Ericsson เผยรายงาน คาดผู้ใช้ 5G ทั่วโลก แตะ 2.8 พันล้าน ภายในปี 68

อีริคสัน เผยรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ย้ำบทบาทสำคัญของเครือข่ายในช่วงโควิด-19 ต่อสังคม คาดสิ้นปีนี้ยอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 190 ล้านราย และแตะ 2.8 พันล้านรายภายในสิ้นปี 2568…

highlight

  • คาดการณ์ภายในสิ้นปีนี้ยอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 190 ล้านราย และจะทะยานแตะระดับ 2.8 พันล้านรายภายในสิ้นปี 2568
  • โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในช่วงวิกฤติ
  • ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำเทคโนโลยี 5G มาใช้เชิงพานิชย์ ตั้งแต่เดือนมีนาคมปีนี้

Ericsson คาดภายในสิ้นปีนี้ยอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 190 ล้านราย และ 2.8 พันล้านรายภายในสิ้นปี 2568

อีริคสัน คาดว่าจำนวนผู้ใช้ระบบเครือข่าย 5G ทั่วโลกภายในสิ้นปี 2563 จะสูงถึง 190 ล้านราย และจะเพิ่มเป็น 2.8 พันล้านราย ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะใช้เทคโนโลยีเซลลูล่าร์ผ่าน 5G เป็นอันดับสองรองจากเทคโนโลยี LTE

และภายในปี 2568 จำนวนผู้ใช้ 5G จะเพิ่มเป็น 270 ล้านราย หรือคิดเป็น 21% ของจำนวนผู้ใช้มือถือทั้งหมด โดยข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวได้ระบุไว้ในรายงาน อีริคสัน Mobility Report ประจำเดือนมิถุนายน 2563 รวมไปถึงข้อมูลประมาณการเติบโตของดาต้าอินเตอร์เน็ต และจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละภูมิภาค

รายงานดังกล่าวนี้ยังทำการวิเคราะห์ถึงบทบาทเครือข่าย และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด19 ที่หลายคนต้องทำงาน และใช้ชีวิตอยู่บ้านโดยเชื่อมต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ต

Ericsson

นาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการ ดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกต้องเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับปริมาณการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย ที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่จากย่านธุรกิจไปสู่ชุมชนที่พักอาศัยอย่างรวดเร็ว

เมื่อผู้คนต้องทำงานหรือเรียนที่บ้าน โดยรายงาน อีริคสัน Mobility Report ฉบับล่าสุด แสดงให้เห็นว่าการใช้เครือข่ายมือถือ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบ้าน กำลังเพิ่มบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศขณะที่ตลาดผู้ใช้เครือข่าย 5G บางแห่งเติบโตแบบชะลอตัว อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19

Ericsson

เมื่อเทียบกับตลาดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่กำลังเร่งพัฒนาเครือข่าย 5G ซึ่งเป็นการส่งสัญญานให้อีริคสัน ปรับเพิ่มประมาณการผู้ใช้ 5G ทั่วโลก ณ สิ้นปี 2020

Ericsson

นอกเหนือไปจากการเพิ่มยอดผู้ใช้ 5G แล้ว ยังมอบประโยชน์มหาศาลให้กับทั้งภาคธุรกิจ และภาคประชาชน 5G ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อยอดพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ และวิกฤติการณ์นี้ได้แสดง ถึงคุณค่าที่แท้จริงของระบบการสื่อสาร รวมถึงบทบาทสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจอีกด้วย

คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนียจะสูงถึง 25GB ภายในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ย 33% ต่อปี โดยอัตราการเติบโตเกิดจากพื้นที่ใช้งาน และการใช้สัญญาณเครือข่าย 4G และการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น

Ericsson

รวมถึงอัตราเฉลี่ยการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟน คาดว่าการใช้งานโมบายล์ดาต้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงถึง 25 EB ต่อเดือน จากปกติที่ 3.2 EB ต่อเดือน หรือมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 40% ต่อปี การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายมือถือและอินเตอร์เน็ตบ้านเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน

โดยในย่านที่พักอาศัยมีปริมาณการใช้ดาต้าอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์เติบโตราว 20100% แต่ขณะเดียวกันผู้ให้บริการก็สังเกตเห็นความต้องการใช้งานเครือข่ายมือถือเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากผลวิจัยล่าสุดโดย อีริคสัน Consumer Lab ระบุ 83% ของผู้ตอบแบบสำรวจจาก 11 ประเทศ

ที่ใช้งานเทคโนโลยี ICT อย่างมีนัยสำคัญช่วงล็อคดาวน์ เผยว่าในช่วงล็อคดาวน์ คนเหล่านั้นเปิดใช้บริการเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ แอปฯ เรียนออนไลน์ และ แอปฯ ดูแลสุขภาพ ที่ช่วยให้พวกเขาปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่าย

Ericsson

ขณะที่ 57% ระบุว่าพวกเขาจะเก็บเงินเพื่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคต โดย 1 ใน 3 มีแผนใช้เงินไปกับเครือข่าย 5G และพร้อมปรับปรุงระบบเครือข่ายบรอดแบนด์ที่บ้านให้รองรับการใช้งานได้ดีขึ้นเพื่อเตรียมรับมือหากเกิดการระบาดรอบสอง

สำหรับสถาการณ์การลงทุน 5G แน่นอนว่าหลังผ่าน โควิด19 มาการลงทุนอาจจะชะลอตัวลงบ้าง แต่เชื่อว่าผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ในประเทศไทย ยังทุนต่อเพื่อพัฒนารูปแบบของการให้บริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด แต่อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นรูปแบบของการให้บริการอาจจะเป็นส่วน ๆ แบ่งตามความต้องการของแต่ล่ะอุตสาหกรรม

ซึ่งในปัจจุบันก็เห็นแล้วว่าเริ่มมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ผ่าน 5G กันบ้างแล้ว แม้จะไม่ใช้ในรูปแบบของเต็มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีทั้งหมด แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

โอกาสทางธุรกิจของ 5G

Ericsson

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมการดำเนินธุรกิจทั่วโลก นอกจากเปิดโอกาสให้องค์กรเชื่อมต่อกับลูกค้า หรือดำเนินธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่สะดุดแล้ว ระบบเครือข่าย 5G และเทคโนโลยีดิจิทัลยังสร้างโอกาสการขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ๆ แก่ผู้ให้บริการเครือข่าย อาทิ สุขภาพ ยานยนต์ และการผลิต

Ericsson

วุฒิชัย วุติอุดมเลิศ หัวหน้าฝ่ายเน็ตเวิร์กโซลูชัน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อีริคสัน มีผลิตภัณฑ์และบริการ 5G ที่ครอบคลุมและเหมาะสม พร้อมให้ลูกค้านำไปปรับใช้กับเครือข่าย 5G ในทุกย่านความถี่หลักทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

เรามั่นใจว่าจะได้เห็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อน และสร้างขึ้นจาก 5G สำหรับธุรกิจ รวมถึงกรณีศึกษาในเรื่อง IoT ทั้งนี้ 5G จะเข้าไปช่วยปลดล็อคโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับผู้ให้บริการ

Ericsson

ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เปิดใช้ระบบเครือข่าย 5G เชิงพานิชย์ เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ มีการประเมินว่าในปี 2568 ระบบเครือข่าย 5G จะสร้างรายได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราว 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.