“เหมืองอัจฉริยะแห่งซานซี” ต้นแบบแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมหนัก (Heavy Industry) สู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน…
“เหมืองอัจฉริยะแห่งซานซี ” ต้นแบบการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาค Heavy Industry
การทำงานในเหมืองนั้นทั้งร้ อนและอันตราย ไม่ได้สะดวกสบาย และทันสมัยเหมื อนธุรกิจหรืออุตสาหกรรมรูปแบบอื่ น ๆ หลายคนจึงไม่เคยคิดว่ ากระบวนการดำเนินงานและคุณภาพชี วิตการทำงานของพนักงานเหมื องจะได้รับการพัฒนาขึ้นได้อย่ างไร
แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีโครงข่ ายโทรคมนาคม และการประมวลผลคอมพิ วเตอร์มีความก้าวหน้าขึ้นเป็ นอย่างมาก ธุรกิจเหมืองจึงเป็นอีกหนึ่งอุ ตสาหกรรมที่เริ่มมี การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรั บใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย เพิ่มอัตรากำลังการผลิต และที่สำคัญคือ พัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนั กงาน
และก้าวเข้าสู่ “ การทำเหมืองอัจฉริยะ ” อย่างเต็มตัว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคื อโครงการความร่วมมือล่าสุดระหว่ าง หัวเว่ย กับ รัฐมณฑลซานซี สาธารณรัฐประชาชนจีน จินเหนิง โฮลดิ้งกรุ๊ป (Jinneng Holding Group) และบริษัท ซานซี คลาวด์ เอรา เทคโนโลยี (Shanxi Cloud Era Technology Co., Ltd.)
เปิดศูนย์นวัตกรรมเหมืองอัจฉริ ยะ “ซานซีโมเดล “ ขึ้นมา โดยมีความมุ่งหวังที่ จะลดจำนวนพนักงานที่จะต้องปฏิบั ติหน้าที่ที่เสี่ยงอันตราย ด้วยการนำเทคโนโลยี รวมถึงคลาวด์คอมพิวติ้ง มาเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน โดยศูนย์นวัตกรรมเหมืองอัจฉริยะนี้ จะมีเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ ยวชาญด้านไอซีที
และด้ านการทำเหมืองประจำอยู่ทั้งหมด 220 คน เพื่อช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ในด้ านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการดูแลโครงข่ ายข้อมูล การผลักดันระบบการทำงานแบบอั ตโนมัติ เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยี Big Data มาใช้วิเคราะห์ ในการให้ระบบทั้ งหลายทำงานประสานกั นจนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้ งเอาไว้ได้
เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร ของ หัวเว่ย
เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริ หาร ของ หัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยหวังที่จะนำเทคโนโลยี โทรคมนาคมมาผนวกเข้ากับธุรกิ จเหมืองถ่านหิน เพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่านทางดิ จิทัลให้กับอุตสาหกรรมดังกล่าว และสร้างรูปแบบธุรกิจที่มี ความเสี่ยงโดยใช้คนน้อยลง มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพสู งขึ้น
เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิ ตการทำงานที่ดีขึ้น ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้จุดประกายด้ านเทคโนโลยีให้กับเหมืองถ่านหิ นหนึ่งแห่ง โรงงานเหล็กหนึ่งแห่ง และท่าเรืออีกหนึ่งแห่ง แต่ในอีกสองสามปีจากนี้ เราจะนำเทคโนโลยีมา “จุดประกาย “ ให้เหมือง โรงงาน และท่าเรือ อีกนับร้อยแห่ง
ศูนย์นวัตกรรมดังกล่าวสร้างขึ้ นด้วยแนวคิด “ของทุกระบบ จากทุกฝ่าย เพื่อทุกคน “ ( of all, by all, and for all ) ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่หัวเว่ยเลื อกจะสร้างศูนย์นี้ขึ้นที่ มณฑลซานซี เพราะมณฑลดังกล่าวเป็นหนึ่งในพื้ นที่ที่ผลิตพลังงานปริมาณสูงสุ ดให้แก่ประเทศจีน และมีประสบการณ์ที่คร่ำ หวอดในการดำเนินธุรกิจเหมือง
โดยหัวเว่ยเริ่มนำนวัตกรรมเข้ ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562เพื่อสร้างระบบปฏิบัติการที่ ไม่ต้องใช้คน มีความอัจฉริยะ สะอาด และปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดั บต่ำ เป้าหมายหลักของการนำเทคโนโลยี มาปรับใช้ในธุรกิจเหมืองคือ การเพิ่มระดับความปลอดภั ยและประสิทธิภาพในการทำงาน และเนื่องจากการทำงานในเหมืองนั้ นอันตราย
และจำเป็นที่จะต้องส่ งข้อมูลจำนวนมากขึ้นมาบนพื้นดิ นแบบเรียลไทม์ ส่งผลให้มีความต้องการการอั ปโหลดข้อมูลที่สูงมาก หัวเว่ยจึงร่วมมือกับพันธมิ ตรในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างเสาส่ งสัญญาณขนาดเล็ก
โดยเสาดังกล่าวสามารถทนความชื้น ฝุ่น หรือแม้กระทั่งการระเบิดได้ และมีอัตราส่วนการส่งและรับข้ อมูลอยู่ที่ 3 ต่อ 1 ช่วยเพิ่มความแม่นยำขึ้นจาก 99 .9 % เป็น 99 .99 %
หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะใช้ศูนย์ นวัตกรรมเหมืองอัจฉริยะนี้ ทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้ างเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น กล้องที่สามารถทำความสะอาดตั วเองได้ เสาส่งสัญญาณความถี่ต่ำ หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่ จะนำมาใช้เพื่อคาดการณ์ความเสี่ ยงในการทำงาน
โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเข้ามาสนับสนุ นการทำงานของหุ่นยนต์ และการทำงานแบบไม่ใช้คนเพื่ อลดอันตราย โดยตั้งเป้าว่าศูนย์นวัตกรรมนี้ จะสามารถลดการใช้คนในเหมืองที่ มีการวางระบบอัจฉริยะให้ได้กว่า 60 % และลดจำนวนพนักงานที่จะต้ องลงไปในเหมืองในแต่ละกะให้ได้ ไม่น้อยกว่า 20 %
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังยึดมั่นที่จะเป็นผู้ นำด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ผู้ ประกอบการในธุรกิจเหมื องสามารถสร้างอีโคซิสเต็มที่มี ความพร้อมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ มให้กับธุรกิจ รวมทั้งสร้างคุณประโยชน์ให้กั บภาคสังคมควบคู่กันไปในอนาคตอี กด้วย
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th