ไขข้อสงสัย “ทำงานที่บ้านอย่างไร (Work from Home) หรือ WFH อย่างไร? ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมก้าวไปด้วยกัน สู่การทำงานยุคใหม่…
highlight
- ไมโครซอฟท์ แนะนำวิธีการทำงานจากบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเครื่องมือการทำงานร่วมกันที่ตอบโจทย์ทุกมิติความต้องการอย่าง Microsoft Teams อาวุธลับในการสื่อสารของนินจา มุ่งเน้นให้การทำงานร่วมกันบนโลกยุคดิจิทัลเป็นไปอย่างยืดหยุ่นและปลอดภัยที่สุด
- 100% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย พบว่า กลุ่มคนทำงานเบบี้บูมเมอร์ จนถึงกลุ่มเยาวชนกลุ่มเจเนอเรชั่น Z มีไลฟ์สไตล์การทำงานแบบ นินจา ที่ชอบการทำงานแบบมีอิสระและมีความยืดหยุ่นระดับสูง แต่ยังสามารถร่วมงานกับทุกคนไม่ว่าไกลใกล้ได้เพื่อผลงานที่ดีที่สุด
- สิ่งที่จำเป็นทีสุดในปีหน้าคือ เครื่องมือการสื่อสารรูปแบบใหม่ที่มีความปลอดภัยระดับสูง เพื่อสร้างความยืดหยุ่น และยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้ก้าวไปอีกขั้น
- 2 ใน 4 เจเนอเรชั่น ยังคงรักษาระเบียบการทำงานแบบดั้งเดิม แต่มีการนำเทคโนโลยีการทำงานสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ เพื่อเสริมสร้างผลิตผลของงานให้ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- กลุ่มวัยรุ่นในเจเนอเรชั่นใหม่ถือเป็นยอดนักไอเดียของยุคที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนพลังในการทำงาน
Work from Home อย่างไร? (WFH) ให้มีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน เทรนด์การทำงานแบบใหม่อย่
โดยการทำงานอย่างยืดหยุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่
แต่ยังสามารถรวมไปถึ
เป็นแบบ “นินจา” ชี้ให้เห็นว่าคนปัจจุบันมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จได้ด้วยตนเอง และยังสามารถให้เพื่อนร่วมงานมาช่วยกันทำผลงานให้เสร็จสมบูรณ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านระบบการทำงานแบบดิจิทัล ในขณะเดียวกัน ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจพื้นที่ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น
เพื่อป้องการการเข้าถึงไฟล์งานส่วนตัวอันไม่พึงประสงค์จากบุคคลอื่น ซึ่งสอดคล้องไปกับเทรนด์การทำงานแบบ Work from Home ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าขณะนี้ผู้คนจะแยกกันทำงานจากคนละที่ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมายังคงมีประสิทธิภาพ และมีแนวโน้มว่าจะดียิ่งกว่าการนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศทั้งวัน
เทคนิคสู่หนทางความสำเร็จในหน้าที่การงานของ “นินจา”
ขยายผลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ที่มีไลฟสไตล์การทำงานแบบ “นินจา“ ส่วนใหญ่มักจะชอบทำงานในพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง ชอบใช้ความคิดอย่างระมัดระวัง และมีความรอบคอบ รวมไปถึงมักจะวางแผนล่วงหน้าและคาดการณ์ผลลัพธ์ออกมาในแง่บวกเสมอ
ยิ่งในยุคปัจจุบัน กระบวนการทำงานต่าง ๆ เริ่มแปรผันเข้าสู่โลกแห่งยุคดิจิทัลมากขึ้น นินจาจึงยิ่งชอบที่จะซุ่มเงียบทำงานในที่ของตนเอง แต่ก็ไม่ปฏิเสธที่จะติดต่อกับโลกภายนอกเพื่อนำเสนอผลงานที่ดีที่สุด
โดยจากผลสำรวจที่จัดทำขึ้นโดย ทีม ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ผ่านเกมทดสอบความเป็นตัวเองในที่ทำงาน (Personality Test) ที่แบ่งไลฟสไตล์การทำงานออกเป็นทั้งหมด 7 ประเภท โดยมีผู้เข้าร่วมเล่นจำนวนมากกว่า 1,000 คน จากทั่วประเทศไทย พบว่า 20 % ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ผลสรุปเป็น ไอเดียตัวแม่ ไอเดียตัวพ่อ (The Ideamaker),
21% เป็น ครูเจ้าระเบียบ ฝ่ายปกครองมาเอง (The Ruler), 10% เป็น เดอะบอส (The Executive), 7% เป็น นักบุญ แม่พระ (The Guardian), 12% เป็น หน่วยข่าวกรอง (The Socialite), 28% เป็น นินจาซุ่มเงียบ (The Ninja) และ 2% เป็น รุ่นเดอะ AKA เดอะไดโนเสาร์ (The Dinosaur) ตามลำดับ
โดยในแบบสอบถามยังได้แบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็นทั้งหมด 4 เจอเนอเรชั่น ได้แก่ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์, กลุ่มเจนเนอเรชั่น X, Y และ เจเนอเรชั่น Z โดยหลังจากได้นำผลสรุปที่ได้มาวิเคราะห์ จะเห็นถึงข้อบ่งชี้ที่ว่าเทรนด์การทำงานบนโลกแห่งยุคอนาคตใหม่นี้มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งนำไปสู่เทรนด์ในการทำงานปี 2020 ได้ตามข้อสรุปดังต่อไปนี้
นินจาไทย เก่งกาจกว่าใครในยุค 2020
จากผลสำรวจพบว่า ทุกเจเนอเรชั่นได้ผลสรุปอันดับหนึ่งออกมาเป็นไลฟสไตล์การทำงานแบบ “นินจา“ คิดเป็นจำนวนกว่า 28% จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ซึ่งสอดคล้อง ไปกับเทรนด์การทำงานบนโลกยุคดิจิทัล ได้แก่ การที่ผู้คนชอบทำงานบนพื้นที่ความเป็นอิสระ และความเป็นส่วนตัวของตนเองมากยิ่งขึ้น
หรือสามารถเรียกในอีกมุมหนึ่งได้ว่าผู้คนเริ่มหันมานิยมไลฟสไตล์การทำงานแบบ Mobile Working นั่นหมายถึง การที่คุณสามารถทำงานจากที่ไหนบนโลกก็ได้ เพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเท่านั้น โดยคุณเองยังสามารถเชื่อมต่อกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย
เจ้าแม่ระเบียบจัด ที่จัดสรรชีวิตแบบไฮเทค
ลำดับต่อมา จากผลสำรวจในแต่ละเจนเนอเรชั่น พบว่า 31% ในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และ 22 % ในกลุ่มเจนเนอเรชั่น X ได้ข้อสรุปลำดับที่สองว่ามีไลฟ์สไตล์การทำงานแบบ “ครูเจ้าระเบียบ“ ซึ่งก็เปรียบได้ว่ากลุ่มคนในช่วงอายุนี้ยังคงรักษาระบบการทำงานแบบดั้งเดิมเอาไว้
โดยมีการยึดกฎเกณฑ์และการทำงานขององค์กรเป็นหลัก เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย อาทิ การเริ่มใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานของตนเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน จากผลสำรวจในแต่ละเจนเนอเรชั่น พบว่า 21% ของทั้งกลุ่มเจเนอเรชั่น Y และ Z ได้ผลลัพธ์รวมอันดับสองออกมาเท่ากัน เป็นไลฟสไตล์การทำงานแบบ “ไอเดียตัวแม่ และไอเดียตัวพ่อ“ สอดคล้องไปกับวิถีการทำงานของกลุ่มวัยรุ่นในยุคปัจจุบันที่มีอิสระทางความคิด มีไอเดียใหม่ๆและไฟในการทำงานอยู่เสมอ
ซึ่งผู้ที่มีไลฟ์สไตล์การทำงานเช่นนี้ มักที่จะชอบต่อยอดไอเดียของตัวเองให้ไปจนถึงจุดสูงสุดเพื่อหาค้นหาคำตอบในสิ่งที่ตัวเองต้องการ จากผลสำรวจดังกล่าว จึงสามารถกล่าวได้ว่า ไม่ว่าทุกคนจะอยู่ในเจเนอเรชั่นไหน แต่ด้วยโลกใบใหม่ที่ขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้คนจึงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้น การทำงานใน Workplace
จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปผ่านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงวิถีการดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ และประสิทธิผลให้กับชิ้นงานของตนเอง
ทั้งนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นนินจา ครูเจ้าระเบียบ ไอเดียตัวแม่ไอเดียตัวพ่อ หรือไดโนเสาร์ก็ตาม คุณเองก็ไม่สามารถปฏิเสธไปได้เลยว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างโอกาสให้แก่อนาคตการทำงานของคุณให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีกหลายเท่า
ไมโครซอฟท์ ทีมส์ (Microsoft Teams) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เป็นอาวุธลับในการสื่อสารของนินจาในองค์กรสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นนินจาในองค์กรขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ หรือกระทั่งบริษัทสตาร์ทอัพทั่วไป โดย ทีมส์ เป็นเครื่องมือการทำงานร่วมกันทั้งสำหรับทั้งคนในองค์กรและคนนอกองค์กร เน้นความปลอดภัย คล่องตัว และปรับใช้ได้อย่างเฉพาะตัวตามวิถีการใช้งานของ
แต่ละบุคคล อาจกล่าวได้ว่า ทีมส์ เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองชีวิตการทำงานในยุคนี้อย่างแท้จริง ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ไหนบนโลก เพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถสื่อสารได้กับทุกส่วนที่เดี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ ดังนี้
- แชท วีดีโอคอล แชร์ไฟล์ และแก้ไขงานพร้อมกับเพื่อนร่วมทีมได้แบบเรียลไทม์ ถึงแม้ว่าจะอยู่บ้านก็ตาม
- สามารถทำห้องประชุมให้เป็นห้องประชุมออนไลน์ได้โดยไม่ต้องนัดพบนอกสถานที่ พร้อมโชว์ผลงาน ผนวกกับการเปิดรับความคิดในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเขียนบน whiteboard ร่วมกัน การพิมพ์ text การแชร์ลิงค์ แชร์ไฟล์ เพื่อดึงข้อมูลเฉพาะในกลุ่ม รวมไปถึงยังสามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวด้วยการเบลอฉากหลังขณะประชุมได้อีกด้วย
- เมื่อเข้าประชุมออนไลน์ ไม่ต้องจดให้เมื่อยมือ เพราะทีมส์มีเครื่องมือในการบันทึกการประชุมแบบเรียลไทม์ขณะวีดีโอคอล และยังสามารถเก็บ Minute แบบ VDO record ได้ เพื่อให้ผู้ที่ต้องออกจากห้องประชุมก่อนหรือมาทีหลังสามารถเปิดทบทวนได้
- ทีมส์ สามารถสร้าง Form หรือ BOT ไว้ตอบคำถามที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ได้โดยไม่ต้องพิมพ์ซ้ำหลาย ๆ รอบ
- สามารถเช็คตารางงานของเพื่อนได้ผ่านฟีเจอร์ Calendar ให้ข้อดีตรงที่ไม่ต้องสอบถามโดยตรง
- หัวหน้างานสามารถสั่งงานคนในทีมได้จากฟีเจอร์ Assignment และสามารถกำหนดเดดไลน์วันส่งงานและตรวจสอบสถานะความคืบหน้าของ task นั้น ๆ ได้อีกด้วย
- ให้การปกป้องและความปลอดภัยของข้อมูลบนคลาวด์ได้ในระดับสูงที่สุด และเป็นที่รองรับทางกฎหมาย
- ตอบทุกโจทย์การใช้งานด้วยความสามารถที่ใช้ร่วมกันกับแอปฯ พื้นฐานที่มีอยู่บน Office 365 หรือ แอปฯเสริม เช่น OneNote หรือ แอปฯ เฉพาะสำหรับองค์กรนั้น ๆ
- ทีมส์ สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายบนหลากหลายดีไวซ์ ไม่ว่าจะเป็น โน๊ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ Wearable ต่างๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นไม่เพียงแต่การทำงานรูปแบบเดิม ๆ ที่จะสามารถสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานให้ทุกคนได้ แต่การที่จะกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆรอบตัว รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดความสามารถให้ไปถึงจุดสูงสุดก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรละเลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ที่เทรนด์การทำงานจากบ้านกำลังมาแรง แพลตฟอร์ม ไมโครซอฟท์ ทีมส์ จึงถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่จะมาช่วยซัพพอร์ตการทำงานของคุณให้ลื่นไหลไปได้โดยไม่มีสะดุด
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th