เอไอเอส (AIS) ร่วมกับ ภาครัฐ ดึงศักยภาพ 5G ยกระดับสาธารณสุขไทยหนุนรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน…
highlight
- เอไอเอส ร่วมกับ กสทช., คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุ
พราช เดินหน้ายกระดับวงการแพทย์ และระบบสาธารณสุขไทยอย่างต่อเนื่ อง ภายใต้โครงการ “รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่เฉลิ มพระเกียรติ” ล่าสุดขยายความร่วมมือไปยังพื้ นที่จังหวัดน่าน หน่วยปฏิบัติการโรงพยาบาลสมเด็ จพระยุพราชปัว โดยนำระบบดิจิทัลเสริมประสิทธิ ภาพการทำงานของบุ คลากรทางการแพทย์ในการรักษาผู้ ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งระบบ ตอกย้ำการทำงานเพื่อพั ฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทั ลของประเทศให้มีความแข็งแรง สามารถเชื่อมต่อการทำงานได้กั บทุกภาคส่วน อีกทั้งยังช่วยสร้างประโยชน์ ลดความเหลื่อมล้ำและเติมเต็ มโอกาสให้ประชาชนคนไทยเข้าถึ งบริการทางการแพทย์ และงานสาธารณสุขที่มีประสิทธิ ภาพได้อย่างทันท่วงที อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิ ตที่ดีให้แก่คนไทยในทุกมิติ
AIS ร่วมกับ ภาครัฐ ดึงศักยภาพ 5G ยกระดับสาธารณสุขไทย จ.น่าน
วรุณเทพ วัชราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า นอกเหนือจากความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศให้มีความแข็งแกร่งครอบคลุมทุกพื้นที่การใช้งานแล้ว วันนี้ เอไอเอส ยังมีความพร้อมเป็นอย่างมากต่อการนำศักยภาพของ 5G มาเชื่อมต่อการทำงานกับภาคส่วนต่าง ๆ
เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า และคนไทย โดยตั้งแต่ปี 2561 ได้ร่วมพัฒนารถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่หรือรถ Mobile Stroke Unit-Stroke One Stop (MSU-SOS) ซึ่งเป็นรถพยาบาลเคลื่อนที่ที่มีความสามารถในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ เปรียบเสมือนการนำโรงพยาบาลไปสู่ชุมชน
ที่ต้องอาศัยศักยภาพของเครือข่ายความเร็วสูงที่มีเสถียรภาพ เพื่อให้การเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยและการแสดงภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเพื่อการวินิจฉัยระหว่างทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว ไม่มีสะดุด เป็นการนำนวัตกรรมทางการแพทย์
ผ่านเทคโนโลยีโครงข่ายมาสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ห่างไกล ที่ในปัจจุบันมีจำนวน 7 คันทั่วประเทศ แม้ว่าภาคเหนือจะมีความท้าทายอย่างมากในการขยายโครงข่ายสัญญาณ ด้วยข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาและพื้นที่สูง การเข้าถึงของแหล่งพลังงานไฟฟ้า
แต่ทีม เอไอเอส ก็ยังคงมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการนำนวัตกรรมโครงข่ายมาผสมผสานเพื่อขยายความครอบคลุม ทำให้สามารถส่งมอบบริการดิจิทัลและโซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ 5G CPE ที่สามารถรองรับการกระจายสัญญาณภายใน Mobile Stroke Unit-Stroke One Stop (MSU-SOS)
ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งการแจ้งเหตุ การให้คำปรึกษาของทีมแพทย์ และบุคลากร การส่งภาพ CT Scan ของสมอง และสัญญาณชีพจรของผู้ป่วยขึ้น Cloud ให้ทีมแพทย์แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย การรักษาในเบื้องต้นได้ทันเวลา แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล
ด้าน รศ.นพ.ยงชัย นิละนนท์ ประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการ “รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่เฉลิมพระเกียรติ” ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย แม้จะมีความท้าทายในบางด้าน
เช่น การขยายเครือข่ายสัญญาณในพื้นที่ห่างไกล หรือการเพิ่มจำนวนบุคลากรเฉพาะทาง แต่ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โครงการนี้มีความหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และกลายเป็นต้นแบบที่สำคัญสำหรับการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพในอนาคตอย่างยั่งยืน
โครงการ “รถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่เฉลิมพระเกียรติ” จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ตามลงนามบันทึกข้อตกลงของ 4 กระทรวง 2 หน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม,
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงมหาดไทย, มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ด้วยการนำศักยภาพของโครงข่าย 5G เข้าเชื่อมต่อการทำงานกับรถรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ หรือรถ Mobile Stroke Unit-Stroke One Stop (MSU-SOS)
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th