รีวิว Huawei Watch 3 สมาร์ทวอทช์อัจฉริยะที่ตอบทุกโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น เรื่องงาน สุขภาพ และความบันเทิง…
สำหรับแฟน ๆ หัวเว่ย ที่ตั้งตารอ สมาร์ทวอทซ์ (Smartwatch) เครื่องใหม่ล่าสุด อย่าง หัวเว่ย วอทซ์ 3 (Huawei Watch 3) วันนี้ไม่ต้องรออีกต่อไปแล้วเพราะ หัวเว่ย ได้ประกาศพร้อมจำหน่าย หัวเว่ย วอทซ์ 3 ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ โดยชูจุดเด่นที่การออกแบบการใช้งานให้ล้ำสมัย
และเป็นสมาร์ทวอทซ์ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวัน และเป็นหนึ่งใน สมาร์ทวอทซ์ ที่น่าจับตามองในตลาดปัจจุบัน อีกหนึ่งรุ่น โดยมาพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครอบคลุมครบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การดูแลสุขภาพ ความบันเทิง อีกทั้ง ยังเป็น สมาร์ทวอทซ์ รุ่นแรก ๆ ของ หัวเว่ย
ที่มาพร้อม ระบบปฏิบัติการที่เปิดตัวมาใหม่ล่าสุด ของ หัวเว่ย อย่าง HarmonyOS ซึ่งแน่นอนว่าการที่ไม่ได้รันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android OS) ยอมทำใฟ้หลาย ๆ คน อาจมีข้อสงสัย และกังวล ไม่มากก็น้อย แต่อย่าเพิ่งด่วยสรุปว่าตัว หัวเว่ย วอทซ์ 3 นั้นจะไม่ดี
เพราะล่าสุด แอดมิน ได้เจ้า หัวเว่ย วอทซ์ 3 รุ่น Active Edition (สายดำ) มาทดสอบ ซึ่งหากว่าอยากรู้ว่า หัวเว่ย วอทซ์ 3 นั้นมีดีอย่างไร เรามาไปอ่านกับการ รีวิว เครื่องกันได้เลยครับ
Review : Huawei Watch 3 สมาร์ทวอทช์อัจฉริยะครบจบในเครื่องเดียว
ตามสไตล์ของ หัวเว่ย ที่กว่าจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาซักรุ่น ก็จะค่อนข้างเน้นให้ดูเรียบหรู แต่ต้องสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย เรียกว่าจะขายทั้งทีก็ต้องจูงใจผู้บริโภคด้วย ฟีเจอร์ และฟังก์ชั่น ที่เรียกว่าอัดยัดเข้ามาเต็มทีกันเลยทีเดียว แน่นอนว่าการทำเครื่องออกมาให้ดีคือโจทย์ที่
หัวเว่ยต้องการมอบประสบการณ์ และมุ่งสร้างวิถีชีวิตอัจฉริยะที่ไร้รอยต่อ (Seamless Smart AI Life) อย่างที่ตั้งใจเอาไว้นั่นเอง ซึ่งหากใครเคยใช้สมาร์ทวอทซ์ รุ่นพี่ของหัวเว่ยอย่างเจ้า หัวเว่ย วอทซ์ GT 2 Pro มาแล้วก็จะเข้าใจว่า ทำไมหัวเว่ยถึงพัฒนา หัวเว่ย วอทซ์ 3 ออกมาได้ดูดี ไม่แตกต่างกับรุ่นพี่อย่าง หัวเว่ย วอทซ์ GT 2 Pro
แน่นอนว่าด้วยสเปคเครื่องนั้นอาจจะไม่เต็มเหมือนกับ หัวเว่ย วอทซ์ GT 2 Pro ซึ่งเป็น สมาร์ทวอทซ์ ที่ดีที่สุดของ หัวเว่นนปีที่ผ่านมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หัวเว่ย วอทซ์ 3 นี้ ไม่ได้ขี้เหร่ เพราะจัดเต็มทั้งเรื่องของดีไซน์ และฟีเจอร์การใช้งานที่ครบมากที่สุดรุ่นของ สมาร์ทวอทซ์ ที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน
ซึ่ง หัวเว่ย ก็ตั้งเป้าให้ หัวเว่ย วอทซ์ ซีรี่ย์ นี้ เป็นหัวหอก ในการบุกตลาด สมาร์ทวอทซ์ ในไทย และแข่งขันกับแบรนด์อื่น ๆ ที่ ทยอยเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทวอทซ์ในประเทศไทย มากขึ้น โดยชูจุดเด่นในเรื่องของความหลากหลายที่มากกว่า ดีกว่า และคุมค่ามากกว่า นั่นเอง
สเปคข้อมูล (Specification) : หัวเว่ย วอทซ์ 3
- ขนาด : 46.2 มม × 46.2 มม × 12.15 มม. (ไม่รวมเซ็นเซอร์)
- หน้าจอ : AMOLED 1.43 นิ้ว 466×466 พิกเซล PPI 326 (ระบบสัมผัส และสั่งการ ทัชสกีน)
- น้ำหนัก : 333 กรัม
- สี : Black
- วัสดุกรอบนาฬิกา : วัสดุ Stainless steel และ ceramic
- สายนาฬิกา : สายยางซิลิโคนสีดำ แบบ Fluoroelastomer
- GPS : with A-GPS / GLONASS / BDS / GALILEO / QZSS
- การเชื่อมต่อ : Bluetooth 2.4 GHz รองรับ 5.2 – BR (Bluetooth Basic Rate)+BLE (Bluetooth Low Energy) / Wifi 2.4 GHz / NFC
- เซ็นเซอร์ : Acceleration sensor / Gyro sensor / Geomagnetic sensor / Optical heart rate sensor / Ambient light sensor / Barometric pressure sensor
- หน่วยความจำภายใน : 16GB / 2GB RAM
- แบตเตอรี่ : 450 mAh
- ระยะเวลาในการใช้งาน : 4G (3 วัน) / โหมด Ultra-Long Lasting (14 วัน)
- ปุ่ม : ปุ่มเม็ดมะยมลายขีดแบบหมุนควบคุมสั่งการได้ / ปุ่มลัด (เข้าโหมดออกกำลังกาย)
- ระบบปฏิบัติการ : Harmony OS 2.0
- เทคโนโลยีชาร์จ : ชาร์จไร้สาย (Wireless charging 10W)
- มาตรฐานการกันน้ำ : มาตรฐานการกันน้ำ 5ATM
- การเล่นเพลง : รองรับ
- ราคา : 12,990 บาท
- วันจำหน่าย : 14 กรกฎาคม 2564
หลังจากที่ได้ทดสอบ และทดลองใช้ หัวเว่ย วอทซ์ 3 มาได้ซักพัก คงต้องบอกว่าแม้ว่าจะเป็นรุ่นเริ่มต้นของ หัวเว่ย วอทซ์ ซีรี่ย์ ในปี 2564 แต่ประสิทธิภาพของตัวเครื่องนั่นก็ไม่ได้แย่ และออกไปค่อนข้างดี เริ่มตั้งแต่ตัววัสดุ ที่ใช้ประกอบตัวเรือนถือว่าดูแข็งแรงทนทานมาก
โดยตัวเรือนนั้นใช้วัสดุอย่าง Stainless steel ในส่วนของตัวเรือน ขณะที่ด้านส่วนของฝาหลังที่มีเซ็นเซอร์ นั้นก็ใช้ ceramic ทำให้ตัวเครื่องข้างข้างทนทาน เมื่อบวกกับกระจกหน้าจอ AMOLED 1.43 นิ้ว ที่กันกระแทก และรอยขีดข่วนได้ดีในระดับหนึ่ง ทำให้สบายใจเวลาใช้งานเป็นประจำ
ในส่วนการตั้งค่าการใช้งานตัวเครื่องก็เรียกว่าใช้งานค่อนข้างง่ายไม่ยุ่งยากเท่าไร เมื่อเรากดที่ปุ่มเม็ดมะยม 1 ครั้งก็จะเป็นการเข้าสู่หน้าจอหลัก และอีกหนึ่งครั้งก็จะเข้าสู่เมนูการใช้งานต่าง ๆ ทีมี หลากหลายให้เลือกใช้งาน โดยในส่วนนี้ตัวหน้าที่เป็นระบบทัชสกีนที่ค่อนข้างแตกต่างกัยสมาร์ทวอทซ์รุ่นอื่น ๆ ที่มีในตลาด
ซึ่งจะเป็นการปัดหน้าจอตัวเรือนเพื่อเปลี่ยนไปหน้าอื่น ๆ แต่เป็นระบบทัชสกีนที่คล้ายกับการสั่งงานบนหน้าจอของสมาร์ทโฟน ที่สามารถขยาย และย่อ ได้โดยใช้ 2 นิ้ว ซึ่งส่วนนี้แอดมินถือว่าค่อนข้างดี ถึงดีมาก เพราะในสมาร์ทวอทซ์รุ่นอื่นฟังก์ชั่นการใช้จะไม่สามารถปรับ ขยาย และย่อ ได้
ซึ่งสำหรับคนที่นิ้วใหญ่ ก็มักจะเป็นปัญหากดพลาดไปโดนฟังก์ชั่นที่ไม่ได้ต้องการใช้งาน แต่ใน หัวเว่ย วอทซ์ 3 เราสามารถขยายเมนูให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้กดเลือกใช้ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งในหน้าเมนู นี้ เราจะสามารถเลือกเข้าใช้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ อาทิ การวัดอุณภูมิผิวหนัง, การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ, เข็มทิศ, ปฏิทิน, การโทร, การตั้งเวลา, การเล่นเพลง, การออกกำลังกาย, การตรวจจับความเครียด, การนอน, การวิ่ง, รายชื่อผู้ติดต่อ, สภาพอากาศ, โน๊ต, ตั้งปลุก, การจับเวลา ฯลฯ ได้
ในส่วนของ “การตั้งค่า“ เมื่อกดเข้าไปเราจะสามารถเข้าสู่การตั้งค่าการเชื่อมต่อ WiFi, Bluetooth, เครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์, NFC รวมไปถึงการตั้งค่าหน้าปัดนาฬิกา ที่สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือน, การตั้งมุมมองในการแสดงบนเมนู และยังสามารถกำหนดในแสดงแบบกำหนดเองได้
นอกจากนี้ยังสามารถเข้ามาเพื่อกำหนดความสว่างของหน้าจอตัวเรือน, กำหนดสลีป ได้ตั้งแต่ 10 วินาที ไปจนถึง 5 นาที และยังสามารถกำหนดเวลาในการแสดงภาพของหน้าปัดหน้าจอ ได้ตั้งแต่ 5 นาที ไปจนถึง 20 นาที เลยทีเดียว ขณะที่ในการส่วนของการการตั้งค่าเสียง และการสั่น ก็สามารถกำหนดรับเสียงตั้งแต่ปิดไปจนถึงดังสุด (แอดไม่แนะนำให้ตั้งดังสุดนะครับ เพราะนอกจากจะเสี่ยงให้ลำโพงพังเร็วแล้ว ยังจะทำให้ตกใจด้วย) ในส่วนนี้ เรายังสามารถตั้งระดับดังของโหมด AI Voice ได้อีกด้วย
นอกจากนี้เรายังสามารถตั้งค่าหน้าปัดได้อย่างอิสระกับฟีเจอร์ DIY Watch Faces ซึ่งสามารถตั้งค่าหน้าปัดเป็นภาพถ่ายของตัวเอง หรือภาพที่ชื่นชอบ มีหน้าปัดที่ติดตั้งมาให้เลือกใช้งานมากกว่า 30 แบบ และสามารถไปที่ Watch Face Store เพื่อดาวน์โหลดหน้าปัดรูปแบบใหม่ ๆ ได้
ขณะที่ในส่วนของฟังก์ชั่น โน๊ต นั้นก็ช่วยให้เราบันทึกเสียงบนนาฬิกาได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วผ่านแอปพลิเคชัน Note ช่วยให้การทำงานสะดวกสบาย และรวดเร็วยิ่งขึ้น
และเรายังสามารถตั้งเสียงเรียกเข้าเหมือนที่เราตั้งในโทรศัพท์ได้ โดย มีให้เลือกเสียงเรียกเข้าถึง 31 เสียง กันเลยทีเดียว ซึ่งเราก็สามารถตั้งค่าให้ เปิด/ปิดเสียงเรียกเข้า หรือเปิดให้ตัวเรือนสั่นเมื่อปิดเสียง หรือสั่นเมื่อมีสายเรียกเข้า ก็ได้ แน่นอนว่าเราสามารถเปิดห้ามรบกวนเวลานอนได้อีกด้วย
และหากว่ากลัวว่าคนจะมากดหน้าจอเล่น เราก็สามารถเข้าไปตั้งรหัส ที่การตั้งค่า PIN ได้ รวมถึงยังสามารถกดเปิดให้ตัวเรือนล็อคอัตโนมัตเมื่อถอดออกได้ อีกทั้งเรายังสามารถเข้าดู แอปฯ ต่าง ๆ ที่มีในตัวเครื่องได้ ซึ่งเมื่อเข้ามาก็จะเจอแอปที่แสดงอยู่ในหน้าเมนูที่กล่าวไปข้างต้น
นอกจากนนี้เรายังสามารถเข้าเช็คเปอร์เซนต์ของแบตเตอรี่ขนาด 450 mAh ภายในตัวเครื่องได้ ซึ่งก็จะแสดงระยะเวลาที่เหลือในใช้พลังของตัวเครื่องได้ ซึ่งจะระบุตั้งแต่ วัน/ชั่วโมง/นาที (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าการแสดงผล และการใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะทำให้กินพลังงานเยอะ)
ซึ่งจากการทดสอบใช้งานหนัก ๆ พบว่าพลังงานค่อนข้างหมดเร็ว แต่อย่างไรก็ด้วยการที่ตัวเครื่องนั้น รองรับการชาร์จแบบ Reverse Charging โดยแตะ หัวเว่ย วอทซ์ 3 เข้ากับสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยที่รองรับการชาร์จแบบเดียวกัน เพื่อรับพลังงานจากสมาร์ทโฟน โดยไม่ต้องพึ่งแท่นชาร์จ ก็น่าจะพอช่วยให้ใช้งานได้นานขึ้น
อย่างไรก็ดีตัวยังมีโหมดประหยัด Ultra–Long Lasting มาให้ ซึ่งจะช่วยประหยัดดพลังงานให้เครื่องใช้งานได้นานขึ้น แต่ต้องแลกมากับการที่หน้าต่างจะเปลี่ยนไปจากที่ตั้งเอาไว้ และหากกดให้กลับไปใช้โหมดปกติ ตัวเครื่องจะบังคับให้ restart ซึ่งผลที่ได้คือหน้าจอจะกับไปสู่หน้าจอที่เลือกเช็ตเอาไว้ในตอนตั้งค่า
และสิ่งที่ผู้ใช้งานห้ามพลาด คือการเข้าไปตั้งค่าความความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว เพราะในส่วนนนี้จะช่วยให้ผู้ที่ใช้งานเจ้า หัวเว่ย วอทซ์ 3 สามารถเปิดการระบุตำแหน่ง (GPS), การเปิด SOS ที่คอยตรวจสอบการหกล้มได้อัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงเมื่อเปิดใช้งานการแจ้งเตือนฉุกเฉิน หากนาฬิกาตรวจพบการหกล้มของผู้ใช้
และหากปราศจากการตอบสนองนาน 1 นาที จะปรากฎข้อความสอบถามว่าต้องการให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือไม่ หรือจะใช้การกดปุ่ม ปิด/เปิด ตัวเครื่อง ติดต่อกัน 5 ครั้ง เพื่อขอความช่วยเหลือ
ขณะที่ในส่วนของฟีเจอร์การเข้าถึงที่มีอยู่นั้นจะเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ไม่ควรพลาดลองเล่น เพราะเราสามารถเข้าไปกำหนดท่าทางของมือเพื่อสั่งงาน อาทิ ยกมือขึ้นเพื่อปลุก, กำมือ และปล่อย อย่างรวดเร็วเพื่อรับสายเรียกเข้า
นอกจากนี้ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น หัวเว่ย วอทซ์ 3 ยังใส่ดูแลสุขภาพรอบด้าน มาให้เช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย การวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) ระหว่างออกกำลังกาย การติดตามคุณภาพการนอนหลับ รวมถึงติดตามระดับความเครียด พร้อมฟีเจอร์ฝึกกำหนดลมหายใจ ให้ควบคุมอารมณ์ และจัดการความเครียดได้อีกด้วย
บรรจุภัณฑ์ / อุปกรณ์ภายในกล่อง
การออกแบบแพคเกจจิ้ง (Packaging Design) ตัวกล่องนั้นจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดำ พร้อม โลโก้ หัวเว่ย และชื่อรุ่นอุปกรณ์ ในสีทองแดงจาง ๆ ครับ และภาพผลิตภัณฑ์ หัวเว่ย วอทซ์ 3 ด้านหลังสกีนคุณสมบัติ และความสามารถของตัวเครื่อง และชื่อรุ่น, รหัสตัวเรือน, สีของตัวเครื่อง ขณะที่ คิวอาร์โค้ด (QR Code) สำหรับใช้แสกนไปโหลดแอปพลิเคชั่น Huawei Health นั่นจะอยู่ภายในกล่องครับ
- ตัวเครื่องนาฬิกา
- แท่นชาร์จพร้อมสายเคเบิล
- คู่มือการใช้งาน
- ข้อมูลความปลอดภัย
- ใบรับประกันสินค้า
- ใบ คิวอาร์โค้ด (QR Code) สำหรับใช้แสกนไปโหลดแอปพลิเคชั่น Huawei Health
การเชื่อมต่อตัวเครื่อง
ต้องโหลดแอปพลิเคชั่น Huawei Health มาติดตั้งที่ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนก่อนนะครับ ซึ่งเมื่อโหลดมาเรียบร้อยก็เปิดสัญญาณ บลูทูธ (Bluetooth) ที่ตัวเครื่อง และเข้าไปที่แอปพลิเคชั่น เพื่อเตรียมเชื่อมต่อครับ โดยแค่เปิดแอป Huawei Health แล้วไปที่ อุปกรณ์ ไปที่ กดเพิ่มอุปกรณ์ จากนั้นเลือกชื่อนาฬิกาของคุณ แตะ จับคู่ และแตะชื่อบลูทูธ ที่ถูกต้อง (ซึ่งในส่วนนี้ แอดมินขอแนะนำให้ทำระหว่างการวางเครื่องไว้กับแท่นชาร์จครับ หากใช้วิธีการแสกน หรือค้นหา แม้ว่าจะเชื่อต่อได้ตัวเครื่องก็จะไม่เข้าหน้าจอหลักครับ)
ซึ่งเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนผ่านสัญญาณ Bluetooth 5.2 ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 0 หรือสูงกว่า และ iOS เวอร์ชั่น 9.0 หรือสูงกว่า
โดยเมื่อเชื่อมต่อสำเร็จเราจะเห็นหน้าจอที่เป็นภาพของ หัวเว่ย วอทซ์ 3 ซึ่งแสดงเปอร์เซ็นต์ของแบตเตอรี่ จำนวนก้าวที่เดิน กิโลแคลอรี่ที่เผาผลาญ ระยะทางที่เดิน (กม.) และการเลือกหน้าปัดแสดงผลของ หัวเว่ย วอทซ์ 3 ครับ ซึ่งในส่วนนี้ก็จะคล้าย ๆ กับ สมาร์ทวอทซ์ รุ่น ๆ อื่น ของ หัวเว่ย ที่มีให้เลือกหลายหลายแบบตามความชอบ
ซึ่งจะมีทั้งแบบฟรี และเสียเงินซื้อ ครับ ถัดไปก็จะเป็นฟีเจอร์การติดตามสุขภาพ, การเจ้งเตือนการใช้งาน, การจัดการ eSIM, การเข้า หัวเว่ย แอปสโตร์ ขณะที่ โหมดอื่น ๆ เราจะสามารถเข้าไปตั้งเปิดการควบคุมกรเล่นเพลง, การแจ้งเตือนเมื่อตัดสัญญาณเชื่อมต่อบลูทูธ และการเรียกคืนค่าโรงงานครับ
เรียกว่า หัวเว่ย วอทซ์ 3 เอาใจคนรักการออกกำลังกายมาก ๆ เพราะใส่โหมดการออกกำลังกาย มากกว่า 100 โหมด พร้อมเก็บข้อมูลการออกกำลังกายทุกฝีก้าวด้วยเซ็นเซอร์เซ็นเซอร์เร่งความเร็ว (Acceleration sensor) และเซ็นเซอร์ไจโรสโคป (Gyro sensor)
ซึ่งจะคอยตรวจจับการออกกำลังกายอัตโนมัติ รวมถึงการนับก้าว อัตราการเผาผลาญแคลอรี่ ระยะเวลาที่ลุกขึ้นยืน รวมไปถึงสามารถระบุกิจกรรมปัจจุบันได้โดยอัตโนมัติ
กลับไปที่ตัวเรือนเมื่อเชื่อมต่อสำเร็จเราได้เห็นหน้าจอของตัวเรือนแบบ AMOLED ขนาด 1.43 นิ้ว 466x466 พิกเซล PPI 326 ซึ่งตัวหน้าจอนั้นสามาถใช้ควบคุมการใช้งานด้วยการ ปัดขึ้น-ลง หรือซ้าย-ขวา และย่อขยายด้วยนิ้ว ผ่านระบบสัมผัสหน้าจอที่มีอัตราการตอบสนองที่รวดเร็วมากครับ
สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นความพิเศษมาก ๆ ของ หัวเว่ย วอทซ์ 3 ก็คือตัวเครื่องนั้นรองรับการใช้งาน eSIM (ซึ่งในส่วนนี้ต้องไปขอเปิดใช้งานกับผู้ให้บริการโครงข่ายสัญญาณมือถือนะครับ) ซึ่งเมื่อเปิดเเล้วก็จะสามารถใช้งานในเรื่องของการรับสาย และโทรออกได้นั่นเองครับ รวมถึงดาวน์โหลด และจัดการแอปพลิเคชันยอดฮิตได้โดยตรงบนสมาร์ทวอทช์
เช่น หัวเว่ย Music (พร้อมเพลงจาก GMM กว่า 20,000 เพลง), Coolism (แอปฟังวิทยุออนไลน์จากคลื่นคลูลิซึ่ม FM93), Thai Fast Dictionary (แอปฝึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษ), Thai Airways (แอปตารางการบินของสายการบินไทย), Releep (แอปช่วยจัดการด้านสุขภาพ) และอื่น ๆ
โดยตอนที่ทดลองใช้แอดมินลองใช้โดยไม่ไปขอเปิดใช้ eSIM ผลที่ได้คือโทรออกได้นะครับ แต่เบอร์ที่โชว์ที่ตัวเรือนนาฬิกาของเรานั้นจะเป็นเบอร์แปลก ๆ ครับ นอกจากนี้ยังเปิด Bluetooth เพื่อทำการค้นอุปกรณ์เสริม อย่าง หูฟัง ไร้สาย และเชื่อมต่อได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านสมาร์ทโฟนทำให้สามาถฟังเพลงผ่านตัว หัวเว่ย วอทซ์ 3 ได้
การออกแบบ (design)
ด้านการดีไซน์ออกแบบตัวเครื่องนั้นถูกออกแบบให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหน้าจอกว้างขนาด 1.43 นิ้ว ที่ให้ความละเอียดแบบ 466x466 พิกเซล (PPI 326) ทำให้ภาพที่ได้สวยในระดับหนึ่งครับ แต่ไม่ถึงกลับคม และอย่างที่กล่าวไปว่าตัวเรือนนั้นดีไซน์คล้ายกับรุ่นพี่ อย่าง หัวเว่ย วอทซ์ GT 2 Pro
ทำให้คล้ายกัน แต่ที่แตกต่างคือการสั่งงานนั้นจะเป็นการสั่งงานผ่านปุ่มเม็ดมะยม ซึ่งแตกต่างกับ หัวเว่ย วอทซ์ GT 2 Pro ที่สั่งงานผ่านปุ่ม 2 ปุ่ม และไม่สามารถหมุดเพื่อเลื่อนหน้าจอได้นั่นเอง ส่วนตัวบอดี้นั้นเป็นการผสมผสานกันระหว่าง Stainless steel และ ceramic ครับ ทำให้แข็งแรงทนทาน และไม่ทำให้ตัวเครื่องหนักเกินไป ขณะที่ตัวสายนั้นซิลิโคนที่มีความอ่อนนุ่ม และมีช่องให้ล็อคให้เยอะ แต่แอบเสียดายที่ไม่มีสายสำรองมาให้
อย่างไรก็ดี ตัวเครื่องยังใส่โซลูชัน MeeTime มาให้ด้วย ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้วิดีโอคอลด้วยคุณภาพระดับ FullHD แต่เราต้องไปเปิดใช้งานก่อนนะครับ โดยเปิดสมาร์ทโฟน หัวเว่ย ของเราขึ้นมากดไปที่การโทรเข้า-ออก มองไปที่มุมขวาด้านล่างจะเห็น MeeTime กดเข้าไป ทำตามขั้นตอนที่เครื่องบอก แล้วเข้าไปที่ตัวเรือนกดเมนูโทรเพื่อเชื่อมต่อครับ ก็จะสามารถใช้งานได้ครับ
ข้อสรุปการใช้งานหลังจากทดสอบ
การใช้งานมาซักพัก หัวเว่ย วอทซ์ 3 ถือว่าค่อนข้างลงตัวในการใช้งาน มีความหลากหลายในส่วนฟังก์ชั่น และฟีเจอร์การใช้งาน แต่แอบเสียดายที่แอปนั้นอาจจะไม่หลากหลายเหมือนตอนที่รันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แต่เมื่อดูจากทิศทางของ หัวเว่ย แอป แกลลอรี่ ที่เดินหน้าจับมือกับนักพัฒนาอยู่เรื่อย ทำให้มีแอปฯ เพิ่มมากขึ้น
ก็น่าจะช่วยให้ผู้ใช้ไม่ติดขัด โดยส่วนตัวแล้วการเปลี่ยนมาใช้ระบบปฏิบัติการของตัวเองอย่าง HarmonyOS ถือว่าไม่แย่เท่าไร แต่แอบเสียดายที่ตัวเรือนที่ให้แบตเตอรี่มาให้เพียง 450 mAh ทำให้เมื่อใช้งานแอปบนเครื่องหนัก ๆ ทำให้พลังงานหมดเร็วมากกว่าที่ควรเป็น ซึ่งอาจจะจำเป็นจะต้องพกแท่นชาร์จติดตัวได้ด้วยนะครับ
แต่อย่างไรก็ด้วยการที่ตัวเครื่องนั้น รองรับการชาร์จแบบ Reverse Charging พอช่วยจะใช้งานได้นานขึ้นครับ ขณะที่เมื่อเปิดโหมดประหยัดพลังงาน Ultra–Long Lasting มาให้ แต่ค่อนข้างยุ่งยากในการเปลี่ยนกลับไปใช้โหมดปกติเพราะตัวเครื่องจะ restart และกลับไปที่หน้าจอจะกับไปสู่หน้าจอที่เลือกเช็ตเอาไว้ในตอนตั้งค่า
สำหรับการเปลี่ยนสายของตัวเรือนนั้นถือว่าทำได้ง่ายครับ แต่แอบเสียดายที่มีสายมาให้เพียง 1 คู่ เท่านั้น แต่หากใครอยากได้สายเพิ่มก็น่าจะสามารถไปหาซื้อได้ที่ HUAWEI Experience Store, และร้านค้าตัวแทนจำหน่ายอย่
ข้อดี
- หน้าจอ AMOLED 1.43 นิ้ว 466×466 พิกเซล PPI 326 ใหญ่ และคมชัดในระดับที่ดี รองรับการควบคุมการใช้งานด้วยการ ปัดขึ้น-ลง หรือซ้าย-ขวา และย่อขยายด้วยนิ้ว
- มีปุ่มเม็ดมะยมลายขีดแบบหมุนควบคุมสั่งการได้ / ปุ่มลัด (เข้าโหมดออกกำลังกาย)
- รองรับชาร์จไร้สาย (Wireless charging 10W) และการชาร์จแบบย้อนกลับ (Reverse Charging)
- บอดี้ Stainless steel และ ceramic ทำให้แข็งแรงทนทาน และไม่ทำให้ตัวเครื่องหนักเกินไป
- รองรับการใช้งาน eSIM ทำให้สามารถโทรออก และรับสาย รวมถึงพลังเพลงได้ผ่านตัวเรือน
- สามารถเชื่อมต่อหูฟังไร้สายได้โดยตรงไม่ต้องผ่านสมาร์ทโฟน
- บันทึกเสียงบนนาฬิกาได้ผ่านแอปพลิเคชัน Note
- มีโหมดการออกกำลังกาย มากกว่า 100 โหมด
- รองรับการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2), วัดความเครียดในแต่ละวัน, วัดอุณภูมิผิว, ติดตามการพักผ่อน
ข้อเสีย
- แบตเตอรี่มาให้เพียง 450 mAh เมื่อใช้งานแอปบนเครื่องหนัก ๆ ทำให้พลังงานหมดเร็ว
- มีสายนาฬิกา เพียงคู่เดียว
- เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนครั้งแรกบนแอปพลิเคชั่น Huawei Health ได้ยากหากไม่วางบนแท่นชาร์จ
- หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง (16GB / 2GB RAM) ถือว่าให้มาไม่เยอะ แต่เพียงพอสำหรับแอปฯที่มีให้ติดตัวเครื่อง
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th