IT กับ OT ผลลัพธ์ที่ลงตัวในยุคที่ต้องการความยืดหยุ่นทางธุรกิจ

OT

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) แนะแนวทาง ปรับ IT กับ OT เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ลงตัวในยุคที่ต้องการความยืดหยุ่นทางธุรกิจ….

IT กับ OT ผลลัพธ์ที่ลงตัวในยุคที่ต้องการความยืดหยุ่นทางธุรกิจ

แอบเบย์ แอนิล โกสานการ์ รองประธานกลุ่ม Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ลาว และเมียนมา กล่าวว่า หนึ่งปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความสำคัญของระบบงานที่ยืดหยุ่น และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนกระบวนการสู่ดิจิทัล เป็นแนวทางที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ

เช่น การมีระบบมอนิเตอร์ และการดำเนินงานจากระยะไกล การซ่อมบำรุงในเชิงคาดการณ์ และป้องกัน ที่นำไปสู่การสร้างความมั่นใจในเรื่องของผลิตผล เบื้องหลังของเทคโนโลยีเหล่านี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีระบบไอทีที่มีความเสถียรและพร้อมใช้ในทุกสถานการณ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เข้าใจถึงความท้าทายในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทในสายอุตสาหกรรม และบริษัทที่ทำการค้าต่างต้องเผชิญในการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล คำถามจึงไม่ใช่เรื่องที่ว่าเอดจ์คอมพิวติ้งเป็นจริงได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าเราจะนำเอดจ์คอมพิวติ้งมาใช้

และสนับสนุนธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร การผสานรวมทั้ง OT (Operational Technology) และ IT (Information Technology) ต้องอาศัยแมชชีน และระบบซัพพลายเชน การผลิต การดำเนินการในแบบบูรณาการเพื่อสร้างความฉลาดให้กับสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้มากยิ่งขึ้น

OT
แอบเบย์ แอนิล โกสานการ์ รองประธานกลุ่ม Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ลาว และเมียนมา

นอกจากนี้การปรับสู่กระบวนการดิจิทัลช่วยเร่งการเก็บรวบรวมข้อมูล และเรื่องการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าได้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามองเห็นแนวทางแบบใหม่ในการขับเคลื่อนผลลัพธ์ของทั้งคนทำงานและสินทรัพย์ทางกายภาพ ซึ่งปัจจุบัน การผลักดันให้มีกระบวนการในระบบดิจิทัลยังดำเนินต่อไป

เพื่อขยายผลลัพธ์ให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ตั้งแต่ส่วนงานการผลิต จนถึงส่วนที่ดูแลด้านการบริหารจัดการ แต่ถ้าจะติดตั้งเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ลูกค้าต้องมีโซลูชันที่ช่วยจัดหาข้อมูลได้ตามต้องการ สร้างความโปร่งใสในการจับคู่กับกระบวนการที่เป็นองค์ความรู้ในเชิงลึก เพื่อเพิ่มปริมาณของผลผลิต

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ภูมิใจที่ได้ช่วยลูกค้าขับเคลื่อนผลิตผลผ่านระบบออโตเมชั่น วิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ามีบริษัทด้านการผลิตจำนวนมากที่ยังไม่เคยได้ประสบการณ์ในการปรับปรุงผลิตผลที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง ที่มากกว่าเรื่องของสายงานการผลิต

ลูกค้าระดับผู้บริหารหลายรายของเราเชื่อว่า Step function ในเรื่องผลิตผลสามารถสร้างผ่านกระบวนการทำงานในระบบดิจิทัล และกระบวนการเหล่านี้ในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่เคย

ด้าน เครก เฮย์แมน ซีอีโอของ AVEVA กล่าวว่า บรรดาอุตสาหกรรมในปัจจุบันต่างต้องเผชิญความกดดันในการดำเนินงานให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น บ่อยครั้งที่ต้องอาศัยคนทำงานจากระยะไกล อย่างไรก็ตาม แต่การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน

โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้เป็นแค่เรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียว หากเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงาน และลูกค้าต่างต้องการคำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งทั้ง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และ AVEVA เป็นคู่ค้าที่ให้ความมุ่งมั่นในกระบวนการที่ว่านี้ และมองเห็นบทบาทในการนำเสนอมุมมองเชิงลึกให้กับลูกค้า

รวมถึงข้อมูล และเครื่องมือที่จำเป็นต่อการตรวจจับรูปแบบของข้อมูลได้อย่างล้ำหน้าซึ่งจะช่วยผลักดันให้ได้ผลผลิตที่ดี ด้วยเทคโนโลยีที่ทำงานในลักษณะของระบบเปิด โดยที่ไม่ต้องรู้จักระบบ (system-agnostic technologies) และทางเลือกการสมัครใช้งานแบบ subscription ที่ให้ความยืดหยุ่น

เราสามารถช่วยให้ลูกค้ามีวิธีการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการส่วนตัว และสร้างบนระบบออโตเมชันที่ลงทุนอยู่แล้ว เรื่องนี้จะช่วยให้ลูกค้าเร่งการคืนทุน และได้รับผลิตผลสูงสุดอย่างแท้จริง

OT

ขณะที่ ปีเตอร์ เฮอร์เว็ค หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการบริหาร และเป็นรองประธานบริหารฝ่าย Industrial Automation ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เคยเล่าถึงกรณีศึกษาของลูกค้าที่ปฏิรูปสู่ดิจิทัลว่า ได้เคยช่วยให้ผู้ประกอบการด้านอาหารปรับปรุงโรงงานผลิตน้ำตาลที่มีมานาน ให้มีความทันสมัยและใช้ระบบดิจิทัล

จากการที่โรงงานใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย และยังต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับราว 33-40 ครั้ง ตามช่วงเวลาเทศกาลในช่วง 39 สัปดาห์ และเรื่องนี้ทำให้เกิดดาวน์ไทม์ในการผลิต ส่งผลถึงผลผลิตของโรงงานรวมถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ 

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยพัฒนาโซลูชันที่ให้ความสามารถในการมองเห็นการดำเนินการของโรงงานได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถลดการดาวน์ไทม์ลงได้ และทำให้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นถึง 20% จะเห็นได้ว่าการนำ OT มารวมกับ IT โดยการใช้อุปกรณ์ IoT เป็นตัวเชื่อมประสาน และส่งไปประมวลผลที่ดาต้าเซ็นเตอร์

หรือเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ก็ตาม จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ จากการดำเนินงาน นั่นหมายถึงเราจะเห็นข้อมูลไหลเวียนตลอดทั่วทั้งสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน รวมไปถึงห่วงโซ่คุณค่าในภาพรวมทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำมาวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ

การทำแบบนี้ได้ต้องอาศัยระบบควบคุมและรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ในขณะที่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ยืดหยุ่น และคาดการณ์ได้แก่ธุรกิจ พร้อมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้

แม้แต่ในชไนเดอร์ อิเล็คทริคเอง ก็มีการปรับโรงงานผลิตกว่า 80 แห่งทั่วโลกสู่ระบบดิจิทัล เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีขึ้น มีความยืดหยุ่น จากเครื่องมืออัจฉริยะต่างๆ การบริหารจัดการพลังงานที่ดีขึ้น รวมถึงการซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์ สิ่งเหล่านี้คือการปรับเปลี่ยนเพื่อที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th