เทรนด์ไมโคร (Trend Micro) เผยผลประกอบการไตรมาสแรกของต้นปี 2020 (Q1/63) อยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งโดยที่ผ่านมาพบการเติบโตของยอดขายทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ในทั่วทุกภูมิภาค…
Trend Micro โชว์รายได้ ไตรมาสแรกโตรวม 15%
เทรนด์ไมโคร ประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2020 ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ยอดขายสุทธิของเทรนด์ไมโครยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 9% เมื่อพิจารณาที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่
อันเป็นผลจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์ทุกประเภททั้งบริษัท และจากทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งบริษัทได้สร้างการเติบโตให้กับกลุ่มธุรกิจเชิงพาณิชย์จนสามารถผลักดันให้มีการเติบโตของยอดขายรวมทั้งหมดปีต่อปีได้ถึง 15% ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษอย่างการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดจ์
เมื่อพิจารณาที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อีกทั้งการดำรงตำแหน่งผู้นำตลาดนั้นก็มีความสำคัญมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในการช่วยเหลือลูกค้าเพื่อย้ายการประยุกต์ใช้งานใหม่ ๆ ขึ้นไปยังคลาวด์ให้ได้ผลตามเป้าหมายทางธุรกิจของตัวเองท่ามกลางภาวะที่เต็มไปด้วยอุปสรรคเช่นนี้
โดยมีการเร่งเปลี่ยนถ่ายให้ลูกค้าเชิงพาณิชย์ย้ายขึ้นไปใช้โซลูชั่นแบบ SaaS ได้เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีการติดตั้งอินสแตนซ์ SaaS เพิ่มด้วยอัตราการเติบโตปีต่อปีมากถึง 59% จากการที่ธุรกิจต่าง ๆ มองหารูปแบบการใช้บริการไลเซนส์แบบยืดหยุ่น และการติดตั้งที่ง่ายมากของโซลูชั่นแบบ SaaS
ยิ่งมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลกในขณะนี้ที่ทำให้ทุกฝ่ายมาให้ความสนใจกับเทรนด์ไมโคร อย่างลูกค้าที่พยายามหาการสนับสนุนในการปฏิวัติทางดิจิตอล ที่มักจะต้องการระบบรักษาความปลอดภัยแบบมัลติเลเยอร์เพื่อปกป้องการทำงานจากระยะไกลทั่วทั้งองค์กรด้วย
“การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าไปทั่วโลกต่างส่งผลกระทบทั้งครอบครัว สังคม องค์กรต่าง ๆ และแน่นอนที่สุดคือ การเปลี่ยนมุมมอง และรูปแบบวิถีการดำรงชีวิตของทุกคน”
Eva Chen ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอ ของ เทรนด์ไมโคร กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ ก็รู้สึกประทับใจ และภาคภูมิใจมากกับพนักงานของเราที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มที่ไปพร้อม ๆ กับยังอุทิศตนเพื่อคอยสนับสนุนความสำเร็จของลูกค้า และความเป็นเลิศบนคลาวด์
ซึ่งผลประกอบการประจำไตรมาสเช่นนี้ได้สะท้อนถึงสิ่งที่เราทุ่มเทเพื่อทำให้โลกดิจิตอลปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และบทบาทของเราที่ช่วยให้โลกทางกายภาพนั้นน่าอยู่ขึ้นด้วย สำหรับไตรมาสแรกนี้ เทรนด์ไมโครได้ประกาศยอดขายรวมสุทธิอยู่ที่ 42,126 ล้านเยน (หรือ 386 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
เมื่อคำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน 108.86 เยนต่อเหรียญสหรัฐฯ) และรายรับจากการดำเนินงานอยู่ที่ 10,119 ล้านเยน (หรือ 92 ล้านดอลลาร์ฯ) และรายรับสุทธิที่ปันผลให้แก่บริษัทแม่อยู่ที่ 8,861 ล้านเยน (หรือ 81 ล้านดอลลาร์ฯ) ในไตรมาสนี้
ทั้งนี้ บริษัทจะไม่มีการทบทวนตัวเลขประมาณการณ์ของผลประกอบการทั้งปีงบประมาณนี้ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 (ซึ่งมีการประกาศก่อนหน้าแล้วเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา) โดยเมื่อพิจารณาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ของบริษัท ได้คาดการณ์ตัวเลขยอดจำหน่ายสุทธิเมื่อสิ้นสุดปีนี้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2020
ไว้ประมาณ 174,200 ล้านเยน (หรือประมาณ 1,598 ล้านดอลลาร์ฯ เมื่อคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 109 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่วนรายได้จากการดำเนินงาน และรายรับสุทธินั้นคาดการณ์ไว้ประมาณ 37,700 ล้านเยน (หรือ 345 ล้านดอลลาร์ฯ) และ 27,300 ล้านเยน (หรือ 250 ล้านดอลลาร์ฯ) ตามลำดับ
การช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤติ COVID–19
ในไตรมาสแรกนี้ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเรา และสังคมให้ยังปลอดภัยในช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างยิ่ง โดยจัดศูนย์บริการทรัพยากร เพื่อการนี้โดยเฉพาะที่มีทั้งทูลด้านความปลอดภัยที่ให้ใช้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แหล่งข้อมูลต่าง ๆ
รวมทั้งข้อมูลอันตรายที่อัพเดทอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการโจมตีที่สัมพันธ์กับเรื่อง COVID–19 ซึ่งพบว่าองค์กรทั้งหลายได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยมีมากถึง 1,700 แห่ง ที่ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือการทำงานจากบ้านของเทรนด์ไมโคร
การขึ้นเป็นผู้นำอย่างแท้จริงในด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ และคอนเทนเนอร์
ยุทธศาสตร์ของ เทรนด์ ไมโคร ได้พุ่งเป้าไปที่การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์มาโดยตลอด แบบที่ไม่ทำให้ลูกค้ามีอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจากการเข้าซื้อกิจการ Cloud Conformity ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 ที่ผ่านมานั้น ทำให้เทรนด์ไมโครสามารถปกป้องเซอร์วิสบนคลาวด์ได้ครอบคลุมมากขึ้น และแก้ปัญหา
ด้านความปลอดภัยหลายด้านที่เคยโดนมองข้ามมาก่อน อันเกิดจากสาเหตุของการตั้งค่าบนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่ผิดพลาด โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 นี้ ระบบ เทรนด์ ไมโคร Conformity ตรวจพบการตั้งค่าที่ผิดพลาดโดยเฉลี่ยแล้วมากถึง 840 ล้านรายการต่อวัน ซึ่งสัมพันธ์กับกฎต่าง ๆ มากกว่า 630 รายการ
ยังครองตลาดด้านระบบตรวจจับ และตอบสนองสำหรับองค์กรอย่างแข็งแกร่ง
ทาง Forrester Research ประกาศให้เทรนด์ไมโครเป็น “ผู้นำ” ด้านระบบตรวจจับ และตอบสนองสำหรับองค์กร หรือ EDR ในรายงาน The Forrester Wave : Enterprise Detection and Response, Q1 2020 ที่มีการประเมินผู้ให้บริการระบบตรวจจับและตอบสนองสำหรับองค์กร (EDR) ตามเกณฑ์ 14 รายการ
ซึ่งทาง Forrester ได้ประเมินผู้จำหน่ายด้านความปลอดภัย 12 รายใน 3 กลุ่มหลักด้วยกันได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีในปัจจุบัน ด้านยุทธศาสตร์ และบทบาทที่ปรากฏในตลาด ซึ่งเทรนด์ไมโครได้คะแนนประเมินสูงสุดที่เคยมีมาทั้งในเกณฑ์เรื่อง “การตรวจสอบเอนด์พอยต์จากระยะไกล”
และ “ระบบอนาไลติกด้านความปลอดภัย” (ที่อยู่ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ปัจจุบันที่มีให้บริการ” เรื่อง “วิสัยทัศน์ผลิตภัณฑ์” และ “ประสิทธิภาพ” (ภายใต้หมวดยุทธศาสตร์) และ “ลูกค้าระดับองค์กร” กับ “รายได้จากสายผลิตภัณฑ์” (ในหมวดบทบาทที่มีในตลาด)
ยังครองตำแหน่งผู้นำด้าน IIoT
นอกเหนือจากด้านไฮบริดจ์คลาวด์แล้ว เทรนด์ไมโครยังคงทุ่มเทให้กับด้านความปลอดภัยสำหรับระบบ Internet of Things เชิงอุตสาหกรรม (IIoT) โดยได้ประกาศความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีปฏิบัติการ (OT) ของ Nexus Controls จาก Baker Hughes
ซึ่งการจับมือกันครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างแนวทางและการสนับสนุนชั้นนำในตลาดที่ครอบคลุมสำหรับองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานของระบบ OT ที่สำคัญ ทั้งนี้การใช้งาน IIoT กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะขึ้นมาเป็นสัดส่วนของเศรษฐกิจทั่วโลกด้วยมูลค่ามากถึง 14.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ภายในปี 2030 จากข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งเทรนด์ไมโครและ Baker Hughes วางแผนที่จะทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงทางไซเบอร์ทั้งด้าน IIoT และด้านอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนผู้บริหารด้านไอที และความปลอดภัยให้สามารถผลักดันการปฏิวัติระบบดิจิตอลได้สำเร็จ
จากรายงานวิจัยเรื่อง “Caught in the Act : Running a Realistic Factory Honeypot to Capture Real Threats,” ทางฝ่ายวิจัยของเทรนด์ไมโครได้สร้างระบบโรงงานจำลองที่เป็นเหยื่อล่อเหล่าผู้โจมตีและผู้ไม่ประสงค์ดีทั้งหลายเป็นเวลานานประมาณ 6 เดือน
ซึ่งระบบ OT เหยื่อล่อนี้ได้ออกแบบไว้อย่างซับซ้อนมาก จนสามารถดึงดูดการโจมตีทั้งที่มีเป้าหมายในการหลอกลวงและฉวยประโยชน์ด้านการเงินได้มากมาย
นอกจากนี้ โครงการ Zero Day Initiative ของ เทรนด์ ไมโคร ก็ได้จัดการแข่งขัน Pwn2Own แบบ IIoT โดยเฉพาะขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นในเมืองไมอะมีระหว่างงานประชุม S4 มีนักวิจัยด้านความปลอดภัยเข้าร่วมแสดงความสามารถในการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ใหม่ ๆ ที่คว้าเงินรางวัลรวมถึง 280,000 ดอลลาร์ฯ
ในฐานะผู้ทำการวิจัยเรื่องราวภัยอันตรายชั้นนำของโลก
ทาง เทรนด์ ไมโคร Research ได้วิเคราะห์อันตรายที่สำคัญมากที่สุดในช่วงปี 2019 จากหลายบริเวณที่มีช่องทางให้เข้าโจมตีได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางธุรกิจ อุปกรณ์พกพา และบริการอีเมล์บนคลาวด์ โดย เทรนด์ ไมโคร สามารถสกัดกั้นอันตรายรวมทั้งสิ้นมากกว่า 52 พันล้านรายการในปี 2019
ซึ่งอันตรายทางไซเบอร์ส่วนใหญ่ที่พบในช่วงปีที่ผ่านมายังคงเป็นเรื่องของแรนซั่มแวร์ ที่เราตรวจพบมากขึ้นจากเดิมประมาณ 10% แม้จำนวนสายพันธุ์ใหม่ของแรนซั่มแวร์ทั้งหมดจะลดลงถึง 57% ก็ตาม กลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพก็ยังคงเป็นเป้าหมายที่โดนโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดในปี 2019
ซึ่งมีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากกว่า 700 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับส่วนปกครองท้องถิ่น และระดับรัฐในอเมริกาอย่างน้อย 110 แห่งตกเป็นเหยื่อของ แรนซั่มแวร์ ในปีที่แล้วอีกด้วย
ในด้านของอีเมล์นั้น เทรนด์ไมโครประสบความสำเร็จในการสกัดกั้นอันตรายทางอีเมล์ที่มีความเสี่ยงสูงได้มากถึง 13 ล้านครั้งในปีที่ผ่านมา จากการที่ลูกค้าได้ย้ายมาใช้บริการอีเมล์บนคลาวด์จากทั้งไมโครซอฟท์และกูเกิ้ลกันมากขึ้น และสำหรับอุปกรณ์พกพานั้น
ทางฝ่ายวิจัยของเทรนด์ไมโครได้ตรวจพบขบวนการจารกรรมข้อมูลบนอุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนมากถึง 1,400% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2020 นี้ โครงการ เทรนด์ ไมโคร Zero Day Initiative ได้จัดการแข่งขันจากระยะไกลขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่อ Pwn2Own Vancouver ซึ่งจากการแข่งขันแบบเวอร์ช่วลเป็นเวลาสองวันนั้น มีนักวิจัยเข้าร่วมชิงรางวัลรวมไปกว่า 270,000 ดอลลาร์ฯ จากการแสดงการเจาะช่องโหว่ใหม่จำนวน 13 รายการ
การแข่งขันนี้เป็นการสร้างความท้าทายให้แก่นักวิจัยด้านช่องโหว่ความปลอดภัยระดับโลกในการทดสอบกับซอฟต์แวร์ และระบบระดับองค์กรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อช่วยยกระดับความปลอดภัยโดยรวม และผลักดันให้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องในด้านที่สำคัญมากที่สุดสำหรับลูกค้าของ เทรนด์ ไมโคร
สิทธิบัตรใหม่ที่ยื่นจดเพิ่ม
เทรนด์ไมโครได้รับการรับรองสิทธิบัตรใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 ดังต่อไปนี้ : (เลขสิทธิบัตร / วันที่จดทะเบียน / ชื่อเรื่อง)
- 10530788 – 1/7/2020 – การตรวจจับ และป้องกันการประมวลผลของไฟล์อันตรายจากระยะไกล
- 10528737 – 1/7/2020 – การจัดสรรหน่วยความจำ Heap แบบสุ่ม
- 10528732 – 1/7/2020 – การระบุซิกเนเจอร์ของกลุ่มข้อมูล
- 10554691 – 2/4/2020 – การกำหนดโพลิซีด้านความปลอดภัยตามความเสี่ยง
- 10608902 – 3/31/2020 – การจัดการ และจัดเก็บข้อมูลการสื่อสารบนเครือข่าย
ข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ในอนาคต
ข้อมูลบางอย่างที่ระบุไว้ในบทความนี้เป็นการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการพยากรณ์ดังกล่าวได้อ้างอิงจากสมมติฐานปัจจุบัน และความเชื่อมั่นของฝ่ายบริหารที่อิงจากข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้ แต่ก็มีปัจจัยด้านความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทั้งที่ทราบ และไม่ทราบมาก่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
ซึ่งปัจจัยที่สำคัญหลายประการอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงจากข้อความที่เป็นการคาดการณ์เหล่านี้ให้แตกต่างไปได้ ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ :
- ความยากลำบากในการระบุอันตรายตัวใหม่ และปัญหาด้านความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์อื่นๆ
- เวลาที่ใช้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และการขาดการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของตลาด
- ระดับความต้องการ และช่วงเวลาที่จำหน่ายที่ต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่
- การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในวงการซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย
- การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าด้านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย
- การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ปัจจุบันและผลิตภัณฑ์ใหม่จากคู่แข่ง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้
- การลดราคาลงสำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ
- ผลจากการเข้าซื้อกิจการในอนาคต ที่กระทบต่อสถานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท
- ผลของแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามในตลาดหลัก
- ผลของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีผลต่อผลประกอบการของเรา
- อัตราการส่งคืนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
- ความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียความน่าดึงดูดจากนักลงทุน
- ความยากลำบากในการทำตามยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทให้ประสบผลสำเร็จ
- ความเสี่ยงใหม่และที่มีโอกาสเกิดขึ้น ที่ไม่เคยพบมาก่อน รวมทั้งความไม่แน่นอนที่เกี่ยวกับเรื่อง Internet of Things, การใช้เทคโนโลยี AI ในผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท, รวมทั้งการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th