บริโภค และการทำงานในรูปแบบวิถีใหม่
จากรายงานของธนาคารโลก ประชากรไทยจำนวนกว่า 8.3 ล้านคนนั้นเสี่ยงต่อการตกงาน หรือสูญเสียรายได้ เพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ดีแทคจึงได้มอบสิทธิพิเศษ และบริการต่าง ๆ ในราคาที่เป็นมิตร และช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้ลูกค้าที่เป็นคนฐานใหญ่ของประเทศ เพื่อตอบสนองกับความต้องการพื้นฐานของลูกค้า
อาทิ ประกันสุขภาพ และการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ยิ่งไปกว่านั้น ดีแทคยังเร่งเดินหน้าติดตั้งเทคโนโลยี Massive MIMO และระบบ 4G–TDD เพื่อรองรับการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารของลูกค้าดีแทคกว่า 76% นั้นรองรับระบบ 4G–TDD ในวันที่ผู้บริโภคต้องอาศัย “การเชื่อมต่อและบริการดิจิทัล” เป็นเครื่องมือหลักในการดำรงชีวิต
ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ลูกค้าของเราได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะเดียวกัน ปริมาณการใช้งานดาต้า และช่องทางดิจิทัลของลูกค้าดีแทคก็เพิ่มสูงขึ้นกว่าในอดีต
วันนี้ดีแทคเชื่อว่า ผู้บริโภค ต้องการบริการที่ใส่ใจมากขึ้ หลังโควิด-19 โดยผู้บริโภคต้องการการสนับสนุนจากผู้ให้บริหารเครือข่ายมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้เกิดการจ้างงานที่น้อยลง และทำให้คนกับไปทำงานที่ภูมิลำเนาของตัวเอง ผู้บริโภคจึงมองหาเทคโนโลยี หรือโซลูชั่น ที่จะช่วยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของเราจึงเป็นการเดินหน้าพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายสำหรับลูกค้าทุกคน รวมทั้งมอบข้อเสนอ และบริการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของลูกค้าด้วย ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยขนานใหญ่ ได้แก่
- ปริมาณการใช้งานดาต้าเฉลี่ยในแต่ละเดือนนั้นเติบโตขึ้นกว่า 44% จากเดือนมกราคมถึงมิถุนายน หลังความนิยมในแอปพลิเคชันสำหรับการทำงานที่บ้านอย่าง Zoom และ MS Teams และบริการที่จำเป็นจำพวกระบบการเรียนออนไลน์ การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ต่างก็เติบโตพุ่งพรวด
- การแลกสิทธิพิเศษดีแทค รีวอร์ดในหมวดที่เกี่ยวข้องกับการช้อปปิ้งออนไลน์และบริการสั่งอาหารออนไลน์นั้นเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 เท่าในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เนื่องจากการปิดตัวของร้านค้าต่างๆ นั้นผลักดันให้ผู้บริโภคหันไปใช้งานช่องทางออนไลน์มากขึ้น
- ปริมาณการใช้งานดาต้าในพื้นที่ภูมิภาคนั้นเติบโตสูงกว่ากรุงเทพฯ 5 เท่า และยังคงอยู่ในระดับที่สูงแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว อันเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าคนจำนวนมากเลือกเดินทางกลับไปใช้ชีวิตในภูมิลำเนา มากกว่าการเผชิญชีวิตในกรุงเทพฯ ในฐานะคนว่างงาน
ด้วยเหตุนี้เอง ดีแทคจึงมุ่งยกระดับประสบการณ์การใช้งานดิจิทัล ผ่านการเชื่อมต่อโลกออฟไลน์ และออนไลน์เข้าด้วยกัน พร้อมทั้งจับมือกับพันธมิตรธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอบริการบนดีแทคแอปที่เป็นประโยชน์ และช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
- ประสบการณ์ดิจิทัล ดีแทคแอปช่วยให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อประสบการณ์บนโลกออฟไลน์ และออนไลน์ได้อย่างไร้ร้อยต่อ ด้วยบริการเสริมต่างๆ ที่มาในรูปแบบเกม และกิจกรรมสนุก ๆ ไปจนถึงทางเลือกการจับจ่ายใช้สอยที่หลากหลายและบริการเดลิเวอรี่
- ราคาที่จับต้องได้ นอกเหนือจากการมอบข้อเสนอดาต้าฟรีที่หลากหลาย ในช่วงที่มีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มข้นแล้ว ดีแทคยังมีแพ็กเกจราคาเบา ๆ ในรูปแบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ซึ่งสามารถเลือกสมัครได้ตามการใช้งาน และงบประมาณ
- บริการใหม่ ๆ ดีแทคเดินหน้าเปิดตัวบริการเสริมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างทันท่วงที อาทิ ประกันสุขภาพ และคูปองส่วนลดสำหรับร้านขายยา
ด้าน ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวเสริมว่า เราพยายามที่จะดูแลลูกค้าของดีแทค ด้วยสิทธิ์พิเศษต่าง ๆ และส่งมอบบริการที่ดี และตอบไลฟ์สไตด์ของคนไทย ด้วยบริการที่เหมาะสมกับช่วงเวลานั้นจริง ๆ
เป้าหมายคือการสร้างเน็ตไฮสปีดสำหรับทุกคน
ลาร์ส มาร์คุส แอดอุรทุสซัน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า แต่อย่างไรก็ดีเราต้องการที่ส่งมอบบริการโครงข่ายที่ดีด้วย เพราะในช่วงที่ผ่านมาความต้องการของผู้บริโภคต้องการสปีดเน็ตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด
ดีแทคจึงมีเป้าหมายที่จะขยาย Massive MIMO และ 4G TDD เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอีก 3 เท่า ซึ่งเรามีแผนที่จะขยายเสา TDD เพิ่มอีก 20,000+ สถานี ซึ่งคาดว่าในอนาคตความต้องการใช้ ดาต้า ในต่างจังหวัดจะเพื่มมากกว่ากรุงเทพ 5 เท่า แน่นอนว่าดีแทคยังคงให้ความสำคัญต่อการช่วยภาคอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน
ดังนั้นดีแทคจะยังคงเดินหน้าลงทุนด้านโครงข่ายอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เพื่อตอบรับการหลั่งไหลกลับภูมิลำเนาของแรงงานจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และกระแสการทำงานแบบ remote working
- การขยายบริการคลื่น 2300 MHz บนคลื่นทีโอที เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยตั้งเป้าจะเพิ่มสถานีฐานบนเครือข่าย 4G-TDD เป็นจำนวนมากกว่า 20,000 สถานีฐาน ภายในปี 2563 ตอกย้ำสถานะของดีแทคในฐานะผู้นำในการให้บริการบนระบบ 4G-TDD ซึ่งเป็นระบบที่สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่รองรับการใช้งาน
- การเร่งขยาย Massive MIMO ในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่นทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า และยกระดับประสบการณ์ใช้งานทั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือและเน็ตบ้านแบบใหม่ (dtac@home)
- เดินหน้าติดตั้งสถานีฐาน 5G คลื่น 26 GHz ในพื้นที่ที่กำหนดเปิดให้บริการ (โดยเริ่มติดตั้งในไตรมาส 2) และคลื่น 700 MHz (รอใบอนุญาตจากสำนักงาน กสทช.) ในรูปแบบทดสอบการใช้งาน (use case) สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม ในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อให้บริการในไตรมาส 3 อาทิ กล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ และ Fixed Wireless Access (FWA) หรือบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงประจำที่
- ติดตั้งคลื่น 700 MHz เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของสัญญาณในภูมิภาคสำคัญ (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสำนักงาน กสทช. ที่จะอนุญาตให้ใช้งานคลื่นความถี่ 700 MHz)
5G ยังไม่ใช่สิ่งผู้บริโภคต้องการ แต่ต้องการโครงข่าย และเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า เรายังยืนยันคำเดิมในการลงทุน ด้วยเม็ดเงินลงทุนตามที่แจ้งไว้ในไตรมาส 2 (8,000-10,000 หมื่นล้าน) ส่วนกรณีการขยายการลงทุนไป 5G นั้นยังอยู่เป็นรูปแบบการทดสอบ
ยังไม่มีแผนในการนำมาใช้ให้บริการเชิงพาณิชย์ในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน เรามองว่าด้วยสถาการณ์ที่เป็นอยู่ทำให้คนเปลี่ยนไปใช้ 5G ช้าลง การที่ดีแทคยังไม่ทำ 5G ในช่วงนี้เพราะเรามองว่าวันนี้สิ่งที่จำเป็นจริง ๆ สำหรับผู้บริโภคคืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่ง 4G ก็เหมาะสมกับความต้องการในปัจจุบันแล้ว
แต่ 5G ในวันนี้เหมาะกับงานที่ภาคอุตสาหกรรมมากกว่าในส่วนของผู้บริโภคทั่วไป แต่อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าเราไม่ให้ความสนใจในเทคโนโลยี 5G เพราะเราเองก็มีโครงการทดสอบอยู่ แต่แค่เพียงตอนนี้ 5G ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องการมากขนาดนั้นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมก็ยังไม่สามารถลงทุนไปได้เร็วขนาดนั้น
“เราต้องการให้ความสำคัญสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ช่วยคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ไม่ใช่เทคโนโลยีอนาคตที่ยังมีเวลาให้พัฒนา”
งบการลงทุนขยาย ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท นั้นเป็นงบที่เราคิดว่าเพียงพอจากที่ประเมิน แต่หากว่ามีความต้องเพิ่มเราก็พร้อมลงทุนเพิ่ม
หลักการทำงานแบบ “ชัดเจน–ยืดหยุ่น–ชัดเจน” (tight-loose-tight)
ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวเสริมว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ดีแทคได้เดินหน้าปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานภายในองค์กรให้สอดรับกับยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน
การนำ “ระบบควบคุมอัตโนมัติ“ ( automation) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และช่วยย่นระยะเวลาให้สามารถส่งมอบสินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อันจะยิ่งช่วยเพิ่มศักยภาพองค์กรในการแข่งขันในตลาดได้อย่างสำคัญ ลดภาระงานของมนุษย์ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่
ปัจจุบัน ออฟฟิศทุกแห่งของดีแทคนั้นอนุญาตให้พนักงานกว่า 95% ทำงานแบบยืดหยุ่น โดยพนักงานจะสลับกันเข้าออฟฟิศในแต่ละสัปดาห์หรือในวันที่จำเป็นเท่านั้น
ซึ่งดีแทคนั้นใช้รูปแบบการทำงานแบบ “ชัดเจน–ยืดหยุ่น–ชัดเจน“ (tight-loose-tight) คือเราชัดเจนในเรื่องความคาดหวัง ยืดหยุ่นในวิธีการที่พนักงานใช้ในการบรรลุเป้าหมาย และชัดเจนในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ เราเชื่อว่าพนักงานนั้นมองหารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
เนื่องจากการทำงานในลักษณะนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจ อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลและความพึงพอใจของพนักงาน โดยดีแทคยังมีแผนจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการนำระบบออโตชันมาใช้ในส่วนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบปฏิบัติการโครงข่าย และในฟังก์ชันธุรกิจต่าง ๆ ทั้งนี้ ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
พนักงานจะได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน “BOTATHON“ ซึ่งทีมที่ชนะจะมีโอกาสสร้าง “หุ่นยนต์ผู้ช่วย“ ของตนเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อย่นระยะเวลาการทำงาน ป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ให้ได้ 100% และช่วยย่นระยะเวลาให้สามารถส่งมอบสินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
“การให้บริการเชื่อมต่อในราคาที่จับต้องได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายนั้น เราต้องยึดประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจ ผู้ให้บริการเครือข่ายมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม และการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานของเราให้มีประสิทธิภาพ และการส่งมอบบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้ายิ่งขึ้นนั้น จะเป็นเป้าหมายสำคัญที่ดีแทคมุ่งเน้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2563” ชารัด กล่าวสรุป
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th