แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เผย เหลานักโจรไซเบอร์ใช้วิดีโอเกมเพื่อเปิดการโจมตีมากขึ้น 54% ในช่วงโควิด โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…
Kaspersky เผย ช่วง โควิด–19 พบแฮกเกอร์การใช้เกมล่อและโจมตีมากขึ้น 54%
อาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากความนิยมในวิดีโอเกมที่เพิ่มขึ้นระหว่างการล็อกดาวน์เพื่อเปิดการโจมตี สถิติในเดือนเมษายน 2020 ความพยายามโจมตีผู้ใช้โดยใช้ประโยชน์จากธีมเกม และหลอกไปยังไซต์ที่เป็นอันตรายมีจำนวนเพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับมกราคม 2020
นอกจากนี้ในเดือนเมษายน จำนวนความพยายามโจมตีแพลตฟอร์มเกมยอดนิยม เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับกุมภาพันธ์ 2020 โดยในช่วง 3–4 เดือนที่ผ่านมา ผู้คนนับล้านทั่วโลกถูกบังคับให้อยู่แต่ในที่อยู่อาศัยเนื่องจากหลายๆ ประเทศบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์หรือมาตรการจำกัดการเคลื่อนไหวบางรูปแบบ ผู้คนจำนวนมากอยู่บ้าน
และมีเวลาว่างมากขึ้น จึงทำให้หลายคนหันไปใช้ความบันเทิงออนไลน์ต่าง ๆ รวมถึงวิดีโอเกม ต้นเดือนมีนาคม จำนวนผู้ใช้ Steam โดยรวม (แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ชุมชน และร้านค้า) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยแพลตฟอร์มดังกล่าวมีการบันทึกตลอดเวลาสำหรับผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่ และผู้ใช้งานพร้อมกัน
เมื่อสังเกตถึงแนวโน้มนี้นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงแนวการคุกคามของวิดีโอเกมในช่วงระยะเวลาล็อกดาวน์ ไม่น่าแปลกใจเลยที่สิ่งที่ค้นพบ คืออาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากความสนใจที่เพิ่มขึ้นในวิดีโอเกม เพื่อเริ่มการโจมตีที่หลากหลาย
โดยข้อมูลจาก แคสเปอร์สกี้ Security Network แสดงจำนวนความพยายามโจมตีผู้ใช้โดยใช้ประโยชน์จากธีมเกมและหลอกไปยังไซต์ที่เป็นอันตรายในเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ถูกล่อลวง เช่น เกมยอดนิยมเวอร์ชั่นฟรี
อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้คลิกที่ลิ้งก์เหล่านี้ก็จะสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่มัลแวร์ขโมยรหัสผ่านไปจนถึงแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่ และการขุดเหมืองซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่แอบทำเหมือง เงินคริปโตจากคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ
ความพยายามโจมตีผู้ใช้โดยใช้ประโยชน์จากธีมเกมและหลอกไปยังไซต์ที่เป็นอันตรายมีจำนวนเพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับมกราคม 2020 นอกจากนี้ในเดือนเมษายน จำนวนความพยายามโจมตีแพลตฟอร์มเกมยอดนิยม เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับกุมภาพันธ์ 2020
ข้อมูลจำนวนการโจมตีทางเว็บทั้งหมดยังแสดงให้เห็นอีกว่าประเทศเวียดนามติดอันดับสูงสุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก ด้วยจำนวนการสกัดการโจมตีต่อผู้ใช้สูงสุดของโลก (7.9%) ซึ่งเป็นการโจมตีที่พาผู้ใช้ไปยังไซต์ที่เป็นอันตราย
โดยใช้ประโยชน์จากธีมของเกมออนไลน์ สถิติของประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี ดังนี้ มาเลเซีย (4.75%) ฟิลิปปินส์ (4.51%) อินโดนีเซีย (3.54%) ไทย (3.2%) และสิงคโปร์ (2.9%)
เกมที่อาชญากรไซเบอร์ใช้บ่อยที่สุดคือ Minecraft ซึ่งเป็นเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเกมหนึ่ง ชื่อของเกมนี้ถูกใช้ในการโจมตีเว็บมากกว่า 130,000 ครั้ง เกมยอดนิยมอื่น ๆ ที่ใช้ในการโจมตี ได้แก่ Counter Strike : Global Offensive และ The Witcher 3
นอกจากนี้ สถิติจากระบบแอนตี้ฟิชชิ่งของแคสเปอร์สกี้พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์แล้ว จำนวนการเปลี่ยนเส้นทางที่ถูกบล็อกไปยังหน้าฟิชชิ่งที่มีคำว่า “Steam“ เพิ่มขึ้น 40% ในเดือนเมษายน
มาเรีย นาเมสต์นิโคว่า ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การโจมตีที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอเกมส่วนใหญ่ไม่ได้ซับซ้อนเป็นพิเศษ มีองค์ประกอบขนาดใหญ่ที่ทำให้ประสบความสำเร็จนั่นคือ
ผู้ใช้ เวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้มีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบฟิชชิ่งหรือคลิกลิ้งก์ที่เป็นอันตราย ทั้งการมองหาเวอร์ชั่นที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือความอยากชนะเกมด้วยการโกงต่าง ๆ
ด้าน ยูริ นาเมสต์นิคอฟ ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ตอนนี้ผู้เล่นหลายคนเริ่มใช้ดีไวซ์ในการเล่นเกมเป็นเครื่องเดียวกับที่ใช้ในการทำงานและเข้าสู่เน็ตเวิร์กขององค์กร จึงควรระมัดระวังเพิ่มเป็น 2 เท่า การกระทำที่มีความเสี่ยงไม่เพียงแต่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลการเงินตกอยู่ในความเสี่ยง
แต่รวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กรด้วย เมื่อทำงานจากที่บ้านถ้าเป็นไปได้ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการเข้าถึงเน็ตเวิร์กขององค์กร
คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยจากการถูกโจมตีขณะเล่นวิดีโอเกม
- หากเป็นไปได้ควรใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากและการรับรองความถูกต้องด้วยสองปัจจัย (2FA) เพื่อปกป้องบัญชีวิดีโอเกมของคุณ
- ระวังกลโกงและวิดีโอเกมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเหยื่อล่อที่อาชญากรไซเบอร์ใช้
- ใช้โซลูชั่นความปลอดภัยที่เชื่อถือได้เช่น Security Cloud ที่จะตรวจสอบการดาวน์โหลดที่เป็นอันตรายบล็อกไซต์ฟิชชิ่ง และป้องกันการเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าเว็บที่เป็นอันตราย
- ระหว่างเล่นเกม ไม่แนะนำให้ปิดโซลูชั่นความปลอดภัย แต่เปิดโหมดเกมซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยลง
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th