กสทช. (NBTC) วางเป้าเปิดเสรี “ดาวเทียม” หวังดึงนักลงทุนเข้าสู่ตลาดการสื่อสารไทย

กสทช. (NBTC) เดินหน้ากระตุ้นวงการสื่อสารไทย เล็งเปิดเสรี “ดาวเทียม” หวังดึงนักลงทุน ไทย-เทศ ช่วยสร้างธุรกิจใหม่ ๆ จากเทคโนโลยีสื่อสารผ่านดาวเทียม….

highlight

  • คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทสช. และนิตยสาร SM เดินหน้าจัดงานสัมมนา “Open SKY 2020 – Opportunities and Challenges”  ดึงนักลงทุนร่วมฟัง โอกาส และความท้าทายในกิจการดาวเทียมของประเทศไทย 

NBTC เดินหน้าหนุนเปิดเสรี “ดาวเทียม” หวังดึงนักลงทุนสร้างธุรกิจใหม่ๆ 

พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาการเข้าแข่งขันเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงข่ายการสื่อสารในประเทศไทยค่อนข้างมีอุปสรรค จากระบบสัมปทาน ที่ผู้ประกอบการต้องเสียค่าตอบเเทนให้แก่หน่วยงานรัฐ (Revenue Sharing) เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีผู้ประกอบการ หรือนักลงทุนใหม่ ๆ เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย

แต่จากการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบสัมปทาน ไปสู่รูปแบบการแข่งขันเสรี ด้วยใบอนุญาต ส่งผลให้เกิดการเเข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น จึงทำให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น และส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ กรือธุรกิจใหม่ ๆ จากการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย อาทิ การให้อนุญาตคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ 3G หรือ 4G 

NBTC

และเพื่อสร้างโอกาสให้แก่ประเทศไทย กสทช. จึงเห็นว่าธุรกิจดาวเทียม ก็ควรปลดล็อคด่วยเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาตในการให้บริการการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยเทคโนโลยี 3G, 4G ร่วมถึง 5G ในอนาคต

”แน่นอนว่าหัวใจสำคัญในการออกใบอนุญาต แก่เอกชนที่สนใจที่จะลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับดาวเทียม ที่เราต้องการจะทำนี้ ก็จะเป็นเปิดให้มีการแข่งขันเสรี เพื่อให้
ผู้เล่นรายเก่า หรือรยใหม่ ที่สนใจสามารถเข้าสู่กิจกาดาวเทียมได้อย่างเท่า
เทียมกัน” พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กล่าว

หากพิจารณาให้ดีธุรกิจที่จะสร้างจากเทคโนโลยีดาวเทียมนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในทีวี และจะสามารถก้าวไปสู่การพัฒนารูปแบบบริการใหม่ ๆ อาทิ การให้บริการอินเทอร์เน็ตบนอากาศยาน หรือเครื่องบิน ที่ในอดีตอาจมีเพียงในเครื่องบินที่มีชั้นบิสสิเนสคลาส ซึ่งแพงเกินกว่าคนทั่วไปจะใช้ได้ แต่หากเราทำได้เราก็อาจจะเห็นบริการในราคาถูกลง และใช้ได้ทุกคน

“วันนี้หากประเทศไทยไม่เปิดเสรีในเรื่องดาวเทียม ก็จะทำให้ประเทศไม่เกิดธุรกิจใหม่ เมื่อไม่มีการแข่งขัน ประโยชน์ที่ประเทศควรได้ก็จะเสียไปโดยที่ประเทศก็จะไม่สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมกับนานาประเทศ แน่นอนว่าหลังจากนนี่ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการพลักดัน พรบ.กำกับดูแลธุรกิจในอวกาศ หรือการสร้างมาตราฐานในการกำกับดูแลกิจการอวกาศ รวมไปถึงการสร้างกน่วยงานที่จะมีบทบาทในการกำกับดูแลกิจการอวกาศ และดาวเทียม” พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กล่าว

ส่วนเรื่องโรดแมพในเรื่องของกิจการที่เกี่ยวกับดาวเทียม นั้นปี 2563 จะได้เห็นความชัดเจนมากขึ้น ขณะนี้กำลังศึกษาในหลาย ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่จะกำกับดูแลนักลงทุนที่เป็นเอกชนจากต่างชาติ หรือนักลงทุนชาวไทย ที่ต้องการทำธุรกิจดาวเทียมของประเทศไทย ในที่นี่ยังร่วมไปถึงมิติในการอนุญาตให้ผู้ที่มีดาวเทียม และมีวงโคจรผ่านประเทศไทยสามารถให้บริการในประเทศไทย แต่ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาเรื่องของความเหมาะสมของจำนวนในการให้บริการด้วย เผื่อไม่ให้สกัดกันในการผลักดันให้เกิดการให้บริการดาวเทียมในนามประเทศไทยด้วย

รูปแบบการแข่งขันเพื่อให้บริกา

การแข่งขันของกิจการดาวเทียมเป็นการเปิดการแข่งขันใน 2 มิติ คือ การแข่งขันทั้งในภาคอวกาศ (Space Segment) และภาคพื้นดิน (Ground Segment) กล่าวคือ เปิดโอกาสให้มีหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันให้มีการพัฒนาดาวเทียมสัญชาติไทยไปสู่อวกาศ

และเปิดโอกาสให้มีหลายบริษัทเข้ามาแข่งขันให้สามารถใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติในประเทศไทย หรือ (Landing Right) ได้ ทั้งนี้เพื่อการเปิดโอกาสให้เกิดบริษัทรายใหม่มาร่วมแข่งขันในการลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งๆ ขึ้น

โดยการเปิดเสรีใน 2 ด้าน หากถ้าเปิดด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปโดยไม่มีความสมดุลที่เหมาะสมก็จะทำให้อีกด้านประสบปัญหาไปด้วย

NBTC

ด้าน ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในอนาคตเราจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Space Mining, Space Launch Service, Space Tourism หรือ Satellites ที่ปัจจุบันมีการให้บริการในรูปแบบของ Navigation หรือที่เราคุ้นเคย ในชื่อ GPS  ที่เราใช้กันจนเป็นเรื่องเคยชินในปัจจุบัน แต่น้อยคนที่จะรู้ว่านี่คือความสามารถในการนำไปต่อยอดจากเทคโนโลยีดาวเทียม ในอดีตมีเพียง อเมริกา ที่ให้บริการ แต่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะจีน อินเดีย ก็ได้ลงทุนกับเทคโนโลยีดาวเทียม และส่งดาวเทียมขึ้นไปให้บริการ 

นอกจากนี้ในอนาคตเราจะสามารถใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการให้บริการโครงข่ายทางอินเทอร์เน็ตใกล้เคียงความเร็วกับเทคโนโลยี 5G บนสมาร์ทโฟนได้ ซึ่งปัจจุบันมี 2 ผู้ให้บริการ ที่ทำความเร็วได้ ได้แก่ Space X (15 ms) และOneWeb (32 ms)

NBTC

ด้าน พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม กล่าวว่า แท้ที่จริงแล้ว disruption ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลย แต่มันกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อเครือข่ายดาวเทียม LEO เชื่อมโยงกับ 5G จนทำให้ทุกอุตสาหกรรมเปลี่ยนไปอย่างพลิกผัน

ขณะที่ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและบริการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวเสริมว่า โอกาสของธุรกิจดาวเทียมยังเติบโตได้อีกมาก ซึ่งในอนาคตอันใกล้ระบบสื่อสารดาวเทียมจะถูกพัฒนาโดยส่งดาวเทียมสื่อสารขึ้นไปในย่านวงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit หรือ LEO ) ซึ่ง CAT อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรธุรกิจที่เป็นผู้ให้บริการระบบสื่อสารดาวเทียมในย่านนี้

ทั้งนี้ มื่อประเทศไทยมีความต้องการใช้งานข้อมูลผ่านดาวเทียมขนาดใหญ่ และ 5G จะทำให้ CAT สามารถให้บริการรองรับได้ทันที และยังมีการเจรจากับพันธมิตรธุรกิจด้วยการเสนอพื้นที่สถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน CAT ให้เป็นสถานี Gateway ของเครือข่าย ดาวเทียม LEO ที่มีการใช้งานลักษณะกลุ่มดาวเทียม (Constellation) ครอบคลุมทั่วโลกประมาณ 800 ดวง

นอกจากนี้มองว่า Smart Home และSmart City จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ความต้องการการใช้งาน IoT เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย และยกระดับคุณภาพชีวิต

NBTC

การเปิดเสรี ดาวเทียม จะช่วยประเทศไทยก้าวไปสู่ยุคเทคโนโลยีการสื่อสารที่เร็วมากขึ้น

อนันต์ แก้วร่วมวงศ์ กรรมการ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติเมื่อมีการเปิดเสรีทางการแข่งขัน และมีรายใหม่เข้ามาในตลาดนี้  เพราะทุกวันนี้รายได้ 50% ของไทยคมมาจากต่างประเทศ ซึ่งการที่ไทยคมไปทำตลาดต่างประเทศนั้น คือการเข้าไปแข่งขันกับรายอื่น มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้นที่ไม่ได้แข่งกับใคร

การเปิดเสรีจึงเป็นเรื่องที่ดีเพราะจากเดิมในระบบสัมปทานต้องเสีย Revenue Sharing อยู่ที่ประมาณ 22% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากถ้าเปรียบเทียบกับการที่ไทยคไปทำตลาดในต่างประเทศไม่ได้ส่วนนี้

อีกทั้ง การเปิดเสรีนั้นก็ยังคงมีกติกา และเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งบริษัทที่จะเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยจะต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทไทย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับต่างชาติที่จะเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศ

ดังนั้น วิธีการทำตลาดอาจจะเปลี่ยนเป็นบริษัทต่างชาติเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับไทยคม เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการทำตลาด ซึ่งบริษัทระดับโกบอลพาร์ทเนอร์เริ่มมีเข้ามาคุยกับไทยคมแล้ว จึงมองว่าเปิดเสรีธุรกิจดาวเทียมเป็นโอกาสมากกว่า ซึ่งจะช่วยให้ไทยคมมีพาร์ทเนอร์เพิ่มขึ้น

NBTC

ด้าน วรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า
จุดแข็งของ มิว สเปซ ที่จะแตกต่างจากผู้เล่นรายเดิมในตลาดคือ ความสามารถในการ Customization เป็นการคิดและปรับเปลี่ยการให้บริการ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ สามารถปรับเปลี่ยนสิ่งที่มีให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

และเมื่อมีการเปิดเสรีทางการแข่งขันในธุรกิจนี้ จะยิ่งส่งผลดีต่อการขยายธุรกิจดาวเทียมของมิว สเปซ โดยมุ่งเน้นในการให้บริการด้านการรับส่งข้อมูล (Data) เป็นหลัก

ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2563 มิว สเปซจะเติบโตได้ถึง 300% หลังจากเปิดเสรีดาวเทียม ซึ่งการเปิดเสรีทางการแข่งขัของธุรกิจนี้เป็นเรื่องที่ดี ต้องบอกว่าดาวเทียมนั้นมีความเป็นเสรีอยู่แล้ว การเปิดแข่งขันเสรีในไทยจะเป็นการสร้างทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งลูกค้าของมิว สเปซ มีทั้งระดับองค์กร และผู้ให้บริการต่าง ๆ ในประเทศ 

ซึ่งการเปิดเสรีจะสร้างโอกาสให้เกิดบริษัทดาวเทียมใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น เป้าหมายปัจจุบันของมิว สเปซ ชัดเจนไปที่การมุ่งเน้นในเรื่องของธุรกิจการรับส่ง Data

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

 

 

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.