CMKL เดินหน้าจัดงาน “Tech Summit 2019” อัพเดทความรู้ AI ส่งท้ายปี 62

มหาวัทยาลัย CMKL เดินหน้าจัดงาน  “Tech Summit 2019” เดินหน้าจับมือพันธิมตรเอกชนชั้นนำเร่งสร้างองค์ความรู้ด้าน AI ให้แก่ผู้สนใจ พร้อมเตรียมเปิดคอร์สให้นักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกที่สนใจ สมัครเรียนอัพเดทความรู้ หวังสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ป้อนสู่ตลาดแรงงานไทย….

highlight

  • มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล จับมือของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และพัฒนาซอฟต์แวร์ AI ชิ้นแรกของโลก จับมือพันธมิตรจัดงาน ซีเอ็มเคแอล Tech Summit 2019ปิดเวทีถ่ายทอดองค์ความรู้ และไอเดียด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต พร้อมเสวนาเรื่องราวนวัตกรรมโลกยุคใหม่ พร้อมจัดเต็มกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้าน AI ครั้งยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี
  • เตรียมเปิดคอร์สปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) เพื่อผลักดันบุคลากรในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ที่สนใจเทคโนโลยี เอไอ เข้าร่วมหลักสูตร เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ เอไอ เข้าสู่ตลาด หลังตลาดต้องการสูง

CMKL เดินหน้าจัดงาน Tech Summit 2019 เร่งสร้างองค์ความรู้ AI 

ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) กล่าวว่า การจัดงานสัมมนา CMKL TECH SUMMIT 2019 ภายใต้แนวคิดAnalytic AI for Sustainable Future ที่จัดขึ้นในครั้งนี้มีวัตกุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ให้แก่ทุกภาคส่วนในประเทศไทย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ที่สนใจในเรื่องเอไอได้มีโอกาสเข้ามาอัพเดท

CMKL

องค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) และทราบถึงโอกาส ความท้าทาย และการประยุกต์ใช้งาน จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) นวัตกรรมที่กำลังเปลี่ยนโฉมโลกในอนาคตจากตัวแทนองค์กรชั้นนำ ที่ได้นำ AI มาปรับใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจแล้ว ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานบังจะได้องค์ความรู้จากเหล่าวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี และ AI

จากทั้งภาคเอกชน และภาคการศึกษาในระดับประเทศและระดับโลก อาทิ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

CMKL

รวมถึง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน อาทิ Jose Moura , Hyong Kim มาร่วมเป็นวิทยากรแบ่งปันองค์ความรู้ในงาน นอกจากนี้การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ยังเป็นเวทีที่จะระดมสมอง เพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของการใช้งานเทคโนโลยี AI ในการส่งเสริมให้นวัตกรรมนี้มีทิศทางช่วยสร้างประโยชน์ ให้กับสังคม และคนในประเทศ

เพื่อเพิ่มระดับคุณภาพของทุกอุตสาหกรรม พัฒนาศักยภาพของทักษะทุนมนุษย์ให้สามารถทำงานร่วมกับนวัตกรรม AI เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ระบบเศรษฐกิจ และสังคม และผลักดันการสร้างแรงดึงดูดเข้ามาทำงานเพื่อพัฒนาประเทศไทยอีกด้วย

CMKL

“คาดว่าจะก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเข้มแข็งและเป็นรูปธรรมสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน ในการเดินหน้าการใช้นวัตกรรม AI อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดแนวคิดการร่วมพัฒนาบุคลากรในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทักษะที่สำคัญ และเพื่อสนองรับแนวโน้มเทคโนโลยีอนาคตโลก” ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น กล่าว

งานนี้ยังถือเป็นงานที่ช่วยเพิ่มระดับผลิตภาพของทุกอุตสาหกรรม พัฒนาศักยภาพแรงงานทั้งเชิงเทคนิคและเชิงเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงส่งเสริมให้การใช้งาน  ดิจิตัล เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อทำให้ประเทศไทสามารถก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนได้รวดเร็วมากขึ้น

CMKL

เปิดคอร์สระดับโลกหวังยกระดับทักษะบุคลากรรุ่นใหม่ ป้อนตลาดแรงงาน

นอกหนือไปจากการจัดอบรมสัมมนาเพื่ออัพเดทความรู้ ให้แก่ผู้สนใจในงานสัมมนาในครั้งนี้ อีกหนึ่งเป้าหมายของของเราคือการสร้างแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ป้อนสู่ตลาดแรงงานไทย เราจึงมีได้สร้างคอร์สการเรียนที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา หรือผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ และสาขานวัตกรรมบันเทิง จากทั่วโลกที่สนใจในเรื่องของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้สามารถลงสมัครเรียนได้ โดยหลักสูตรดังกล่าวจะกินระยะเวลา 1 ปี

โดยแบ่งภาคการศึกษา 4 เทอม แบ่งเป็นการศึกษากับผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย 2 เทอม และการบินไปศึกษาที่ สหรัฐฯ อีก 2 เทอม โยที่สามารถเลือกได้ว่าจะเริ่มจากที่ไหนก่อน อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจจะต้องผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนด อาทิ ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ การทำแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์ เป็นต้น

สำหรับค่าเทอมคอร์สดังกล่าวทั้งหมดเฉลี่ยอยู่ที่ 7 แสนบาท (ประมาณ) ซึ่งสามารถยื่นขอสนับสนุนได้จากพันธิมตรที่รวมกับทาง มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งแต่ล่ะรายจะมีข้อกำหนดแตกต่างกันไปในการให้การสนับสนุน  โดยล่าสุดทาง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ตอบตกลงว่าจะให้การสนับสนุนแล้ว

“สำหรับการต่อยอดในอนาคต เราเตรียมที่ขยายจำนวนรับสมัครจาก 8 ราย แบ่งเป็น 13 ราย ในปี 2563 นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่บริษัทฯ เอกชนที่เป็นพันมิตรของทาง มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล จะรับบุคลากรที่ผ่านคอร์สดังกล่าวเข้าเป็นพนักงานประจำ เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์เรื่องของการใช้ประโยชน์จาก ข้อมูล (Data) นั้นมีเพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยี AI ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่จะช่วยให้เกิดการใช้ข้อมูลที่มีอย่างมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ผศ.ดร.สุพันธุ์ กล่าวสรุป

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

Itdayleadger

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.