DE ชี้หน่วยงานรัฐต้องยกเครื่อง เศรษฐกิจ สังคม ครั้งใหญ่ ด้วยกลยุทธ์ 7 ด้าน

DE

รมว. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม หรือ ดีอี (DE) ชี้หน่วยรัฐต้องยกเครื่อง เศรษฐกิจ สังคม ครั้งใหญ่ ด้วยกลยุทธ์ 7 flagships โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนประเทศสู่ Digital Competitiveness ของโลก…

DE ชี้หน่วยงานรัฐต้องยกเครื่อง ด้วยกลยุทธ์ 7 ด้าน เพื่อสร้าง เศรษฐกิจ สังคม ของประเทศครั้งใหญ่ 

DE

ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness) ด้วยการสร้างความพร้อม

โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อมาสร้างแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เป็นส่วนช่วย ภาคประชาชน และภาคเศรษฐกิจ ของประเทศในภาพรวมให้สามารถขยายตัวได้ ทาง กระทรวงดีอี จึงได้วางกลยุทธ์เพื่อผลักดันในการลดความซ้ำซ้อน และค่าใช้จ่าย ของของหน่วยงานรัฐผ่าน Flagships ในการดำเนินงาน 7 ด้านหลัก

ด้วยงบประมาณ 1,ุ600-1,650 ล้านบาท ในโครงการการสร้าง Cloud First Policy ประมาณ 1,400 ล้านบาท, โครงการ AI Agenda ประมาณ 16 ล้านบาท และโครงการ 1 อำเภอ 1 IT Man ประมาณ 200 ล้านบาท 

DE

ผลักดันการใช้ Cloud First Policy สู่การเป็น Cloud Hub ของภูมิภาค

DE

โดยในส่วนของ บริการคลาวด์กลาง (Cloud First Policy) ทางกระทรวงดีอี มีแผนที่จะเดินหน้าผลักดันการใช้ระบบคลาวด์เป็นหลัก มุ่งสู่การเป็น Cloud Hub ของภูมิภาคมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประเทศ ที่ทันสมัย มั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ยกระดับการทำงานภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยในระยะแรกมีเป้าหมาย

ในการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายหน่วยงานของรัฐ พร้อมสร้างบริการบนระบบคลาวด์ (Cloud Computing) เพื่อพัฒนาการบริการประชาชน ให้ได้ไม่น้อยกว่า 220 กรม ผ่านการใช้ 75,000 เวอร์ชวล แมชชีน (Virtual Machines) หรือ วีเอ็ม (VM) ทั้งนี้นอกจากเพื่อพัฒนาบริการสู่ภาคประชาชนแล้ว ยังเป็นการจัดสรรระเบียบ

ลดความซ้ำซ้อน และประหยัดงบประมาณของภาครัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผล (Infrastructure) ของประเทศลงให้เหลือ 30-50% และเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล และการใช้ประโยชน์ บิ๊ก เดต้า หรือและบริหาร ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงสนับสนุนท้องถิ่น

ให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในกระบวนการทำงาน เพื่อสร้างอาชีพใหม่ให้กับเกษตรกร และชุมชนในชนบท เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และส่งเสริม และดึงดูดการลงทุนด้านคลาวด์ของประเทศ ส่งเสริมผู้ประกอบการไทย และผู้ประกอบการต่างประเทศ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ของประเทศ และกำหนดแนวทางในการใช้งาน บริการคลาวด์กลาง ไปพร้อมกับการยกระดับความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Cloud Hub) ได้ในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้ของการให้บริการคลาวด์กลางแก่หน่วยงานภาครัฐ

ทาง กระทรวงดีอี ได้หารือกับทาง เอ็นที (NT) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีส่วนข้องอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ในช่วงนี้ทาง เอ็นที อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างรายได้ใหม่ ไปพร้อมกับทางหน่วยงานอย่างไปรษณีย์ไทย (Thailand Post) ซึ่งน่าจะเห็นแผนปรับโครงสร้างรายได้ของทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจ ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 67 นี้

พัฒนา AI Agenda เพื่อสร้างโครงสร้างของ AI เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

DE

กระทรวงดีอี ยังคงมีแผนที่จะเดินหน้าในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) และการใช้การใช้ประโยชน์ของ วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ที่มีอยู่อย่างมหาศาล ทั้งจากภายในหน่วยงานภาครํฐ และภาคเอกชน ที่มีเชื่อมโยงกับภาครัฐ ผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ ที่ได้วางเอาไว้ อาทิ

ยุทธศาสตร์ 1 : การพัฒนาแพลตฟอร์มกลางแบบบูรณาการ (National AI Service Platform) ที่เป็นแหล่งรวมบริการด้าน AI บนโครงการคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service หรือ GDCC) ซึ่งเป็นระบบข้อมูลแบบเปิด (Open Data) จากหน่วยงานต่าง ๆ

เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่การวิจัย และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยใช้ความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ไปสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ใช้งานง่าย และเกิดประโยชน์ต่อคนไทยให้มากที่สุด

ยุทธศาสตร์ 2 : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์สำหรับภาษาไทย (Thai Large Language Model หรือ Thai LLM) โดยทาง กระทรวงดีอี ต้องการผลักดันให้เกิดการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) โดยมีความสามารถในการเรียนรู้ เข้าใจ ให้คำตอบ สร้างเนื้อหา

แปลภาษา สร้างบทความ และปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับในภาษาไทยได้ ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจะมีหลากหลายผู้ให้บริการด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ให้บริการอยู่แล้วในประเทศไทย แต่ทางรัฐบาล เชื่อว่าจะดีกว่าหากผู้ให้บริการ หรือผู้สร้างระบบปัญญาประดิษฐ์จะเป็นเจ้าของภาษาเอง เนื่องจากมีความเข้าใจของภาษาความหมายที่มีความซับซ้อน

ในแง่ของปฏิสัมพันธ์ และบริบทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย ซึ่งตรงจุดนี้จะช่วยให้ AI สามารถ ประมวลผล ตอบโต้ และ ให้ข้อมูล พร้อมสร้างผลลัพธ์ของคำตอบจากคำถามที่เป็นภาษาไทยได้ดีมากกว่าผู้ให้บริการจากต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์อีกด้วย

โดยปัจจุบันทางกระทรวงได้มอบหมายให้ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big Data Institute หรือ dbi) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลเรื่องดังกล่าว

ยุทธศาสตร์ 3 : เตรียมพร้อมด้านจริยธรรม-กฎหมาย-สังคม พัฒนาทักษะ AI (AI Ethics, Governance, Regulation) โดยนอกเหนือไปจาการพัฒนา AI ทาง กระทรวงดีอี ก็ได้รับมอบหมายให้มองถึงเร่ืองของการวางกฎระเบียบในการควบคุมดูแลกำกับการใช้ AI ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันทางกระทรวงอยู่ในระหว่างการพิจารณาเรื่องของ

ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ ซึ่งอาจไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว แต่มีแนวโน้มว่าเราอาจสามารถออกข้อบัคับมาในรูปแบบของประกาศ หรือระเบียบออกมาบังคับใช้ก่อน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา AI ของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง และมีขอบเขตการพัฒนาอยางถูกต้อง นอกจากนี้ทางกระทรวงเองก็อยู่ในระหว่างการยกร่าง

พรบ. ที่เกี่ยวกับส่วนงานในด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ขึ้นมา เนื่องจากที่ผ่านมามีการเปิดให้ใช้ข้อมูลทางด้านอุตุนิยมวิทยาแบบฟรีมาตลอด ซึ่งก็มีภาคเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจบางหน่วยงานอย่าง “วิทยุการบินแห่งประเทศไทย” นำเอาใช้ให้แก่บริการสายการบิน ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลมีค่าใช้จ่าย แต่กลับนำให้ไปใช้

โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้กลับเข้ามาหารัฐเลย นอกจากนี้ก็ต้องพิจารณาถึงการแก้ไขข้อกฏหมายบางส่วนที่ล้าหลัง เช่น กฏหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบางแง่มุมอีกด้วย เช่น การหลอกลวงทางออนไลน์ที่แปรสภาพเงินไปในรูปแบบของ “โทเคน” (Token) หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ซึ่งตามจับยาก ตรงจุดนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาเช่นกัน

ยุทธศาสตร์ 4 : การเสริมสร้างความรู้ และทักษะ AI สำหรับ SME และ ประชาชน (Hackathon) และ การอัพเกรดทักษะ ปรับทักษะ และสร้างทักษะใหม่ ด้าน AI สำหรับบุคลากรทุกภาคส่วน (Upskill-Reskill-Newskill) ในส่วนนี้ทาง กระทรวงดีอี ได้วางแนวทางเอาไว้ว่าจะเดินหน้าในการพัฒนาบุคลากรด้าน AI

ที่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ โดยทางกระทรวงจะเข้าร่วม ภาคการศึกษา และภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้ AI โดยจะมีการจัดทำหลักสูตรที่เป็นแกนกลางในการศึกษาประสานงานระหว่างเครือข่ายแบ่งปันทรัพยากร หรือ แซนด์บ็อกซ์ (Sandbox)

ซึ่งเป็นแหล่งรวมนวัตกรรมทางด้าน AI ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบ AI มาตรฐาน ที่สามารถเเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการถในการพัฒนา และสร้างการแข่งขันของประเทศได้เพิ่มขึ้น

ยุทธศาสตร์ 5 : เร่งหากรณีศึกษาจากการใช้ AI ของรัฐ และเอกชน (AI use case) นอกเหนือไปจากการส่งเสริมสร้างทักษะทางด้าน AI ให้แก่บุคลากรในประเทศแล้ว ทาง กระทรวงดีอี ยังมีแผนที่จะรวบรวมกรณีศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับการประยุกต์ใช้ AI ในหลายภาคส่วนเพื่อให้สามารถนำกรณีศึกษาไปพิจารณาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีนัยยะสำคัญ พร้อมสร้างความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การนำ AI ไปช่วยพยากรณ์อากาศแบบอัจฉริยะลดความเสี่ยงจากภัยภิบัติที่อาจเกิดขึ้น

จากข้อมูลพยากรณ์กลุ่มฝนเชิงพื้นที่ระดับอำเภอ (ระยะ 3 ชั่วโมงข้างหน้า) บริเวณ 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ และการนำ AI ไปทำแผนที่เสี่ยงภัยสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมาก เป็นต้น

ผลักดัน การสร้างชาวบ้านไอที ผ่านโครงการ “1 อำเภอ 1 IT Man” เพื่อให้เป็นเร่งขับเคลื่อนดิจิทัลระดับภูมิภาค

DE

กระทรวงดีอี มีแผนที่จะเดินหน้าพัฒนาความรู้ความเท่าทันต่อเทคโนโลยีในแก่พื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยได้วางแผนที่จะใช้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาท นำเสนอเข้า คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เพื่อสร้างคน “ไอทีแมน” (IT Man) หรือคนไอทีชุมชนใน 878 อำเภอ โดยมีเป้าให้ใน 1 อำเภอ มี 1 คน เป็นอย่างน้อย (เป้าคือ 2 คน) ที่จะเป็นตัวแทนจาก

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) และข้าราชการในพื้นที่ (Local government officials) ในการคำปรึกษาแนะนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และภัยไซเบอร์ที่ควรต้องระวัง พร้อมกันนี้ กระทรวงดีอี ยังมีเป้าหมายในการสร้างศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพิ่มกว่า 2,222 ศูนย์ โดยใช้ สนง.เศษฐกิจดิจิทัลของจังหวัดเป็นศูนย์ดำเนินงาน

และเดินหน้าต่อเนื่องของโครงการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (เน็ตประชารัฐเดิม) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ 24,654 หมู่บ้าน เพื่อสร้างให้เกิดชุมชนโดรนใจให้ได้มากกว่า 500 ชุมชน และเดินหน้าสร้าง “สภาเยาวชนดิจิทัล” (Digital Youth Council) เพื่อเป็นที่รวมของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี

ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลความคืบหน้าหลังเสนอเข้า ครม. ภายในช่วงกันยายน 2567 และเปิดอาศาสมัครได้ภายในปีงบประมาณ 2568

พัฒนาบุคลากรคนดิจิทัล (Digital Manpower)

 

ในมุมของการพัฒนากำลังบุคลากรดิจิทัล ทางกระทรวงดีอี เล็งที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนากำลังคนดิจิทัลบน แพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลผู้กำลังคนดิจิทัล ผ่านการใช้ Digital ID (Credit bank) และดึงดูดกลุ่มผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากต่างประเทศ (Global Digital Talent Visa หรือ GDT Visa)

โดยเราจะเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติที่มีความสามารถด้านดิจิทัล ทั้งผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล (Digital Talent Track) และกลุ่มดิจิทัลโนแมด (Digital Nomad Track) สามารถเข้ามาพำนัก หางาน และทำงานในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องใช้ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

รวมไปถึงการร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อสรรหาคนอย่างน้อย 50,000 คน มาทำงานร่วมกับกับ “สภาเยาวชนดิจิทัล” และ “อาสาสมัคร” ที่กระทรวงจะทำอีกด้วย

จัดทำระบบแจ้งเตือนภัยทันสมัยสำหรับคนไทย (Cell Broadcast)

DE

พร้อมกันนี้ทางกระทรวงยังมีแผนที่จะสร้างระบบแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง ทันสมัย (Cell Broadcast) สำหรับคนไทยทั้งประเทศ ข้อความแจ้งเตือนภัยทุกประเภท ส่งแบบเจาะจง ในบริเวณพื้นที่ ที่กำหนด ลดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี

โดยจะเป็นการดำเนินงานร่วมกันกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

และผู้ให้บริการโครงข่ายสื่อสารชั้นนำของไทยอย่าง เอไอเอส (Ais) และ ทรู-ดีแทค (true-dtac) ให้รูปแบบของการยืมทุนลงทุน และยืมอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งเมื่องบประมาณเเล้วเสร็จจึงนำส่งงบคืนเอกชน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ และไม่ล่าช้า เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญต่อประเทศ

แก้ปัญหาภัยออนไลน์ (Solve problems online)

DE

กระทรวงดีอี พร้อมที่จะเดินหน้าแก้ปัญหาภัยออนไลน์ของประชาชน โดยวางแผนที่จะยกระดับศูนย์ AOC 1441 ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI เข้าไปช่วยตรวจจับ วิเคราะห์ ประมวลผล ขยายผลกวาดล้าง บัญชีม้า และบัญชีของม้าที่เกิดจากการหลอกลวงผ่านโลกออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ

รวมถึงสร้างแอปพลิเคชันแจ้งเตือนหมายเลขโทรศัพท์เสี่ยง ภัยออนไลน์, สร้างศูนย์ PDPC Eagle Eye เพื่อตรวจตรา ป้องปราม ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล และซื้อขายข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากความจงใจ และความประมาท ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ

ร่วมไปถึงได้มีการวางแผน และแนวทางการป้องกันร่วมกับทาง ไปรษณีย์ไทย เพื่อแก้ปัญหาเปิดก่อนจ่าย แก้ปัญหาซื้อของออนไลน์ การเก็บเงินปลายทาง (COD) การได้ของไม่ตรงปก ควบคู่ไปกับการสร้างไซเบอร์วัคซีน ให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยออนไลน์รูปแบบ และวิธีการใหม่ ๆ

ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลสู่ อันดับ 30 ในปี 2569

DE

ขณะที่เป้าหมายสุดท้ายของ กระทรวงดีอี คือการ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยหรือ Thailand Digital Competitiveness ให้ก้าวสู่อันดับที่ 30 ให้ได้ภายในปี 2569 จากที่ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 40 ในปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าผลสำรวจจาก IMD ในปี 2567

ประเทศไทยจะมีอันดับที่ดีขึ้นดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 33 ในปี 2567 จากอันดับที่ 35 ในปี 2566 แต่เพื่อสร้างการเติบโตในเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีอันดับที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอีกมาก เพื่อดึงดูดนำลงทุนให้เข้มาลงทุนในประเทศ และเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการเป็น “ASEAN Digital Hub” และ “Thailand 4.0”

DE

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

ITDay

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.