OutSystems เผยคุณสมบัติเด่น 5 ประการของแอป Low-code ที่ช่วยให้องค์กรไม่พลาดในการแปลงโฉมธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ได้อย่างไม่สะดุด…
OutSystems เผย คุณสมบัติเด่น 5 ประการของแอป Low–code ที่ช่วยให้องค์กรก้าวสู่ดิจิทัล
ถือเป็นประเด็นน่าจับตาสำหรับคุณสมบัติเด่น 5 ประการของ Low–Code ด้วยมีแพลตฟอร์มมากมายในตลาดที่พร้อมเสนอแอป low-code ในหลากหลายรูปแบบซึ่งเต็มไปด้วยคุณสมบัติยาว และเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย รวมถึงมีผู้เล่นในท้องตลาดมากกว่า 200 ราย
อย่างไรก็ตามสำหรับหลาย ๆ แพลตฟอร์มนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับบุคคลหรือกลุ่มงานที่นำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดทางธุรกิจ แต่เพื่อให้บรรลุถึงคุณประโยชน์ที่แท้จริง Low–Code ควรถูกนำมาใช้ในรูปแบบของแอปพลิเคชันระดับองค์กรที่สามารถเพิ่มความคล่องตัว
และเสริมสร้างกระบวนการทำงานแบบ Digital มอบประสบการณ์บริการในยุค Digital Transformation ได้อย่างไม่สะดุด และเป็นที่พึงพอใจต่อผู้ใช้งาน
ดังนั้นในขั้นตอนการจัดอันดับประโยชน์ของ Low–Code สิ่งแรกที่ควรทำคือการคัดรายชื่อผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ ที่ไม่สามารถ ส่งมอบแอปพลิเคชันระดับองค์กรได้ออก ถึงกระนั้นเนื่องจากแพลตฟอร์มการพัฒนา low-code ระดับองค์กรสามารถใช้ตอบโจทย์งานได้เกือบทุกรูปแบบ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลือกหาสมบัติเด่นที่ดีที่สุด
แต่ล่าสุด OutSystems ได้ออกมาวิเคราะห์ และประเมินผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Low–Code โดยเทียบกับเกณฑ์การวัดมากกว่า 190 ข้อเพื่อพิจารณาว่า แพลตฟอร์มใดที่มอบขีดความสามารถและประโยชน์ของ Low–Code ได้หลากหลายและครอบคลุมที่สุด เรามาดูกันว่าทั้ง 5 ข้อนั้นมีอะไรบ้าง
ความเร็ว (Speed)
จากคุณประโยชน์ทั้งหมดของการพัฒนาแอป Low–Code สิ่งแรกที่ชัดเจนคือความสามารถในการเร่งการส่งมอบซอฟต์แวร์ และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยในบล็อกโพสต์ล่าสุดหัวข้อ “ทำไมคุณต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ low-code แม้ว่าคุณจะไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดหาซอฟต์แวร์“ (Why You Need To Know About Low-Code, Even If You’re Not Responsible for Software Delivery)
ที่เขียนโดย จอห์น ไรเมอร์ (John Rymer) จาก Forrester ซึ่งเขาอธิบายว่าแพลตฟอร์ม Low–Code มอบศักยภาพในการ “ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์รวดเร็วขึ้นกว่าวิธีการ แบบดั้งเดิมถึง 10 เท่า“ ต่อไปนี้คือความสามารถบางส่วนที่อธิบายได้ว่าทำไมการพัฒนาแอปด้วย Low–Code จึงเร็วขึ้นมาก
- ฟังก์ชั่นลาก และวาง (Drag and Drop), UI ที่ช่วยสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ไว้ล่วงหน้า แบบจำลองกระบวนการทางธุรกิจ logic และแบบจำลองข้อมูล ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบ full-stack ข้ามแพลตฟอร์มไปมาได้อย่างรวดเร็ว
- APIs และ connectors ที่เปิดใช้งานง่าย สามารถบูรณาการเข้ากับ third party tools ที่นักพัฒนาซอฟท์แวร์ใช้ อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเรียนรู้เพิ่มเติมใหม่ ๆ
- การส่งมอบแอปพลิเคชันด้วยคลิกเดียว ช่วยให้คุณติดตามการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด และจัดการสคริปต์ฐานข้อมูล และกระบวนการปรับใช้งานได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลามากมายกับการติดตั้ง และดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
ความคล่องตัว (Agility)
ความคล่องตัวทางธุรกิจช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด และโอกาสใหม่ ๆ ได้ โดยการนำนวัตกรรมและโซลูชั่นดิจิตอลมาใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจ ทุกวันนี้ความคล่องตัวสำหรับองค์กรมีความสำคัญมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
เพราะขนาดบริษัทที่โตขึ้นจากการดิสรัปชั่นธุรกิจดั้งเดิมยังต้องถูก Disrupt เสียเองหากไม่สามารถปรับตัวและไม่สามารถสร้างความคล่องตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง Low–Code จึงเข้ามามีบทบาทช่วยเปลี่ยนองค์กรไปสู่รูปแบบธุรกิจดิจิทัลใหม่ ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ของตลาด ความต้องการของผู้บริโภค
และลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แล้ว Low–Code ช่วยได้ยังไง? ง่ายๆ ก็คือ ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะความเร็วในการพัฒนาแอปซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในคุณสมบัติเด่นของ Low–Code ข้อที่ 1 เมื่อคุณสามารถส่งมอบ แอปพลิเคชันแบบ full stack ภายใน 2-3 สัปดาห์
และสามารถแก้ไขแอปโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ช่วยให้ธุรกิจที่ต้องปรับตัวเพื่อตอบรับกับสภาพการณ์ของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยนวัตกรรมซอฟต์แวร์ที่ล้ำสมัยเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเยอะ แต่ Low–Code นั้นมีมากกว่าเรื่องของความเร็วเพราะช่วยให้คุณสามารถส่งมอบแอปพลิเคชั่นคลาวด์ที่ทันสมัย
และทำงานร่วมกับระบบเดิมได้อย่างราบรื่น ทำให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ Low–Code ยังง่ายต่อการผนวกองค์ประกอบทุกส่วนมารวมลงในแอปพลิเคชันของคุณเพื่อให้ลูกค้า สามารถสื่อสารทางธุรกิจกับคุณได้ตามต้องการ
และยังช่วยให้สามารถปรับระบบธุรกิจหลัก (Core System) ให้ทันสมัย ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เกี่ยว ข้องกับความคล่องตัวเช่น บริการไมโครเซอร์วิส, คอนเทนเนอร์, เซิร์ฟเวอร์เลส และอื่น ๆ ลองจินตนาการว่าถ้าต้องทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดด้วยการลงมือเขียนโค้ดด้วยตัวเองแบบดั้งเดิมสิ ความคล่องตัวด้าน IT หรือธุรกิจจะเป็นอย่างไร?
มอบประสบการณ์ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม (Multiexperience)
ก่อนหน้านี้เมื่อพูดถึง Low–Code เราจะสังเกตุได้ว่ามันช่วยส่งมอบสิ่งที่คุณต้องการเพื่อให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อกับธุรกิจของคุณในวิธีของพวกเขา บริษัทนักวิเคราะห์อิสระ การ์ตเนอร์ (Gartner) เรียกสิ่งนี้ว่า “Mulitexperience” และเป็นหนึ่งในคุณประโยชน์ที่สำคัญยิ่งของ Low–Code
ด้วย Low–Code คุณจะสามารถจัดการและมอบประสบการณ์ของลูกค้าแบบ Omni Channel ที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นจุดที่องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบและแข่งกับรายใหญ่ที่อยู่ในสถานะผู้นำตลาดได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณสูงหรือต้องจ้างทีมนักพัฒนาที่มีค่าตัวสูงลิ่ว ผลลัพธ์ที่ได้นั้นน่าทึ่งมาก
Mulitexperience ไม่ได้เกี่ยวกับช่องทางแต่เกี่ยวกับผู้ใช้งาน มันคือการส่งมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อผ่านทุกจุดที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่ง Low–Code ทำให้ทุกอย่างง่ายและสะดวกขึ้น ด้วย built–in template, automated refactoring แช็ทบ็อท, AI ฯลฯ
ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกครั้งที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจจะได้รับแต่ความสะดวก และไม่รู้สึกแตกต่าง นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ได้ตลอดอีกด้วย โดยไม่ต้องผ่านการเรียนรู้ใหม่หรือทำซ้ำขั้นตอนเดิม Low–Code ช่วยเพิ่มความเร็วในการลัดขั้นตอนและขจัดความซับซ้อนในการมอบ ประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทุกรายในทุกครั้ง
แพลตฟอร์มการพัฒนาสำหรับทุกคน
Low–Code ช่วยทำให้ทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างโซลูชั่นที่ดีที่สุด และปลดปล่อยศักยภาพที่สร้างสรรค์ ของทีมธุรกิจและฝ่ายไอที เนื่องจาก Low–Code เป็นการพัฒนาผ่าน visual development จึงเป็นไปได้ที่จะสามารถสร้าง แอปโดยไม่ต้องเขียนโค้ด และตอบโจทย์ความต้องการของนักพัฒนามือใหม่
หรือผู้ใช้งานฝ่ายธุรกิจที่พอมีความรู้พื้นฐาน ทางเทคนิคอยู่บ้าง หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านเทคนิคเลยหรือที่รู้จักกันในนาม “นักพัฒนาสมัครเล่น“ (citizen developers) ก็ยังสามารถใช้ฟังก์ชันและโค้ดที่ติดตั้งในตัวเพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นแบบง่าย ๆ ได้
ส่วนผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ก็สามารถใช้ประโยชน์จากโมเดลโค้ดที่สร้างไว้ล่วงหน้า เท็มเพลต UI และอื่น ๆ ได้ ทุกเมื่อตามที่ต้องการ รวมทั้งยังสามารถสลับกลับไปเขียนโค้ดด้วยมือเมื่อต้องการสร้างสิ่งที่ไม่มีอยู่ในคลังการออกแบบ นี่คือข้อดีที่ดึงดูดผู้ที่ต้องการประหยัดเวลาจากการลงโค้ดด้วยมือแบบเดิม
ระบบจัดการจากส่วนกลางแบบอัตโนมัติที่ช่วยขจัดปัญหา Shadow IT
ข้อสุดท้ายของคุณสมบัติเด่นของ Low–Code อีกประการก็คือ ระบบการควบคุมจากส่วนกลางแบบอัตโนมัติ ซึ่งหมายความ ว่าทีมไอทีสามารถเฝ้าดูและควบคุมงานทั้งหมดผ่านคอนโซลกลางที่ให้การมองเห็นอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อม แอปพลิเคชั่น ผู้ใช้งานไอที และระบบรักษาความปลอดภัย
นอกจากนี้นักพัฒนา ยังสามารถสร้างและออกแบบแอปพลิเคชั่นของพวกเขาได้อย่างปลอดภัย และยังอนุญาตให้นักพัฒนาหรือทีมงานที่มี มากกว่าหนึ่งคนสามารถทำงานในโมดูลเดียวกันในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย ซึ่ง Low–Code ยังขจัดปัญหาที่เรียกว่า shadow IT
ซึ่งเป็นคำอธิบายถึงการที่ผู้ใช้งานทางธุรกิจสร้างแอพลิเคชั่นขึ้นเพื่อใช้ในการทำงานประจำวัน โดยไม่ได้ผ่านการรับรู้ หรือได้รับการอนุมัติจากแผนกไอที Low–Code จะช่วยนำการพัฒนาที่ซ่อนตัวอยู่นี้ออกมาจากเงามืด โดยผู้ใช้งานฝ่ายธุรกิจที่กำลังพัฒนาแอพฯ ง่าย ๆ ด้วย Low–Code สามารถศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
และ หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นในระหว่าง การพัฒนาแอปพลิเคชั่น ความพิเศษของการกำกับดูแลในรูปแบบนี้ก็คือ แดชบอร์ด ที่ใช้ AI ในการวิเคราะห์การติดตั้ง Low–Code และเกณฑ์วัดผลการปฏิบัติงาน และยังใหคำแนะนำในการปรับปรุงด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย สถาปัตยกรรม และประสบการณ์การใช้งานอีกด้วย
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th
[…] ที่มา : https://www.itday.in.th/outsystems-reveals-5-key-features-of-low-code-apps-that-help-organizations-g… […]