ARV เปิด “พลัง AI และ Robot” กับบทบาทเศรษฐกิจชายฝั่งของคนไทย

ARV

เออาร์วี (ARV) เปิด “พลัง เอไอ (AI) และหุ่นยนต์ (Robot)” จากเวทีงาน OTC Asia 2024 กับบทบาทเศรษฐกิจชายฝั่งคนไทย…

ARV เปิด “พลัง AI และ Robot” กับบทบาทเศรษฐกิจชายฝั่งของคนไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) เติบโตและแพร่หลายเป็นอย่างมาก ซึ่งได้แทรกซึมอยู่ในชีวิตดิจิทัลของมนุษย์แทบทุกเรื่อง โดยทำหน้าที่เป็นสมองอันชาญฉลาด เช่น การสั่งงานด้วยเสียงของโทรศัพท์มือถือ การจดจำใบหน้าผู้เป็นเจ้าของโทรศัพท์

แม้กระทั่งหุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้าน ตู้เย็น ทีวี ต่างก็เริ่มมีปัญญาประดิษฐ์มาเป็นหนึ่งในองค์ประกอบแล้วทั้งนั้น ไม่เพียงแต่ Gadget ในชีวิตประจำวัน แต่ AI ยังมีบทบาทต่อเศรษฐกิจที่หลาย ๆ ประเทศเร่งพยายามผลักดันโมเดล “เศรษฐกิจ AI” และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ นำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลาย ๆ มิติ

ซึ่งในวันนี้ AI ได้เข้ามามีบทบาทแล้วในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานใต้ทะเล ต่อเนื่องไปถึงการทำงานแทนมนุษย์ที่แต่เดิมอาจมีความเสี่ยง หรือเผชิญอันตราย และทำให้วิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนคลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว

AI กับบริบทการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งอุตสาหกรรมนอกชายฝั่งของประเทศไทย

ARV

หากพูดถึงแนวโน้ม และความจำเป็นต่อการนำ AI มาใช้กับการปฏิบัติงานชายฝั่งทะเล และนอกชายฝั่งทะเลในประเทศไทยก็มีความน่าสนใจไม่น้อย โดยบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ และพัฒนาโซลูชัน AI 

เพื่อใช้พัฒนาบริบทเศรษฐกิจ และสังคมในไทยได้ให้ข้อมูลว่า AI มีความจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทะเลในมิติดังนี้

การสำรวจ และซ่อมแซมความผิดปกติโครงสร้างพื้นฐานใต้ทะเล เช่น ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ที่ปัจจุบันไทยก็เป็นประเทศที่มีผลประโยชน์ทางทะเลในหลายด้าน ซึ่งทำให้ AI มีบทบาทอย่างมากต่อการเข้าไปสำรวจ ตรวจสอบ รายงานความผิดปกติให้กับหน่วยงานได้รับทราบ และทำการซ่อมบำรุงแทนมนุษย์

AI สำหรับป้องกันการถูกทำลาย ทั้งในมิติความเสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติ จากการใช้ AI ที่มาจากการรวมข้อมูลดาวเทียม สถานีตรวจอากาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการรู้สถานการณ์ล่วงหน้า และช่วยให้สามารถออกแบบกลไกการป้องกัน หรือตอบสนองได้ทันท่วงที ทำให้จากเดิมที่เคยสูญทรัพย์สิน ทรัพยากรมนุษย์ มีแนวโน้มลดลง และสามารถนำโซลูชันที่ได้จากการดีไซน์ของ AI ไปใช้ได้ในอนาคต

การสำรวจแหล่งทรัพยากร หรือแหล่งพลังงาน ที่ปัจจุบัน AI มีความแม่นยำอย่างมากในการนำข้อมูลจากภาพลักษณะภูมิประเทศ หรืออัตราความสมบูรณ์ของพื้นที่มาวิเคราะห์ได้ว่าพื้นที่ชายฝั่ง หรือพื้นที่ทางทะเลส่วนไหนที่ยังสามารถนำทรัพยากรมาใช้

โอกาสการพัฒนา และการเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก

ARV

เออาร์วี เล็งเห็นความสำคัญด้านเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยได้ใช้ความเชี่ยวชาญเรื่องเทคฯ ต่อยอดหลอมรวมกับระบบ AI หุ่นยนต์, Big Data และการสื่อสาร 5G ให้ประสานการทำงานร่วมกันอย่างครบวงจร อีกทั้งต่อยอดสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติเต็มรูปแบบที่สามารถปฏิวัติการดำเนินงานนอกชายฝั่งได้

และเกิดเป็นพลังแห่งนวัตกรรมที่เพิ่มขีดความสามารถที่ชาญฉลาดในการดำเนินงาน โดยล่าสุด เออาร์วี ได้ตอกย้ำความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่น่าทึ่งและพร้อมเผยความสำเร็จระดับโลกด้วยการนำ 3 กลุ่มสุดยอดนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานนอกชายฝั่ง

ได้แก่ หุ่นยนต์ปฏิบัติการบนแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง หรือ Wellhead Robot, เทคโนโลยีโดรนอัตโนมัติไร้คนขับ หรือ Horrusและหุ่นยนต์ใต้ทะเลอัจฉริยะ Subsea robotics ecosystem คว้ารางวัล Spotlight on New Technology Award”

สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศในการผสมผสานระหว่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโรโบติกส์ ที่ล้ำสมัยที่สุด และมีศักยภาพในการผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยพัฒนาไปสู่อนาคต ที่งาน OTC Asia 2024 งานประชุมสัมมนาระดับนานาชาตินัดสำคัญของอุตสาหกรรมสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมของเอเชีย

Wellhead Robot (Main Deck) หุ่นยนต์ปฏิบัติการบนแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งในอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส สามารถควบคุมและใช้งานหุ่นยนต์จากระยะไกล ให้ปฏิบัติงานในส่วนของการตรวจสอบ หรือการทำงานต่าง ๆ

เช่น การหมุนวาล์ว โดยตัวหุ่นยนต์จะมีระบบเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ ระบบการควบคุมแขน ระบบปัญญาประดิษฐ์ และซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับใช้ควบคุมหุ่นยนต์ ที่ถูกออกแบบให้มีความทนทานสูงและใช้งานได้ในพื้นที่เสี่ยงอันตราย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานนอกชายฝั่ง

Horrus & Delivery Drone (Upper Deck) โดรนอัตโนมัติไร้คนขับ ออกแบบมาสำหรับภารกิจตรวจสอบทางอากาศและเฝ้าระวังทางอากาศยานไร้คนขับในพื้นที่ห่างไกล และเป็นอันตราย

Horrus เป็นอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) แบบอัตโนมัติพร้อมสถานีชาร์จด้วยตัวเอง อีกทั้งสามารถจัดเก็บข้อมูล และส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ผ่านโครงข่าย 5G

หุ่นยนต์ใต้ทะเลอัจฉริยะ ซึ่งประกอบด้วย Xgateway เรือยนต์อัตโนมัติแบบไร้คนขับ (Autonomous Surface Vehicle) ใช้ในการสำรวจอุทกศาสตร์และการเฝ้าระวังมหาสมุทรผ่านการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม สามารถทำงานได้มากกว่า 40 ชั่วโมง 

Xplorer ยานยนต์ตรวจสอบท่อใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย พร้อมด้วยเซนเซอร์ตรวจสอบท่อเพื่อประเมินความสึกกร่อนและความผิดปกติของท่อใต้น้ำ และสำรวจแผนที่ใต้น้ำ ที่สามารถตรวจสอบ และเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ ดำเนินงานได้รวดเร็วขึ้นร้อยละ 50 ตลอดจนการประเมินสภาพ และทำแผนการบำรุงรักษาของอุปกรณ์ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

Nautilus หุ่นยนต์ซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ ด้วยเทคโนโลยี AI แบบครบวงจรตัวแรกของโลก พร้อมการปฏิบัติงานเร็วขึ้น 2 เท่า ในขณะที่ลดต้นทุนได้กว่าร้อยละ 30-50

เรียกว่าเป็นอีกก้าวสำคัญของประเทศไทยในการพัฒนา AI ให้ทวีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งกิจกรรมทางชายฝั่งของไทยที่จะถูกยกระดับให้มีทั้งมูลค่า ความยั่งยืน และก้าวไปสู่ความล้ำใหม่ ๆ ที่เราจะได้เห็นเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

ITDay

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.