อนาคตของอุตสาหกรรมบริการทางการเงินกับการใช้ “Data Virtualization”

เอบีม คอนซัลติ้ง (ABeam Consulting) แนะอุตสาหกรรมบริการทางการเงินใช้ “Data Virtualization” เพื่อลิกโฉมเกมการแข่งขันทางธุรกิจ รับความต้องการของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไป…

highlight

  • ผลการศึกษาแบบเจาะลึกเรื่องความท้าทายหลักในการปรับองค์กรสู่ยุคดิจิทัล หรือดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน รวมถึงเรื่องความจำเป็นที่องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อาทิ ธนาคาร บริษัทประกันและบริษัทไฟแนนซ์ ต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน จากการที่มีผู้ประกอบการทั้งหน้าใหม่ และรายเดิมเข้ามา รวมทั้งความต้องการของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไป
  • แนวทางจัดการข้อมูลแบบ ดาต้า เวอร์ชวลไลเซชัน (Data Virtualization) ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นพร้อมเติมเต็มความสามารถใหม่ ๆ ในการทำงานให้องค์กร ทำให้สามารถเข้าถึง และใช้งานข้อมูลทั้งหมดขององค์กรได้ทันที ช่วยประหยัดทั้งต้นทุน และลดเวลาในการจัดการบริหารข้อมูล 

ABeam แนะอุตสาหกรรมบริการทางการเงินใช้ Data Virtualization” เพื่อพลิกโฉมเกมการแข่งขัน

Data Virtualization
อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) ให้บริการด้าน ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อคว้าแต้มต่อสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ ยกระดับกระบวนการทางธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระดับนวัตกรรม

และพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรในการดูแลลูกค้าจากหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงลูกค้าในแวดวงบริการทางการเงินของไทย โดยบริการดังกล่าวเปิดทางให้ลูกค้าได้วินิจฉัย และตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ด้วยโซลูชันที่ผสมผสานการทำงานที่เป็นเลิศ และความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคของวงการอย่างลงตัว

จากการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเจาะลึกของเอบีมพบว่า ความท้าทายหลักในกระบวนการนำองค์กรสู่ยุคดิจิทัล หรือดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน คือความจำเป็นที่องค์กรจะต้องปรับและพัฒนาตัวเอง เนื่องจากมีคู่แข่งเข้ามาในตลาด หรือหาทางก้าวนำบริษัทในแวดวงเดียวกันที่กำลังใช้กลยุทธ์ด้านดิจิทัลเช่นกัน

Data Virtualization
In Data Center Two IT Engineers Walking Through Rows of Server Racks. They Work on Tablet Computer and Laptop.

ผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดที่พัฒนามากกว่า กลายเป็นผู้นำตลาด ในขณะที่ธุรกิจดั้งเดิมกลายเป็นกลุ่มล้าหลัง เพราะผู้ประกอบการรายใหม่นำความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงมาสู่วงการ ด้วยการดำเนินงานแบบที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหลัก แถมเทคโนโลยีที่ใช้ยังก้าวล้ำยิ่งกว่า

จึงเพิ่มความคาดหวังของลูกค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลให้สูงขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มผู้บริหารในหัวข้อบิ๊กดาต้า (Big Data) และเอไอ (AI) โดยดิจิทัล อินชัวร์ (Digital Insurer) พบว่า 3 ใน 4 (หรือ 75%) ของบริษัทประกันหวาดกลัวการแข่งขันจากคู่แข่งทางดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

เนื่องจากผู้ให้บริการทางการเงินกำลังนำธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ มาใช้ และใช้เทคโนโลยีในการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ายุคปัจจุบันคาดหวังว่าจะได้รับอยู่ตลอด อุตสาหกรรมบริการทางการเงินจึงขับเคลื่อนไปข้างหน้าอยู่เสมอและเกิดบรรยากาศของการสร้างสรรค์นวัตกรรม

Data Virtualization
Random digital numbers and robot faces background, abstract new technology concept

โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในวงการต่างแสดงความพร้อมในการแข่งขัน บรรดาธนาคาร บริษัทประกัน บริษัทสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อย และบริษัทนายหน้าต่างเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ทุ่มเงินสูงถึง 4 หมื่นล้านบาท สำหรับโครงการ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ระยะ 5 ปี ที่เริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ส่วน ธนาคารยูโอบี ก็เปิดตัวธนาคารดิจิทัล TMRW แบบเต็มรูปแบบที่ไม่มีสาขา

แต่มีผลิตภัณฑ์ระดับนวัตกรรมมานำเสนอกลุ่มลูกค้าที่เติบโตในยุคสหัสวรรษใหม่หรือชาวมิลเลนเนียม อาทิ บริการวิเคราะห์รายจ่าย และบริการงานงบประมาณ การปรับองค์กรสู่ยุคดิจิทัลเป็นเรื่องท้าทายสำหรับสถาบันการเงิน เพราะหลายสถาบันยังพึ่งพาระบบทำงานแบบเก่าที่ใช้กันมานาน

แต่มักขาดการบูรณาการกับงานด้านอื่น และไม่อาจใช้งานร่วมกับระบบปรับโฉมองค์กรให้เข้ากับยุคสมัยใหม่โดยที่ไม่ต้องหยุดให้บริการ โดยทั่วไปแล้ว สถาบันการเงินจะใช้กระบวนการดึงข้อมูลแบบ ETL (extract, transform, and load) ซึ่งต้องทำทีละกลุ่มข้อมูล โดยอาศัยการเขียนรหัสเฉพาะเพื่อสั่งการ

กระบวนการนี้จึงต้องมีการเขียนรหัสคอมพิวเตอร์ใหม่ ทดลองชุดรหัสคำสั่งใหม่ ก่อนดำเนินการดึงข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแหล่งข้อมูล ซึ่งเทคโนโลยี ดาต้า เวอร์ชวลไลเซชัน เป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นกว่ามาก พร้อมส่งเสริมกระบวนการ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ผ่านวิธีบูรณาการ

Data Virtualization
Futuristic digital blockchain background, fintech technology

ส่งมอบข้อมูลแบบทันสมัย เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการ ETL โดยทั่วไปแล้ว ดาต้า เวอร์ชวลไลเซชัน นั้นคล่องตัว ยืดหยุ่น และทรงพลังกว่ามาก ซึ่งเมื่อมี ดาต้า เวอร์ชวลไลเซชัน เป็นตัวช่วย สถาบันการเงินจะสามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลทุกอย่างในองค์กรทันทีราวกับว่าดึงข้อมูลมาจากแหล่งเดียวกัน

ไม่ใช่การดึงข้อมูลมาจากเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องหรือจากแอปพลิเคชันที่ต่างกัน นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังได้ลดต้นทุนทั้งด้านต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานและด้านต้นทุนการดำเนินงาน เนื่องจาก ดาต้า เวอร์ชวลไลเซชัน ช่วยรวบรวมข้อมูลมาอยู่แหล่งเดียวกัน และลบข้อมูลซ้ำซ้อนทิ้ง

เมื่อกำจัดข้อมูลแบบไซโล (information silo) ที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ผู้ใช้งานข้อมูลก็สามารถประหยัดเวลาในการบริหารจัดการข้อมูลและยังได้ใช้ข้อมูลอย่างเรียลไทม์ ที่สำคัญที่สุด คือ สามารถให้บริการที่ดีกว่าเดิมแก่ลูกค้า และมีศักยภาพในการเป็นผู้พลิกโฉมในวงการธุรกิจ

Data Virtualization

ที่มา : https://www.the-digital-insurer.com/big-data-and-ai-executive-survey-2019-march-2019/

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.